กทม.นัดคุยสธ. คุม'สัก'ตามวัด


เพิ่มเพื่อน    

    กทม.ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านสักย่านถนนข้าวสาร ยอมรับกว่าพันแห่งทั่วกรุงเทพฯ มีที่ได้รับใบอนุญาตเพียง 50 แห่ง เตือนร้านเถื่อนรีบขออนุญาต ไม่เช่นนั้นมีโทษติดคุก ส่วนที่พระสักตามวัดยังทำอะไรไม่ได้มาก
    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 กันยายนนี้ นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นพ.สุนทร สุนทรชาติ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย พญ.อริศรา ทัตตากร ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นายพงศธร ศิริธรรม ผู้อำนวยการสำนักเขตพระนคร พร้อมเจ้าหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลเขต สำนักอนามัยและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ถนนข้าวสารตรวจสอบร้านสักที่ไม่ได้รับอนุญาต
    นายทวีศักดิ์กล่าวภายหลังว่า ร้านสักเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2554 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 ในกลุ่มกิจการที่เกี่ยวกับการบริการ ลำดับที่ 9.15 การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น โดยผู้ประสงค์จะประกอบกิจการดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษตามมาตรา 17 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
    รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ปัจจุบันมีร้านสักที่ได้รับอนุญาตในพื้นที่กรุงเทพมหานครรวม 50 แห่ง โดยในพื้นที่เขตพระนครมี 17 แห่ง ส่วนที่เหลืออีก 33 แห่งกระจายอยู่ในพื้นที่อื่น ทั้งนี้ เมื่อยื่นขอใบอนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบอุปกรณ์ตามหลักสุขอนามัย ขณะที่ผู้ประกอบการต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามมาตรา 32 (2) พ.ร.บ.สาธารณสุข ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีใบรองรับแพทย์ ผ่านการคัดกรองสุขภาพ และไม่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เพราะหากดำเนินการไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดความเสี่ยง ขณะที่ข้อแนะนำต่อผู้ใช้บริการนั้นต้องระมัดระวัง ขอตรวจสอบใบอนุญาตประกอบกิจการตามร้านสัก สังเกตความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ 
    "ผมได้กำชับให้ 50 เขตเร่งสำรวจตรวจสอบร้านสักลายที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ หากพบต้องให้หยุดกิจการทันที พร้อมกำหนดให้มีการยื่นขอใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน ส่วนร้านสักลายที่ตั้งริมทางเท้า หรือมีลักษณะเป็นแผงจรนั้น สามารถใช้ทั้งกฎหมายสาธารณสุข และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ดำเนินการ ส่วนการสักตามสำนักสงฆ์หรือวัด มอบหมายให้ทางสำนักอนามัยประสานกับกระทรวงสาธารณสุขเข้าไปพูดคุย เร่งทำความเข้าใจได้ทันที" 
    นายทวีศักดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันอาชีพช่างสักยังไม่มีกฎหมายควบคุมที่ชัดเจน ดังนั้น ผู้ประกอบการบางรายจึงต้องการให้มีการจดทะเบียนวิชาชีพด้านการสักลายถูกต้องตามกฎหมาย โดย กทม.จะรับเรื่องดังกล่าวนำไปพิจารณา นอกจากนี้ กทม.ยังได้ร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันผ่านความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครแล้ว อยู่ระหว่างแก้ไขบางประเด็น คาดว่าภายในปี 2561 จะสามารถประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"