เอกชนยอมตรึงราคา จี้รัฐหามาตรการดูแล


เพิ่มเพื่อน    

พาณิชย์กล่อมผู้ผลิตสินค้ากว่า 100 ราย ยอมตรึงราคาขายหลัง 1 เม.ย. ชี้ส่วนใหญ่ไม่กระทบจากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เว้นกลุ่มใช้สินค้าเกษตรวัตถุดิบ-เอสเอ็มอี ขอรัฐออกมาตรการดูแล
    ที่กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้ผลิตสินค้ากว่า 100 ราย เพื่อหาแนวทางตรึงราคาขาย หลังจากรัฐบาลจะประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกวันละ 5-22 บาท วันที่ 1 เม.ย.นี้ว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยืนยันว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า เพราะส่วนใหญ่จ่ายค่าจ้างแรงงานสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว และยังได้ปรับเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน ดังนั้น จึงจะไม่มีการปรับขึ้นราคาขายสินค้าอย่างแน่นอน แต่อาจมีบางกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มที่ใช้วัตถุดิบจากสินค้าเกษตรที่ใช้แรงงานมาก รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี)
    ”สินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำน้อยมาก จึงจะไม่ปรับขึ้นราคาขายสินค้าหลังค่าแรงปรับขึ้น แต่กลุ่มสินค้าที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก อาจมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี ซึ่งหากผู้ประกอบการรับภาระไม่ไหวจริงๆ จะขอปรับขึ้นราคา กระทรวงจะพิจารณาให้ตามข้อเท็จจริง และความเหมาะสม” นายสนธิรัตน์ระบุ 
    ส่วนภาคบริการ เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร ที่มีความอ่อนไหวด้านราคานั้น กระทรวงจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าใช้แรงงานมากน้อยเพียงใด ได้รับกระทบหรือไม่อย่างไร หากพบการขึ้นราคาโดยไม่เป็นธรรม ผู้บริโภคสามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน โทร.1569 จะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ และหากพบมีการเอาเปรียบผู้บริโภคจริง จะดำเนินการตามกฎหมาย
    รมว.พาณิชย์กล่าวถึงราคาน้ำตาลทรายว่า หลังจากประกาศลอยตัวราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานไปแล้ว ล่าสุด จากการออกตรวจสอบสถานการณ์ค้าของกรมการค้าภายใน พบว่า ราคาขายปลีกน้ำตาลทรายโดยทั่วไปลดลงกิโลกรัมละ (กก.) ละ 2 บาท ตามราคาหน้าโรงงานที่ลดลงตามราคาตลาดโลกในขณะนี้ หรือขายอยู่ที่ กก.ละ 21.50 บาท จากราคาเพดานสูงสุดที่กำหนดไว้ กก.ละ 23.50 บาท ทั้งนี้ ได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตสินค้าที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบหลัก เช่น เครื่องดื่ม น้ำอัดลม ให้คืนความสุขให้ประชาชนด้วย เมื่อต้นทุนราคาน้ำตาลทรายลดลง เช่น หากลดราคาขายไม่ได้ อาจจัดเป็นโปรโมชั่น เพื่อไม่เอาเปรียบผู้บริโภค 
    ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันที่ 1 เม.ย.นี้ กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ ภาคเกษตรและเอสเอ็มอี ซึ่งคาดว่าสินค้าที่ใช้สินค้าเกษตรในประเทศเป็นวัตถุดิบหลัก อย่างอาหารกระป๋อง, ผลไม้/น้ำผลไม้กระป๋อง, อาหารทะเลกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ที่ไม่ได้ใช้วัตถุดิบนำเข้า เป็นต้น จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น และอาจปรับขึ้นราคาขายได้ ซึ่งได้แนะนำให้กระทรวงพาณิชย์เชิญผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบหลักมาสอบถามถึงผลกระทบเช่นกัน หากกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบมาก ต้องปรับขึ้นราคาขายสินค้าให้กับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป และจะทำให้สินค้าสำเร็จรูปอาจต้องขึ้นราคาขายตามได้ 
    นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มค้าปลีกค้าส่งในกรุงเทพฯ จ่ายค่าแรงวันละ 350-400 บาท สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว จึงจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้ แต่กลุ่มเอสเอ็มอีในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่ใช้แรงงานมาก และไม่มีเครื่องจักรใช้แทนคน จะได้รับผลกระทบมาก ซึ่งภาครัฐต้องมีมาตรการเข้ามาดูแล. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"