ป้องกันโรคกรดไหลย้อนคนสูงวัย เลือกอาหารย่อยง่ายมีกากใยสูง


เพิ่มเพื่อน    

    ว่าด้วยเรื่องของ “โรคกรดไหลย้อน” ที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่สภาพร่างกายเสื่อมถอย ส่งผลให้อวัยวะในร่างกายส่วนต่างๆ ทำงานได้ไม่ดี อาทิ “หลอดอาหาร” นั่นจึงทำให้พบโรคดังกล่าวได้ในผู้สูงวัยมากกว่าคนหนุ่มสาว ประกอบกับคุณตาคุณยายหลายท่านชอบเข้านอนทันทีหลังกินข้าวเย็น ก็เป็นสาเหตุของอาการกรดไหลย้อนได้เช่นเดียวกัน หรือแม้แต่การเลือกรับประทานอาหารบางประเภท เช่น แข็ง, ย่อยยาก, ชา-กาแฟ ตลอดจนกับข้าวรสจัดที่กระตุ้นภาวะของโรค ส่งผลต่อการแสบร้อนบริเวณกลางหน้าอกได้ พี่เตี่ยง-มณทิพา กานต์วรัญญู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี มีข้อมูลมาแนะนำกัน

(มณทิพา กานต์วรัญญู)

    พยาบาลมณทิพา ให้ข้อมูลว่า “อาหารที่ป้องกันโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ได้แก่ 1.อาหารที่อ่อนย่อยง่าย และต้องไม่เหนียวหรือแข็ง 2.อาหารที่รสชาติไม่จัดจ้าน 3.งดการบริโภคยาแก้ปวดประเภทคลายกล้ามเนื้อที่กัดกระเพาะอาหาร และส่งผลต่อให้กรดเปรี้ยวในกระเพาะไหลย้อนไปที่บริเวณหลอดอาหาร ส่งผลต่ออาการแสบร้อนที่หน้าอกของผู้ป่วย 4.การกินอาหารให้ตรงเวลา 

(ป้องกันโรคกรดไหลย้อน หลังกินอาหารเย็น ผู้สูงอายุควรเลี่ยงการเข้านอนทันที แต่ควรออกกำลังกายเบาๆ หรือเดินเล่นในสวนรอบบ้าน)

    ทั้งนี้ แนวทางของการป้องกันโรคกรดไหลย้อน ให้เริ่มจากการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น  “เมนูข้าวต้มปลา” ที่นอกจากกินง่ายแล้ว โปรตีนที่ได้จากเนื้อปลาก็ดีต่อสุขภาพผู้สูงวัยอีกด้วย ส่วนเมนูต่อมา ได้แก่ “ต้มจืดผักกาดขาว” ประโยชน์ของอาหารชามนี้คือ ผักกาดขาวจะมีกากใยอาหารสูง ช่วยย่อยในตัวอยู่แล้ว ส่วนหมูสับก็ให้โปรตีน ที่สำคัญเมนูนี้เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหาร เพราะอย่าลืมว่าถ้าอายุมากและไปบริโภคหรือที่เหนียว แข็ง ก็จะทำให้คุณตาคุณยายกลืนอาหารทันทีโดยไม่มีการเคี้ยว เมื่อนั้นก็จะทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนักในการกระตุ้นน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่มาก เพื่อทำให้อาหารย่อยนั่นเอง จึงกระตุ้นให้เกิดภาวะโรคกรดไหลย้อนได้อีกเช่นเดียวกัน 

(“น้ำพริกปลาทูเผ็ดน้อยกินคู่กับผักต้ม” อาหารอ่อนและมีกากใยอาหารสูง ช่วยขับถ่ายคล่อง ป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้)

    รวมไปถึง “ผัดผักกาดขาว” ที่เมื่อปรุงแล้วนิ่ม ง่าย เหมาะกับการบดเคี้ยวของผู้สูงวัย หรือจะบริโภค “น้ำพริกปลาทูกับผักต้มสุก” อาทิ กระเจี๊ยบ, ถั่วฟักยาว, ดอกแค, กะหล่ำปลี แต่ทั้งนี้ น้ำพริกจะต้องไม่เผ็ดมาก และผักที่กล่าวมาก็ล้วนมีกากใยอาหารและช่วยย่อยได้ดีเช่นกัน อีกทั้งอีกหนึ่งข้อควรระวัง ผู้สูงอายุไม่ควรบริโภคผักดิบ เพราะจะทำให้ท้องอืดง่าย และกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดในปริมาณสูงเพื่อช่วยย่อย 

(อาหารเหนียว แข็ง เคี้ยวยาก อาทิ กากหมู ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ เนื่องจากกระเพาะอาหารจะกระตุ้นการหลั่งกรดเพื่อย่อยอาหารที่เหนียว กระทั่งไหลย้อนขึ้นที่บริเวณกลางหน้าอกทำให้แสบร้อน)

    ในส่วนของอาหารที่กระตุ้นโรคกรดไหลย้อนอย่าง “อาหารแข็ง” อาทิ กากหมู, เนื้อหมู, เนื้อไก่ที่เหนียว ก็แนะนำว่าผู้สูงวัยควรเลี่ยงที่จะรับประทาน เพราะอย่างที่บอกไปว่าอาจจะกลืนโดยไม่มีการเคี้ยวนั่นเอง หรือแม้แต่การรับประทานหมูหย็อง ถ้าเป็นไปได้ให้เลือก “หมูหย็องกรอบ” จะดีกว่าแบบฝอย เพราะจะทำให้เหนียว อุ้มน้ำและย่อยยาก ขณะที่ “การรับประทานยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ” ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ที่ป่วยโรคกรดไหลย้อนกินยาพาราเพื่อลดอาการปวดเมื่อยแทน เพื่อป้องกันการกัดกระเพาะและกรดไหลย้อนที่บริเวณหลอดอาหารนั่นเอง รวมถึงผู้สูงอายุควร “บริโภคอาหารให้ตรงเวลา” เพื่อป้องกันปัญหากรดกัดกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน ในส่วนของการ “ดื่มชา-กาแฟ” ในรายที่ดื่มมาเป็นเวลานานก็สามารถรับประทานได้ แต่ต้องไม่ดื่มทุกวัน เนื่องจากโทษของกาเฟอีนที่มีอยู่ในชาและกาแฟนั้นจะส่งผลต่อการนอนหลับในผู้สูงวัยมากกว่าเรื่องอื่น อีกทั้งทำให้ผู้สูงอายุที่ดื่มมีอาการกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าปกติ
    ไล่มาถึงการป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงการเข้านอนทันทีหลังอาหารเย็น โดยแนะนำให้ผู้สูงอายุขยับเขยื้อนร่างกายด้วยการนั่งอาหารหนังสือวันละ 30 นาที หรือลุกขึ้นเดินไปรดน้ำต้นไม้รอบบ้าน, ยืนแกว่งแขนหน้าทีวี กระทั่งเดินไปให้อาหารสัตว์เลี้ยงต่างๆ เป็นต้น
    นอกจากเรื่องอาหารแล้ว การปรับอิริยาบถด้วยการเลี่ยงเข้านอนทันทีหลังอาหารเย็น ตลอดจนการหมั่นเอกเซอร์ไซส์สม่ำเสมอ ย่อมส่งผลให้ร่างกายทุกส่วนของคุณตาคุณยายแข็งแรง ป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้อีกทางหนึ่ง ว่าไหมค่ะ...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"