กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเผยพิษโซนร้อนเบบินคาท่วมถึง 20 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบหลายแสน ยังหนักอีก 10 จังหวัด อีสาน กลาง โดนถ้วนหน้า
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเบบินคา และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม-8 กันยายน 2561 ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยใน 20 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 10 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี และสระบุรี ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อน เบบินคา และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม-8 กันยายน 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน หนองคาย นครพนม บึงกาฬ เพชรบุรี สกลนคร ลพบุรี นครนายก ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ พิจิตร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี และสระบุรี รวม 108 อำเภอ 479 ตำบล 2,660 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 62,877 ครัวเรือน 198,126 คน ผู้เสียชีวิต 4 ราย
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เชียงราย ลพบุรี พิจิตร และชัยภูมิ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 10 จังหวัด รวม 42 อำเภอ 190 ตำบล 1,353 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32,661 ครัวเรือน 93,277 คน
แยกเป็นลุ่มน้ำโขง 3 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ และอำเภอโพนพิสัย รวม 7 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,038 ครัวเรือน 4,890 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง, บึงกาฬ น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด อำเภอศรีวิไล อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา และอำเภอพรเจริญ รวม 44 ตำบล 371 หมู่บ้าน
ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,038 ครัวเรือน 29,439 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าเสียหาย 41,338 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
นครพนม น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม และอำเภอเมืองนครพนม รวม 56 ตำบล 584 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,600 ครัวเรือน 22,950 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ลุ่มน้ำอูนและลุ่มน้ำสงคราม 1 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอพรรณานิคม อำเภออากาศอำนวย และอำเภอบ้านม่วง รวม 10 ตำบล 20 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 186 ครัวเรือน 500 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ลุ่มน้ำชี 2 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอฆ้องซัย รวม 18 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 961 ครัวเรือน 1,873 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง, อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเขื่องใน รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 975 ครัวเรือน 1,462 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ลุ่มน้ำปราจีนบุรี 2 จังหวัด ได้แก่ นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ และอำเภอปากพลี รวม 20 ตำบล 116 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,534 ครัวเรือน 20,475 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,020 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอบ้านสร้าง รวม 16 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,660 ครัวเรือน 9,102 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ลุ่มน้ำเพชรบุรี 1 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง และอำเภอบ้านแหลม รวม 6 ตำบล 18 หมู่บ้าน ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีลดลงอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตรบางพื้นที่
ลุ่มน้ำป่าสัก 1 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมอ และอำเภอแก่งคอย รวม 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 179 ครัวเรือน 551 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว ท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |