10ก.ย.61- ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ - สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดงานมหกรรม “ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปประเทศ” โดยมีพล.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษ ตอนหนึ่งว่า รัฐบาลให้ความสำคัญสนับสนุนการศึกษาค่อนข้างมาก ซึ่งภายในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนดไว้ชัดเจนว่ารัฐจะต้องจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องดูแลอย่างทั่วถึงตั้งแต่เด็กปฐมวัย ผู้มีงานทำไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษามาตลอด อีกทั้งยังได้คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่เข้าเป็นแกนหลักที่เข้ามาช่วยวิเคราะห์ พร้อมข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของการพัฒนาการศึกษา คือ เพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรภายในประเทศให้ทุกคนมีโอกาส มีความเสมอภาค เข้าถึงทุกโครงสร้างพื้นฐาน เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งต้องสร้างคนที่มีความรู้ มีวินัย ความรับผิดชอบ เป็นคนดีของประเทศ และการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเสมอภาคได้
รองนายกฯ กล่าวว่า ความท้าทายในการแก้ปัญหาการศึกษาไทยที่ถูกมองว่าไม่ดีนั้น คือ การหาความจริงว่าคืออะไร เกิดจากปัจจัยไหน และทิศทางกระบวนการที่จะทำให้การศึกษาดีขึ้นจะทำได้อย่างไร เช่น การพัฒนาครู พัฒนาหลักสูตร การมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมผลักดันให้การเรียนการสอน การอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น ต้องมีการสร้างกลไก ประกอบด้วยกฎหมาย กฎระเบียบ กติกาต่างๆ เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้คอขวด อุปสรรคที่เกิดขึ้นผ่านขั้นตอนสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ... ที่มีการปรับปรุงแก้ไข ต้องช่วยกันดู ช่วยกันแก้อะไรที่เป็นคอขวดการศึกษา หรือ พ.ร.บ.การศึกษาปฐมวัย ที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ทำอย่างไรให้เด็กได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมชาติบวกกับความรู้ และการใส่ใจให้ความสำคัญ อย่าปล่อยให้หลักสูตรที่เข้มข้นทำให้เด็กเสียดุลความเป็นธรรมชาติ ซึ่งการลงทุนกับเด็กปฐมวัยจะได้ผลตอบลัพธ์ถึง 7 เท่า และการเกิดกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาก็จะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเด็กด้อยโอกาสด้วย
พลเอกประจิน กล่าวอีกว่า การศึกษาไทยน่าห่วง เพราะเกณฑ์ชี้วัดหลายแห่ง ระบุว่าไทยอยู่ในส่วนท้ายๆ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประเทศ นำไปสู่การสร้างงานในระดับสากล และอาเซียน เนื่องจาก ผู้ที่จะมาลงทุนจะมองว่าการศึกษาของไทยไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นเราจะต้องเร่งแก้ไขเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ได้ เพื่อไปสู่จุดหมาย ไทยแลนด์ 4.0 แต่การจะพัฒนาอะไรสักอย่าง ต้องใช้เวลาเพราะไทยไม่ได้มีทรัพยากรมากมายที่ทำให้ทุกอย่างเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเร็ว ไม่ได้มีคนเก่งทุกสาขา ไม่ได้มีนวัตกรรม จึงต้องเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในหลายพื้นที่ หลายวิชาการ เพราะความร่วมมือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เดินไปข้างหน้า
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายการปฏิรูปประเทศ โดยกำหนดให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ความมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืนนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ร่วมกันดำเนินการพัฒนาการศึกษา ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และประชาชน โดยประสบความสำเร็จคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้ค้นพบการปฏิบัติที่ดี ควรค่าแก่การนำมาเผยแพร่ สกศ.จึงได้จัดงานปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปประเทศ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งระดับนโยบาย ปฏิบัติ และผู้รับบริการเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาในมิติต่างๆ สร้างความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |