ชี้กม.เปิดกว้าง เลือกประธาน ถอดถอน'ก.อ.'


เพิ่มเพื่อน    

     “ธนกฤต” เปิดข้อแตกต่าง 9 ประเด็นที่ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการอัยการฉบับที่ สนช.รื้อจากที่อัยการสูงสุดเสนอ ชี้เปิดกว้างให้เลือกประธาน ก.อ.-ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ เผยข้อดีให้มีการถอดถอนด้วย 
     เมื่อวันอาทิตย์ หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่..) พ.ศ..... เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 7 ก.ย. โดยมีสาระสำคัญ โดยเฉพาะในมาตรา 18 คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มี 15 คนประกอบด้วย ประธาน ก.อ. (มาจากการเลือกของอัยการ ยกเว้นอัยการผู้ช่วย) โดยมีอัยการสูงสุด (อสส.) เป็นรองประธาน ก.อ. ส่วน ก.อ. ประกอบด้วย รอง อสส.ตามลำดับอาวุโส 5 คนโดยตำแหน่ง และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ซึ่งมาจากการเลือกของอัยการ ยกเว้นอัยการผู้ช่วย และให้อธิบดีอัยการสำนักงานคณะกรรมการอัยการเป็นเลขานุการ ก.อ.นั้น
     ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำ สำนักงานอัยการสูงสุด แสดงความเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการอัยการที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.นี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ได้แก้ไขในหลายมาตรา ทำให้ร่างที่ สนช.แก้ไขแตกต่างจากร่างเดิมที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอในหลายประเด็น ที่น่าสนใจ คือ 1.เปิดกว้างบุคคลผู้มีสิทธิจะได้รับเลือกให้เป็นประธาน ก.อ.และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นพนักงานอัยการมาก่อนมากขึ้นกว่าเดิม 2.ตัดข้อความของร่างเดิมที่กำหนดให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็น ก.อ.โดยตำแหน่งออก อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ จึงมีตำแหน่งเพียงเป็นเลขานุการ ก.อ.เช่นเดิม ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา 18 3.กำหนดเพิ่มรอง อสส.ตามลำดับอาวุโสที่เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ให้เพิ่มจาก 4 คน เป็น 5 คน 4.กำหนดให้การเลือกประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องกระทำภายใน 60 วันก่อนวันครบกำหนดวาระ หรือภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือก ขณะที่ร่างเดิมกำหนดให้ต้องกระทำภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือก 5.กำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนเลือกประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องกระทำโดยวิธีลับ 6.กำหนดให้กรณีที่ ก.อ.เหลือแต่เพียง ก.อ.โดยตำแหน่ง ให้ ก.อ.โดยตำแหน่งเป็นองค์ประชุม และให้กระทำได้แต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน 7.กำหนดให้กรณีที่ประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิครบกำหนดวาระ ให้ประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อนจนกว่าประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่ 8.กำหนดให้การเลือกประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิต้องกระทำภายใน 120 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการอัยการฉบับใหม่ใช้บังคับ ขณะที่ร่างเดิมกำหนดให้ต้องดำเนินการเลือกให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ใช้บังคับ และ 9.กำหนดให้ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน หากประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นประธาน ก.อ. หรือ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องลาออกจากตำแหน่ง ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ใช้บังคับ
     ประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งของ พ.ร.บ.อัยการฉบับใหม่นี้ คือ มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ข้าราชการอัยการจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนข้าราชการอัยการทั้งหมด สามารถเข้าชื่อถอดถอนประธาน ก.อ. และ ก.อ.ผู้ทรงคุณวุฒิออกจากตำแหน่ง รวมทั้งมีบทบัญญัติที่กำหนดเรื่องการลงมติถอดถอนไว้  ซึ่งในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2553 ฉบับปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติที่ห้ามไม่ให้อัยการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน กรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน  หรือเป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งอื่นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 248 วรรค 4 และบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 277 วรรค 3.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"