หลงทิศผิดทาง!'ธิดา'เสี้ยมแตกแยกอ้างชนชั้นกลางไม่ยอมรับประชาธิปไตยของรากหญ้า


เพิ่มเพื่อน    

6 ก.ย.- นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานที่ปรึกษานปช. Facebook Live ถึงคำว่า “ประชาธิปไตยกำลังมา” ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้พูดว่า ประหนึ่งว่าที่แล้วมาตั้งแต่อดีตไม่มีประชาธิปไตยซึ่งขณะนี้ท่านเคลียร์พื้นที่แล้ว...ประชาธิปไตยกำลังจะมา หรืออาจจะตีความว่า 4-5 ปีนี้ไม่มีประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยกำลังจะมา..จริงหรือเปล่า???

นางธิดาเห็นว่าทั้ง 2 ส่วนนี้มีปัญหาทั้งนั้น เพราะว่าความเป็นจริงประชาธิปไตยนั้นได้มาแล้วตั้งแต่ 2475 แต่มาแล้วมันถูกทำให้หยุด! แล้วพยายามสร้างประชาธิปไตยปลอม ๆ ขึ้นมาแทน ขนาดประชาธิปไตยปลอม ๆ ที่มีประชาธิปไตยอยู่สักครึ่งใบ/เสี้ยวใบ ก็ยังมีการทำรัฐประหารให้หยุด! เพราะว่าระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเต็มเป็นของประชาชนจะกลายเป็นสิ่งที่คณะบุคคล ชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมและอำนาจนิยมในประเทศไทยรับไม่ได้...หรือเปล่า?

ที่บอกว่ากำลังจะมี “ก้าวแรกประชาธิปไตย” นั้นก็ไม่ใช่ เพราะท่านพูดก้าวแรกในหลายประเด็น ท่านอาจจะมองเหมือนกับว่าท่านเอาต้นไม้มาปลูก มาใส่ปุ๋ย ท่านต้องทำต่อให้เจริญเติบโต ทำให้ท่านอาจจะสับสนจนไม่สามารถตอบชัดทางการเมืองได้ว่าจะมาดำเนินการสืบต่อในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารโดยใช้วิธีไหน จะไปอยู่ในตะกร้าไหน ซึ่งเคยบอกว่าจะชัดเจนในเดือนก.ย. ก็ปรากฎว่าท่านบอกไม่ได้แล้วตอนนี้

ขณะนี้ไม่มีอะไรชัดเจนซักอย่าง ท่านบอกเดือนก.ย.จะชัดเจน จะมีการปลดล็อกหรือคลายล็อกใน 2-3 วัน มันก็ไม่ใช่! ไอ้ที่พูดว่าชัดเจน มันยิ่งไม่ชัดเจน สถานะที่ไม่ชัดเจนทางการเมืองและที่บอกว่าประชาธิปไตยกำลังมานั้น มันยิ่งไม่ชัดเจนมากขึ้น เพราะว่าท่านไม่สามารถรักษาคำพูดไว้ได้ในทุก ๆ เรื่อง

ดังนั้น กล่าวได้ว่าก่อนเลือกตั้งยังไม่มีอะไรชัดเจน และยังไม่มีอนาคตว่าประชาธิปไตยจะมาเมื่อไหร่ เพราะขนาดตัวท่านเองท่านยังไม่รู้เลยว่าจะไปทางไหน? ท่านไม่กล้าบอกว่าจะลงพรรคการเมืองอะไร ยิ่งใกล้วันที่จะนำไปสู่วันเลือกตั้งความไม่ชัดเจนก็มากขึ้น ในส่วนตัวไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยกำลังจะมา

ที่สำคัญก็คือขณะนี้เราอยู่ในระบอบรัฏฐาธิปัตย์ ม.44 ก็ยังอยู่ เวลาเลือกตั้งจะมีเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ราบรื่นหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าสะดุดอะไรหน่อยท่านก็อาจจะบอกว่ายกเลิก เมื่อเลือกตั้งแล้วจะตั้งรัฐบาลได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ คือเราอยู่ในระบอบรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย

ในแง่ดี ถ้ามีการเลือกตั้ง มีรัฐบาล แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนี้จะอยู่อย่างไร? สมมุติฐานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สมมุติว่าเป็นการเลือกตั้งที่ลงตัว ทหารและ กองทัพถอยออกจากระบอบรัฏฐาธิปัตย์แบบเต็มรูป อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ บอกว่าการเมืองไทยจะมีลักษณะเป็น Military Guarded Authoritarianism ทหารจะยังมีอำนาจปกป้องระบอบที่ตนเองสร้างขึ้น แต่ก็ต้องแชร์ส่วนหนึ่งให้กับนักการเมือง แล้วหลังการเลือกตั้งกองทัพและชนชั้นนำจารีตนิยมก็ยังใช้กลไก กอ.รมน. ตนขอเพิ่มหน่วยงานความมั่นคงทุกอย่าง (สมช. หน่วยงานข่าวกรอง และกองทัพ) ในการบ่อนเซาะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้  ยกเว้น พล.อ.ประยุทธ์ได้มาเป็นรัฐบาลเอง อันนี้ก็อาจจะถือว่าไม่เกี่ยวกับผู้เห็นต่าง เรียกว่าไปด้วยกันได้ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือไม่ถือว่ามาเป็นผู้ควบคุม

