สิ้น'แมนรัตน์' ศิลปินแห่งชาติ


เพิ่มเพื่อน    

    บุคคลสำคัญด้านการดนตรี "แมนรัตน์ ศรีกรานนท์" ศิลปินแห่งชาติ สมาชิกวง อ.ส.วันศุกร์ ผู้ถวายงานใกล้ชิดในหลวงรัชกาลที่ 9 และนำหลักสูตรการเรียบเรียงเสียงประสานมาเปิดสอนในไทยเป็นคนแรก เสียชีวิตในวัย 90 ปีเมื่อวันพุธที่ผ่านมา    
    เมื่อวันที่ 5 กันยายนนี้ นางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากครอบครัวเรืออากาศตรีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ปี 2535 ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 5 กันยายน 61 ณ บ้านเลขที่ 51 ถนนลาดพร้าว เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 90 ปี ทั้งนี้ ทางครอบครัวกำหนดตั้งศพสวดอธิษฐาน ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน เวลา 19.00 น. ณ โบสถ์วัดพระมหาไถ่ ซอยร่วมฤดี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ และจัดพิธีฝังส่งวิญญาณ ในวันที่ 11 กันยายน 2561 ณ สุสานศานติคาม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในส่วนของ สวธ.ได้มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพจำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท
    สำหรับประวัติของ ร.ต.ศ.พิเศษ ดร.แมนรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2471 ชื่อเดิม เรมอนด์ ซีเกรา (Reimondo Amato de Sequeira) เป็นนักดนตรีลูกครึ่งชาวไทย-โปรตุเกส เป็นสมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ได้รับพระราชทานนามเป็นภาษาไทยจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ว่า "แมนรัตน์ ศรีกรานนท์" ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ ส่งไปเรียนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานที่โรงเรียนการดนตรีเบิร์กลีย์ (Berkley School of Music) เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันคือ วิทยาลัยดนตรีเบิร์กลีย์-Berkley College of Music) 
    ศ.พิเศษแมนรัตน์ ถือเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญชั้นสูงด้านดนตรีสากล โดยเฉพาะเปียโน ได้แสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงเป็นที่ปรากฏยกย่องของบุคคลทั่วไป  
    ขณะที่ผลงานประพันธ์เพลงนั้นมีกว่า 100 เพลง เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ รักเอย ชั่วฟ้าดินสลาย จับปูดำขยำปูนา รักลวง จากยอดดอย ฯลฯ เป็นศิลปินคนแรกที่นำหลักสูตรการเรียบเรียงเสียงประสานเข้ามาเปิดสอนในประเทศไทย นักเรียบเรียงเสียงประสานปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์ที่เคยศึกษากับท่านมาก่อน และท่านยังอุทิศเวลาทั้งหมดเพื่อวงการดนตรีสากลของไทย โดยการเขียนตำราการเรียบเรียงเสียงประสาน เป็นกรรมการและที่ปรึกษาเพื่อประโยชน์ต่อวงการดนตรีมากหลายคณะ และช่วยเหลือสังคมโดยเฉพาะด้านวิชาการ การเรียน การสอน โดยได้สร้างสรรค์งานเป็นผู้ให้ความรู้ต่างๆ ให้กับทุกสถาบัน ทุกหน่วยงาน จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ปี 2535.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"