อดีต40สส.ยื่นปปช.ยุติคดีนิรโทษสุดซอย อ้างกม.ตกไปแล้วไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น!


เพิ่มเพื่อน    

25 ม.ค. 61 – 40 อดีตส.ส.  ที่เคยร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ได้ยื่นหนังเรื่องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นำโดย นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ,นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี,นางสมหญิง บัวบุตร อดีต ส.ส.อำนาจเจริญ, นายธวัชชัย สุทธิบงกช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. ผ่านนายสุทธิ บุญมี ผอ.สำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ เพื่อขอความเป็นธรรมและคัดค้านกรณีที่ ป.ป.ช.ตั้งคณะอนุกรรมไต่สวนคดีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยมี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ เป็นประธานคณะอนุกรรมไต่สวนฯ

 

เนื้อหาในหนังสือระบุว่าตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคาสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริงและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ไต่สวน กรณีกล่าวหา นายวรชัย เหมะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 40 คน เสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทาความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองฯ เมื่อปี พ.ศ.2556 โดยกล่าวหาว่า เนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เหมารวมผู้กระทำผิดกฎหมายอาญาโดยเจตนาให้พ้นผิด ย่อมเป็นการตรากฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับผู้ทุจริตโดยเจตนาด้วย จึงเป็นการสมคบกันในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ เพื่อผ่านกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อกระบวนการยุติธรรม การใช้อิทธิพลเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันมิชอบและการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กระทาความผิดต่อตาแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ2552 โดยมี นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ฯ

 

หลังจากได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนดังกล่าวแล้ว คณะ 40 ส.ส. ได้มีหนังสือกราบเรียนไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ทบทวนการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยเห็นว่าสั่งดังกล่าวเป็นการกระทาโดยไม่มีอานาจและเป็นการ กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ต่อมาสานักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา สรุปว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่อาจทบทวนการมีคำสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น นางสมหญิง บัวบุตร ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว ได้ยื่นฟ้อง พลตำรวจเอกวัชรพล ประสานราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน เป็นจาเลยที่ 1 ถึง 9 และนายบวร ยสินทร ผู้ยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นจาเลยที่ 10  ซึ่งศาลได้นัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561

ในวันนี้คณะ 40 ส.ส. จึงได้ร่วมกันยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะอนุกรรมการไต่สวน ให้ยุติการไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็นที่ 1 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ เป็นกระบวนการใช้สิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคุ้มครองเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด

 

กล่าวคือ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้กำหนดเกี่ยวกับกระบวนการตราพระราชบัญญัติ โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคนมีอานาจเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ตามมาตรา 142  ซึ่งในขณะนั้นได้มีการตราข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ขึ้นใช้บังคับเป็นการเฉพาะ มีหลักเกณฑ์มีขั้นตอนกาหนดไว้ชัดเจน ตั้งแต่การเสนอญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ การอภิปราย การลงมติ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ การลงมติทั้งวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ วาระที่ 2 ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ และวาระที่ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ดังนั้นการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อเนื่องไปจนถึงการลงมติวาระที่ 3 จึงเป็นกระบวนการเดียวกัน ของการตรากฎหมายโดยสภาผู้แทนราษฎร ดังที่มาตรา 130 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้บัญญัติรับรองเอกสิทธิ์ไว้ว่า ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นทางใดมิได้ ดังนั้น คณะ 40  ส.ส. จึงได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองอย่างเด็ดขาด คณะอนุกรรมการ ไต่สวนจะนำการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปเป็นเหตุฟ้องหรือว่ากล่าว เช่นตั้งข้อกล่าวหากับผู้ถูกกล่าวหาในทางใดมิได้เป็นอันขาด

 

ประเด็นที่ 2 การเสนอร่างพระราชบัญญัติเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญและเป็นกระบวนการหนึ่งในการตรากฎหมาย

 

โดยที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการแบ่งแยกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยในทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ออกจากกัน ภายใต้กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติไว้ โดยอำนาจนิติบัญญัติใช้โดยรัฐสภา ซึ่งการเสนอร่างพระราชบัญญัติเป็นกระบวนการหนึ่งในขั้นตอนของการตรากฎหมาย ส่วนร่างพระราชบัญญัติฉบับใดจะได้รับการบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การดำเนินการต่อไปในขั้นตอนที่ว่าสภาผู้แทนราษฎรจะให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในวาระที่หนึ่ง วาระที่สอง วาระที่สาม หรือไม่ ก็ถือเป็นอำนาจอิสระของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งต้องดาเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรบัญญัติไว้ และเมื่อร่างพระราชบัญญัติผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ต้องส่งให้วุฒิสภาได้พิจารณาก่อน หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้ว จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนการนาร่างพระราชบัญญัติเสนอขั้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรง ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเป็นเรื่องที่อยู่ในวงงาน ของรัฐสภาโดยเฉพาะ นอกเหนือจากนี้แล้วไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้อำนาจองค์กรใดเข้ามาตรวจสอบได้ โดยเฉพาะคณะกรรมการ ป.ป.ช.

 

ประเด็นที่ 3 การตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเป็นหลักการทำกฎหมายปกติที่ผ่านมา มีการตรากฎหมายเช่นนี้ ถึง 23 ฉบับ

 

การนิรโทษกรรมนั้นเป็นหลักการทางกฎหมายที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลว่าเป็นไปเพื่อลบล้างความผิดให้กับบุคคลซึ่งต้องกระทาโดยองค์กรที่มีอำนาจในการตรากฎหมาย โดยกฎหมาย ให้ถือว่าการกระทำนั้น ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป หากผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาแล้วก็ให้ถือว่า ผู้นั้นไม่เคยกระทำความผิด และไม่เคยได้รับโทษมาก่อน หากรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นยุติลง อันมีผลเป็นการยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษให้กับบุคคล เจตนารมณ์ของกฎหมายนิรโทษกรรม ก็เพื่อต้องการให้ประชาชนลืมการกระทำนั้นเสีย

 

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแล้ว จำนวน 23 ฉบับ ซึ่งเนื้อหาของการก่อกบฏและรัฐประหารมีโทษถึงประหารชีวิต ก็มีการนิรโทษกรรมมาแล้ว ทั้งในรูปแบบพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด รวมถึงการนิรโทษกรรมไว้ในบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ

 

อนึ่ง การเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ฉบับดังกล่าว หาได้เป็นการขัดหรือแย้ง ต่ออนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตหรือคอรัปชั่นไม่ว่าฉบับหนึ่งฉบับใด เพราะเป็นการตรากฎหมายภายในขึ้นบังคับใช้ มิใช่เรื่องการปฏิบัติระหว่างรัฐต่อรัฐ และโดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้มีบทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อกติกาสากลระหว่างประเทศดังกล่าว ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติอีก 23 ฉบับ ที่ได้เคยประกาศใช้ด้วย

 

ประเด็นที่  4 ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้มีเนื้อหำเป็นการไปเอื้อประโยชน์แก่ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นการเฉพาะและการทำหน้าที่ดังกล่าวไม่ถือเป็นการบิดผันการใช้อำนาจ

 

สาหรับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับดังกล่าวนี้ มีหลักการและสาระสำคัญเป็นไปทำนองเดียวกับพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่เคยประกาศใช้มาแล้ว ส่วนกรณีใดจะเข้าเงื่อนไข ที่จะได้รับประโยชน์หากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้วย่อมเป็นดุลพินิจของศาลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องที่จะพิจารณาไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะคิดและวินิจฉัยได้เอง สำหรับข้อกังวลว่าร่างกฎหมายนี้จะมีผลต่อคดีของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ในคดีที่ถูกศาลฎีกามีคาสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินกว่า 46,000 ล้านบาท นั้น จะเห็นว่า ตามร่างมาตรา 5 ก็บัญญัติชัดเจนว่าผลของการนิรโทษกรรม ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใดๆ แก่ผู้ได้รับนิรโทษในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น และคดีดังกล่าว เป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญาที่อยู่ในขอบเขตของร่างพระราชบัญญัตินี้

 

ประเด็นที่ 5 มีการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในคราวเดียวกันนี้ถึง 6 ฉบับ

 

นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนั้นสถานการณ์ของประเทศอยู่ในภาวะที่เกิดความขัดแย้งแตกแยกรุนแรงในสังคม ซึ่งรัฐบาล ที่เข้ามาบริหารประเทศต้องการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ จึงได้ประกาศ เป็นนโยบายของรัฐบาลและได้แถลงต่อรัฐสภา

 

ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม รวมถึงร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปรองดองซึ่งมีเนื้อหาเป็นการนิรโทษกรรมเช่นกัน จำนวนหลายฉบับต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรวมได้ในขณะนั้นเป็น จำนวน 10 ฉบับ แต่ขณะนั้นสภาผู้แทนราษฎรได้บรรจุระเบียบวาระ เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จานวน 6 ฉบับ

 

ซึ่งร่างพระราชบัญญัติทั้งหมด มีเนื้อหาเป็นการนิรโทษกรรมให้กับเหตุการณ์ชุมนุมและความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งทุกฉบับล้วนมีเจตนาที่ต้องการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นของคนในชาติ ลืมความขัดแย้งและอดีตที่ขมขื่นและให้อภัยต่อกัน เพียงแต่มีสาระสำคัญที่แตกต่างกันในรายละเอียดบางประการเท่านั้น

 

ประเด็นที่ 6 ร่างพระราชบัญญัตินี้ในที่สุด ไม่ถูกตราขึ้นเป็นกฎหมาย จึงไม่มีผลบังคับใช้

 

ตามข้อเท็จจริงเมื่อร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา ปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติได้ถูกยับยั้งไว้ และต่อมามีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวจึงตกไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของกระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันอย่างรอบคอบและเป็นขั้นเป็นตอน จึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหามิได้กระทำความผิดใดๆ จากการร่วมกันลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ซึ่งได้ตกไป ในที่สุด ไม่อาจกล่าวได้ว่าเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นจากการเสนอร่างพระราชบัญญัติ อีกทั้ง โดยหลักการก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการพยายามกระทำความผิด เพราะการเสนอร่างพระราชบัญญัติ หาใช่การลงมือกระทำความผิดและเป็นการใกล้ชิดกับความผิดสำเร็จแต่อย่างใด

 

ประเด็นที่ 7 กรณีเทียบเคียงกับกรณีประธานกรรมการ ป.ป.ช. และประธานอนุกรรมการ ไต่สวนได้ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ....

 

จะเห็นได้ว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะ 40 ส.ส. และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของกรรมาธิการ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นลักษณะเดียวกับการเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไป โดยขอยก กรณีเทียบเคียงกับการที่ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. (พลตารวจเอกวัชรพล ประสารราชกิจ)  

 

และประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน (นางสาวสุภา ปิยะจิตติ) เข้าไปร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.... ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีการเสนอแก้ไขจากหลักการของร่างเดิมหลายประการ อาทิเช่น การให้กรรมการ ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนครบวาระการเพิ่มอำนาจให้กรรมการ ป.ป.ช. ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดักฟังสื่ออิเลคโทรนิคส์ต่างๆ ได้นั้น ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ทับซ้อนของบุคคลทั้งสองและบุคคลทั้งสองได้ประโยชน์โดยตรงเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ควรกระทำ หากจะถือว่าเป็นการกระทำในฐานะการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้อเท็จจริงดังกล่าว ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งมีความชัดเจนและความร้ายแรงเสียยิ่งกว่ากรณีของคณะ 40 ส.ส. ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงใดสนับสนุนว่ามีการกระทำความผิดเลย ดังจะเห็นได้จากพฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่ประธานอนุกรรมการไต่สวนในคดีนี้ แม้ขณะพิจารณามาตราดังกล่าวจะไม่ได้เข้าประชุม แต่ก็ได้สมยอมหรือมีพฤติการณ์ร่วมกันกับ สนช. ด้วยการให้เหตุผลต่างๆ ในที่ประชุม สนช. เพื่อให้ต่ออายุการทาหน้าที่ของตนและกรรมการ ป.ป.ช ที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม จนในที่สุด สนช. ได้มีมติต่ออายุการทำหน้าที่ของประธานอนุกรรมการไต่สวนและกรรมการ ป.ป.ช. อีกหลายคนอันอยู่ในประการที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นการบิดผันการใช้อานาจอย่างแท้จริง

 

ดังที่คณะ 40 ส.ส. ได้ยื่นหนังสือ ขอความเป็นธรรมและเสนอเหตุผลเพื่อขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ยุติการไต่สวนตามสำระสำคัญทั้ง 7 ประเด็น ดังกล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่า เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีคำสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริงและคณะอนุกรรมการไต่สวนดำเนินการไต่สวนอยู่นั้น มิใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะไต่สวนได้ แต่เป็นการก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ขัดต่อกฎหมายและหลักนิติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  มาตรา 3 วรรคสอง คณะ 40 ส.ส. จึงได้เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยุติการไต่สวนเสียทันที.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"