6 ก.ย.61 - ที่อาคารเอนกประสงค์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานรับฟังการแถลงแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ด้วยยุทธศาสตร์ชาติของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพของทั้งสามเหล่าทัพ ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม พล.อ.วัลลภ รักเสนา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมทางผู้แทนจากองค์กรต่างๆส่วนราชการและภาคเอกชนเข้าร่วมรับฟัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้คณะนักศึกษาฯได้เสนอแนวทางยุทธศาสตร์เฉพาะ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงแห่งชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจสังคมพลังงาน ด้านทุนมนุษย์และคุณภาพชีวิต ด้านความเป็นธรรมในสังคมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการเมืองการปกครองและระบบบริหารจัดการภาครัฐ พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
จากนั้นพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า เราต้องมียุทธศาสตร์ชาติเป็นไฮเวย์เดินไปด้วยกัน ไม่ใช่การเมืองเปลี่ยนไปแล้วเราไปคนละทิศคนละทาง ในหลายประเทศผ่านความขัดแย้งและเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตก่อนที่จะพัฒนามาถึงวันนี้ ดังนั้นประเทศไทยต้องรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนของไทยแลนด์ 4.0 วันนี้ถึงเวลาที่เราต้องนำพาไปสู่การปฏิบัติให้ได้ ต่อไปก็จะเป็นการทำแผนแม่บท ส่วนข้อเสนอเรื่องการ ตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นั้นยังไม่จำเป็นตอนนี้ เพราะเรามีระบบอยู่แล้วในการนำพาประเทศของเราไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกให้ได้ ในช่วง 10กว่าปีที่เราสูญเสียโอกาสไป ตอนนี้เราต้องเร่งสปีด ลดความขัดแย้ง เดินหน้าไปสู่ประเทศที่มีธรรมาภิบาล มีรัฐบาลที่มีความชอบธรรม
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่าเมื่อตนมาทำให้แล้วก็ส่งต่อให้รัฐบาลใหม่ ที่ผ่านมาการแก้ไขของเรามีปัญหาติดขัดไปหมด การมีมาตรา 44เพื่อใช้ไปก่อน ไม่ใช่เอื้อประโยชน์หรือต่อท่ออำนาจหรือแสวงหาผลประโยชน์ ตนมีอำนาจมา 4ปี ก็ไม่ได้อยากใช้ เพราะให้ทั้งคุณและโทษกับคน ทั้งนี้ต้องใช้อำนาจให้เหมาะสมตนเป็นนายกฯโดนทุกเรื่อง แต่ทุกอย่างทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามเราเริ่มทำยุทธศาสตร์ไปพร้อมการปฎิบัติเริ่มตั้งแต่ปี 2560 อยู่ที่ว่าคณะรัฐมนตรีจะบริหารอย่างไร ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งเราจะมีกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปเพื่อให้แผนแม่บทและยุทธศาสตร์ชาติเดินไปได้ นอกจากนี้ยังมีสภาพัฒน์ฯและสำนักงบประมาณติดตามงาน เรามีกขย. กขป.ซึ่งอยู่กับนายกฯ โดยจะต้องมีการปรับให้เป็นหน่วยบรรจุอยู่ในระบบงบประมาณ ไม่เช่นนั้นหน่วยงานเหล่านี้ก็จะหายไป
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าที่ผ่านมาคนอ่านโซเชียลมีเดียแล้วก็รู้สึกสนุก แต่ในนั้นก็ไม่มีใครดีซักคน บางคนก็ชมผม ชมรัฐบาลแล้วก็มาด่าอีกฝ่ายต่อ ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น เราต้องมีภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ต้องรู้เท่าทันแล้วนำมาปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนและการศึกษา ตอนนี้แค่ตั้งชื่อกระทรวงมีปัญหาอะไรจะมาก่อนมาหลัง ตนก็ตั้งให้เลยว่าเป็นกระทรวงคสช.ดีไหม
"อย่าให้ใครมาบิดเบือนในเรื่องการคุมราคาสินค้าได้ ซึ่งมันทำไม่ได้ เราก็พยายามไม่ให้สินค้าราคาอุปโภคบริโภคสูงเกินจำเป็น หรืออย่าไปเชื่อถ้าไปหาเสียงว่าจะทำให้ราคาสินค้าเหลือเท่านั้นเท่านี้ ขอให้ดูความเป็นจริงเพราะในระบบงบประมาณในแต่ละวงเงินงบประมาณแต่ละเรื่องเอาไปใช้ได้เท่าไหร่ จะเอาไปใช้อย่างอื่นไม่ได้ และที่บอกจะให้เราขายเรือดำน้ำตอนนี้ จะขายได้อย่างไรเพราะยังไม่ได้มีการจ่ายเงิน ยังไม่ได้เรือซักลำเลย ก็ไปบิดเบือนกันเสียหมด ฟังเขาพูดแล้วตรรกะยังเป็นไปไม่ได้ จะมาบอกว่าขายเรือดำน้ำเอาเงินมาดูแลสุขภาพของคน ซึ่งมันไม่เกี่ยวข้องกัน
พูดมาเถอะ ผมไม่กลัว ยิ่งตียิ่งโตยิ่ง ยิ่งเป็นกำลังใจให้ทำงาน เป็นทหารชอบ ยิ่งแรงมายิ่งมีกำลังใจทำงาน เป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน ส่วนที่มาหาเสียงว่าต้องไม่มีการเกณฑ์ทหารนั้น ปัจจุบันเงินเดือนพลทหารมากกว่าแรงงานขั้นต่ำเสียอีก อะไรที่ไม่ดีก็ต้องไปแก้ไข ถามว่าถ้าไม่มีทหารไทยใครจะไปแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ทุกวันนี้คิดอะไรไม่ออกก็บอกทหาร"นายกฯ กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |