4 ก.ย.61- ที่กระทรวงสาธารณสุข ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มอบหมายให้ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดสธ. และ นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะว่าที่ปลัด สธ. คนใหม่ พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ให้หารือร่วมกันกับวิชาชีพเภสัชกรจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ....
นพ.เจษฎา กล่าวภายหลังการประชุมหารือว่า ในการหารือเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ยา ในประเด็นที่มีความเห็นไม่ตรงกันในวันนี้เป็นไปด้วยดี ซึ่งมีไม่กี่ประเด็น คือ มาตรา 22 (5) เรื่องการจ่ายยาของวิชาชีพอื่นๆนั้นที่ยังเป็นกังวลและมีข้อห่วงใย ซึ่งก็ให้ใช้มาตรานี้ อิงของเดิมใน พ.ร.บ.2510 ส่วนประเด็นอื่นๆคือ ต้องการให้แบ่งประเภทกลุ่มยาเหลือ 3 กลุ่ม ตามหลักสากล ซึ่งข้อเสนอที่เสนอเข้ามาตนจะจะได้มีการนำเรื่องเข้าหารือกับคณะกรรมการยกร่างฯ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หากคณะกรรมการร่างเห็นชอบตามข้อเสนอก็คงไม่ต้องกลับมาคุยกันอีก
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ที่มีความเห็นไม่ตรงกัน มี 2 ประเด็นหลักๆ ส่วนประเด็นอื่นก็มี เช่น ข้อเสนอให้การโฆษณายาเป็นแบบขออนุญาตเท่านั้น ไม่ใช่แค่จดแจ้ง ซึ่งไม่เป็นปัญหา หากทำความเข้าใจกันแล้วก็สามารถตัดออกได้ ซึ่งเมื่อมีการทำความเข้าใจกันก็เหลืออยู่ 2 ประเด็น ซึ่งการแบ่งกลุ่มประเภทยา กลุ่มเภสัชเสนอให้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งมีประเด็นร้านขายยาบรรจุเสร็จ ต้องไปเขียนให้ชัดว่าเป็นยาประเภทใด และไม่ต้องมีใบสั่งยา ซึ่งต้องไปเขียนเพิ่มเติมในบทเฉพาะกาล ซึ่งยาสามัญประจำบ้านเสนอให้เหมือนของเดิม คือมีรัฐมนตรีประกาศ ไม่ใช่ว่าอันไหนเข้าคุณสมบัติที่เขียนมาแล้วจะเข้าอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามในวันนี้ไม่ได้คุยในเรื่องกรอบ แต่ในขั้นตอนยังเหลืออีกหลายขั้นตอนหลังจากผ่านร่าง หาก รมว.สธ.เห็นชอบ ก็จะเสนอ ครม.ก็ต้องไปผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งผ่านกฤษฎีกา ทั้งนี้ ในการหารือทั้งหมดจะมีการเสนอกับ รมว.สธ.ในวันที่ 5 ก.ย. นี้ เพื่อเสนอประกบเข้าในร่างที่เสนอ ครม.ไปแล้ว ซึ่งระหว่างนี้ก็จะมีการรับฟังความคิดเห็นเรื่อยๆอย่างไรก็ตามต้องมีการคุยกันกับวิชาชีพอื่นๆเพราะก็มีความเห็นของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งยังไม่มีการกำหนดว่าจะเป็นวิชาชีพใดต่อไป และเมื่อไหร่ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ยายังคงเดินหน้าต่อไป ซึ่งเมื่อการหารือยังมีข้อห่วงใยในมาตรา 22 (5) ก็ให้กลับไปใช้กฏหมายเดิมไปก่อน
ภก.จิระ วิภาสวงศ์ ประธานชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในการรับฟังวันนี้ก็พอใจในระดับหนึ่ง ซึ่งอยากเห็นสิ่งใหม่ที่มีความก้าวหน้าทัดเทียมสากล ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปว่า จะเป็นไปตามนั้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทางเภสัชกรไม่ได้คัดค้านการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ยา ทั้งฉบับ ก็มีบางประเด็นที่ต้องปรับแก้ให้เหมาะสมจริงๆ โดยในมาตรา 22(5) เมื่อยังมีปัญหาก็ได้ข้อสรุปว่า ให้กลับไปใช้อย่างเดิม คือ ให้ 3วิชาชีพจ่ายยาได้ มีแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ ส่วนวิชาชีพอื่นๆไม่ต้องมีพ่วงท้ายเพื่อไปใส่ไว้ในกฎกระทรวงอีก ก็คือให้กลับไปใช้กฎหมายเดิมในมาตรานี้ ส่วนเภสัชกรก็มีกฎระเบียบควบคุมอยู่แล้วว่า ต้องอยู่ประจำร้านขายยา ซึ่งก็เป็นไปตามรูปแบบเดิม
“สำหรับเรื่องการแบ่งประเภทยานั้น ในกฎหมายฉบับใหม่ระบุไว้ 4 ประเภท แต่ตามหลักสากลระบุไว้ 3 ประเภท คือ 1.ยาควบคุมพิเศษ 2.ยาอันตราย และ3.ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่ง หรือยาสามัญประจำบ้าน เราค้านตรงยากลุ่มที่ 4 คือ ยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ ตรงนี้ยังสงสัยกันว่าจัดเป็นยากกลุ่มไหน หรือเป็นกลุ่มขย.2 ที่เป็นยาบรรจุเสร็จหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันจำกัดการขายอยู่ 2,800 ร้าน ตรงนี้อยากให้เขียนให้ชัดว่า คืออะไร และจำเป็นต้องมีหรือไม่” ภก.จิระ กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |