“อาคม”โยน กพท.ดูรายละเอียดการการบริหารงานของนกแอร์ หลังมีข่าวปมนอมินี เตรียมจับมือ ฝรั่งเศษติวเข้มบุคลากรกำกับดูแลสายการบิน ชี้ต้องเร่งสร้างชุดใหม่ทดแทน หลังคนเก่าถูกสายการบินซื้อตัวเป็นจำนวนมาก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีผู้บริหารสายการบินนกแอร์ ได้ออกมาระบุเป็นนอมินีให้สายการบินนกแอร์ลงทุนสายการบินนกสกู๊ต เป็นเรื่องที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.)ได้กำกับดูแล เนื่องจากเป็นภารกิจของ กทพ.โดยตรง. ซึ่งจะต้องไปดูเรื่องการทำธุรกิจของเขาเป็นอย่างไร เสร็จแล้วเอามารายงาน เรื่องนี้ต้องดูว่าใครได้รับผลกระทบบ้าง ต้องไปดูรายละเอียดว่าเป็นไปตามที่เป็นข่าวไหม หากเป็นแบบนั้น กพท.
รายงานข่าวจากกล่าวว่า ขณะนี้กพท.อยู่ระหว่างจับตาสถานะการเงินของสายการบินนกแอร์ หลังพบว่ามีส่วนทุนเริ่มลดลง ปัญหาทุนหมุนเวียนพร่องไป โดยสาเหตุที่ กพท.ต้องจับตาใกล้ชิดเพราะกังวลว่าหากสถานะการเงินไม่คล่องตัว ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และอาจกระทบต่อผลประโยชน์ผู้โดยสารได้ ทั้งนี้ปัจจุบันนกแอร์เป็นเพียงสายการบินเดียวที่ กพท.สั่งจับตาใกล้ชิด
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่านกแอร์เป็นสายการบินที่น่าเป็นห่วงด้านสถานะทางการเงินมากที่สุด กพท.จึงต้องจับตาดูงบการเงิน และรายรับรายจ่ายของนกแอร์อย่างใกล้ชิด ซึ่งเบื้องต้นพบว่านกแอร์อยู่ระหว่างจัดหาเงินทุนเพิ่มเติม หากดำเนินการแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ ก็จะช่วยลดข้อกังวลในการประกอบกิจการได้
นาย อาคม กล่าวต่อถึงการร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนของฝรั่งเศส (DGAC) ว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) มีความร่วมมือกับ DGAC ตั้งแต่ปี 59 ซึ่งที่ผ่านมา DGAC จะคอยให้คำแนะนำเรื่องต่างๆ ด้านมาตรฐานการบิน โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศไทยได้รับการติดธงแดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) โดยการประชุมครั้งนี้มีมติจัดทำแผนปฏิบัติการ(แอคชั่นแพลน) ร่วมกันระยะเวลา 3 ปี อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่ของ กพท. เข้าฝึกอบรมบุคลากร ที่สถาบันฝึกอบรมด้านการบิน ของ DGAC ที่ประเทศฝรั่งเศส เพราะการที่ กพท. เป็นหน่วยงานกำกับดูแลสายการบินต่างๆ บุคลากรถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องมีความรู้ และเข้าใจเรื่องระบบความปลอดภัย และระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดี
นายอาคม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาประเทศต่างๆ รวมถึง กพท. ต้องประสบกับปัญหาบุคลากรในหน่วยงานถูกซื้อตัวไปอยู่กับสายการบินจำนวนมาก ทำให้ขาดแคลนบุคลากร และสร้างขึ้นมาทดแทนไม่ทัน ทาง กพท. จึงแก้ปัญหาโดยการปรับเพิ่มอัตราการจ่ายค่าตอบแทนของบุคลากร กพท. ให้ไม่แตกต่างกับสายการบินมากนัก ซึ่งคิดว่าเป็นวิธีการที่จะรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรต่อไปได้ เวลานี้จึงต้องพยายามเร่งอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ เพื่อมาทดแทนเจ้าหน้าที่รุ่นเก่าๆ ที่ลาออกไป นอกจากนี้จะร่วมกับ DGAC วางระบบการกำกับดูแลกับเรื่องการบังคับใช้กฎระเบียบทางด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย ระหว่าง กพท. กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินด้วย
นายอาคม กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้หารือร่วมกับบริษัท แอร์บัส ในการจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของ กพท. รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเครื่องบินด้วย ซึ่งแอร์บัส ได้ตั้งหน่วยงานฝึกอบรมขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือกับประเทศต่างๆ ทั้งนี้ในการเข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าว ทางแอร์บัสไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ ว่าประเทศไทยจะต้องสั่งซื้อเครื่องบินจากแอร์บัสแต่อย่างใด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |