"โปรแกรมวิเคราะห์ตำแหน่งฟ้าผ่า" นวัตกรรมที่อาจช่วยแก้ไฟดับจากฟ้าผ่าได้ใน 2 นาที


เพิ่มเพื่อน    

ฟ้าผ่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หนึ่งในปัญหาลำดับต้นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าดับทั้งขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่เป็นวงกว้างได้

ในการควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า จะมีปัจจัยนอกเหนือการควบคุมส่งผลให้เกิดเหตุขัดข้องในระบบกำลังไฟฟ้า เช่น สายส่งล้มเนื่องจากพายุ ต้นไม้พาดแนวสายส่ง และฟ้าผ่า ซึ่งในช่วงหน้าฝนจะมีเหตุการณ์ฟ้าผ่าทั่วประเทศประมาณ 150,000 ครั้ง/วัน หากฟ้าผ่าใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง สามารถทำให้ระบบส่งไฟฟ้าขัดข้องได้ ผู้ควบคุมระบบมีหน้าที่ในการนำระบบกลับให้เร็วที่สุด โดยการนำระบบกลับนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ นอกจากนั้นหน่วยงานบำรุงรักษาสายส่งต้องมีการตรวจสอบสาเหตุการขัดข้องทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์

“โปรแกรมวิเคราะห์และแสดงพิกัดตำแหน่งฟ้าผ่าเทียบแนวสายส่ง” หรือ “Lightning Location Strike to Power Line : LLS2Line” เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และฝ่ายบำรุงรักษาระบบส่ง เพื่อย่นระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลฟ้าผ่าเทียบแนวสายส่งเมื่อเกิดเหตุขัดข้องในระบบควบคุมกำลังไฟฟ้า โดยบูรณาการข้อมูลจากระบบ EGAT SCADA ระบบตรวจจับฟ้าผ่า VAISALA ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลใน กฟผ. เว็ปไซต์ Google Map และ LINE Application เพื่อทำการประมวลผลและกลั่นกรองข้อมูลให้แก่ผู้ควบคุมระบบฯ และส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติ ส่งผลให้ลดระยะเวลาในการตรวจสอบและลดการสูญเสียรายได้จากการหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้า เพิ่มความมั่นคงให้ระบบส่งกำลังไฟฟ้า

จุดเริ่มต้นของการคิดค้นโปรแกรม LLS2Line

กฟผ. ได้มีการนำระบบตรวจจับฟ้าผ่ามาใช้งาน ตั้งแต่ปี 2537 แต่ระบบยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย จึงได้มีการพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่อง จนปี 2557 ได้มีการขยายเซ็นเซอร์ทั่วประเทศประมาณ 19 ตัว โดยเน้นพื้นที่ใกล้แนวสายส่งของ กฟผ. ทั่วประเทศ เพื่อใช้สนับสนุนการควบคุมการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพและความมั่นคง โดยเทคโนโลยีและวิธีการในปัจจุบันทำให้การตรวจจับสัญญาณฟ้าผ่ามีความละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น สำหรับซอฟต์แวร์พื้นฐานที่มากับตัวระบบ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาในการตรวจสอบ และผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญ จึงเล็งเห็นว่าควรพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยในการควบคุมระบบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ที่สามารถช่วยในการวิเคราะห์ และสามารถคิดแทนผู้ควบคุมระบบได้

ประโยชน์ของโปรแกรม LLS2Line ที่พัฒนาขึ้น

ตัวโปรแกรมที่มากับระบบตรวจจับฟ้าผ่า ก่อนที่จะมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ประมาณ 10 ถึง 15 นาที ในการที่จะทราบว่าเหตุการขัดข้องในระบบกำลังไฟฟ้าเกิดจากฟ้าผ่าหรือไม่ ในขณะที่ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถทำงานได้ทันที ภายในไม่เกิน 2 นาที ผู้ควบคุมระบบสามารถรับรู้ได้ว่าเหตุการณ์ขัดข้องนั้นๆ เกิดจากฟ้าผ่าหรือไม่ ผ่านแอพพลิเคชัน LINE ซึ่งจะส่งข้อมูลอัตโนมัติไปยังผู้ควบคุมระบบ

ภาพการส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติผ่านแอพพลิเคชัน LINE

 

การขยายผล

ปัจจุบันได้ทำการขยายผลโดยติดตั้งโปรแกรม LLS2Line ที่ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ ฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง ฝ่ายปฏิบัติการนครหลวง ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ และฝ่ายบำรุงรักษาระบบส่ง ของ กฟผ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กฟผ. ต่อไป

รางวัลที่ได้รับ

– รางวัลชมเชย จากมูลนิธิกำธนสินธวานนท์ ทางด้านวิชาการและผู้กระทำความดี

– รางวัลสิ่งประดิษฐ์ กฟผ. ได้รับรางวัลดีเลิศ

– รางวัลที่ 1 จากเวทีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น

รางวัลเหรียญทองแดงจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

ผลการคิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวยังทำให้ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนเมษายน 2561 โดยการตัดสินให้รางวัลจะดูจากความคิดสร้างสรรค์ของสิ่งประดิษฐ์ และประโยชน์ต่อส่วนรวม เพราะการที่ผู้ควบคุมระบบ และพนักงานสถานีไฟฟ้าแรงสูงรู้ตำแหน่งการเกิดฟ้าผ่าได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหา ณ จุดเกิดเหตุได้ทันที ประชาชนก็จะได้ประโยชน์จากการที่มีไฟดับน้อยลง ปัญหาถูกแก้ไขอย่างรวดเร็ว และยังสามารถนำไปขยายผลใช้ประโยชน์กับหน่วยงานอื่นๆ ภายในประเทศและต่างประเทศได้อีกด้วย

ทีมผู้ประดิษฐ์คิดค้นโปรแกรม LLS2Line รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"