นางธิดามองว่าหลังการเลือกตั้งนั้นจะมีทางอยู่ 2 แพร่ง แพร่งหนึ่งก็คือว่าคสช.และกองทัพยังสามารถคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยเด็ดขาด หาวิถีทางที่มาเป็นฝ่ายบริหารได้ ซึ่งขณะนี้ท่านคุมฝ่ายอื่น ๆ ได้หมดเหลือฝ่ายบริหารอย่างเดียว ในรัฐสภาท่านก็มีอยู่แล้ว 250 เสียง ยังมีกองหนุนไม่ต่ำกว่า 100 กว่าเสียง แต่ยังเหลืออยู่อย่างเดียวว่าจะเป็นรัฐบาลได้หรือเปล่า?

ถ้าเป็นรัฐบาลของคสช. ทุกอย่างก็เป็นไปอย่างราบรื่น แต่ถ้าไม่ใช่รัฐบาลคสช. รัฐบาลนั้นก็จะถูกควบคุมโดยหน่วยงานรัฐ กองทัพ หน่วยงานข่าว หน่วยงาน กอ.รมน. ดังที่อ.พวงทองพูด ซึ่งตรงนี้ถือว่ายังไม่มีประชาธิปไตย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลคสช.หรือรัฐบาลที่ไม่ใช่คสช.ก็แปลว่า หลังเลือกตั้งก็ไม่มีประชาธิปไตย มันไม่มีอยู่แล้วทั้งโดยตัวรัฐธรรมนูญ ทั้งโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ทั้งกฎหมายลูก รวมทั้งกลไกองค์กรอิสระต่าง ๆ ทั้งหมดที่ประกอบกันขึ้นมานี้ไม่ใช่กลไกสำหรับระบอบประชาธิปไตย แต่มันเป็นกลไกคณาธิปไตยสำหรับรัฐบาลจารีตนิยมและอำนาจนิยมต่างหาก ไม่มีประชาธิปไตยแน่นอน!

อีกเหตุผลหนึ่งที่นักวิชาการกล่าวว่าภาคประชาสังคมมีความอ่อนแอและแตกแยกนั้น ตนเห็นด้วยเช่นกันและเพิ่มเติมว่า ส่วนสำคัญของภาคประชาสังคมก็คือชนชั้นกลาง โดยเฉพาะชนชั้นกลางบนและปัญญาชนไทย ซึ่งมองรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มองอำนาจประชาชนไปในทิศทางด้านลบจนกระทั่งยอมให้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์และระบอบที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นคณาธิปไตยและเป็นรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหารทำรัฐประหารและสืบทอดอำนาจได้ เพราะกลายเป็นหวาดกลัวต่ออำนาจประชาชน

ลองคิดกันดูว่าคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นมวลชนพื้นฐานเลือกรัฐบาล ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ในทศวรรษที่ผ่านมาถูกล้มไปโดยกลไกที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย นั่นแปลว่า คนไทยในสังคม คนชั้นกลางบนและปัญญาชนได้แยกตัวออกไปจากชนชั้นล่าง และไม่ยอมรับการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ใช่หรือไม่? เหตุนี้ถ้าจะอ้างว่าประชาสังคมอ่อนแอ ในทัศนะของตนเห็นว่าประชาชนรากหญ้าเข้มแข็ง แต่ชนชั้นกลางบนและปัญญาชนไทยนั้น “หลงทิศผิดทาง” ไม่ได้ยืนอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ เขาอาจบอกว่าไม่ได้หลง แต่เขาจะไม่ใช่เป็นเครื่องมือของทุนสามานย์

แล้วหมายความว่าอะไร ถ้าหากว่ายอมรับในกลไกระบอบประชาธิปไตย คุณต้องทำให้ประชาชนละทิ้งสิ่งที่ไม่ถูกต้องให้ได้ นั่นก็คือต้องเลือกรัฐบาลที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ทั้งหมด คุณยอมรับได้หรือไม่? แต่ถ้าหากว่าตัวแทนของผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ แต่คุณคิดว่าทำลายผลประโยชน์ของคุณจนกระทั่งคุณร่วมทางด้วยไม่ได้...นี่จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับประเทศไทย!!

นางธิดาสรุปในช่วงท้ายว่า ปัญหาความอ่อนแอของประชาสังคมไทยมันอยู่ที่ปัญญาชนไทยและชนชั้นกลางไทยที่ไม่ใช่ฝ่ายเสรีนิยมจริง ไม่ได้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยจริง ไม่ได้ยืนอยู่กับผลประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่จริงต่างหาก...นี่เป็นสิ่งสำคัญ!!!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"