4 ก.ย.61- พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม. ว่า ที่ประชุม ให้ความเห็นชอบกับ ร่างพ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น และร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา เสนอ ซึ่งเป็นร่างพ.ร.บ. ที่เป็น กฎหมายกลาง เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น 1 ฉบับ ส่วนอีก 5 ฉบับเป็นพ.ร.บ.ที่ลงรายละเอียดการเลือกตั้งในแต่ละระดับ อาทิ สภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) 1 ฉบับ เทศบาล 1 ฉบับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 ฉบับ กรุงเทพมหานคร 1 ฉบับ และเมืองพัทยา 1 ฉบับ โดยสาระสำคัญของกฎหมายทั้ง 6 ฉบับ สืบเนื่องมาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 252 กำหนดว่า ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ในกรณี ที่เป็นอปท.รูปแบบพิเศษ จะมาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคำนึกงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วย
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่าต่อ ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ ได้แก่
1.ตามกฎหมายเดิม การจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น อปท.จะเป็นผู้ดำเนินการ แต่กฎหมายฉบับใหม่ระบุให้ กกต. เป็นผู้รับผิดชอบ แต่สามารถมอบให้ อปท.หรือกระทรวงมหาดไทย(มท.) เป็นผู้จัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นได้
2.ในกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในส่วนของ สมาชิกสภาเขต(ส.ข.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายความว่า ยังคงมีส.ข.อยู่เช่นเดิม เพียงแต่ว่า ในเวลานี้ ส.ข.ทุกเขต หมดวาระทั้งหมดแล้ว แต่ยังไม่มีการอนุญาตให้มีการเลือกตั้ง โดยต้องรอการตัดสินใจจาก มท. อีกครั้งว่าจะยังให้มี ส.ข.อยู่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการร่างกฎหมายต่อกรณีดังกล่าว ในวันข้างหน้าต่อไป
3.กฎหมายฉบับนี้กล่าวระบุว่า การได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ต้องได้รับคะแนนเสียง มากกว่า คะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด
4.กกต.สามารถตรวจสอบการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรมในเชิงรุก โดยมีสิทธิในการตรวจสอบเมื่อได้รับข้อมูล ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะมีการทุจริตเกิดขึ้น โดยไม่ต้องรอให้มีคนมาร้องเรียน จากเดิมที่ต้องรอให้มีผู้มาร้องเรียนก่อน
5.มีการแก้คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กรณีที่มีผลประโยชน์ ยึดโยง หรือมีชนักติดหลัง โดยมีการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการทุจริตในส่วนนี้ได้ โดยยังคงมีวาระ 4 ปีเช่นเดิม นอกจากนี้ยังกำหนดหน้าที่ของอปท.แต่ละแห่งเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม้ให้ขัดกับกฎหมายของหน่วยงานอื่น จากเดิมที่มีบางข้อกฎหมายที่ยังไม่ลงตัวระหว่าง อปท.และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) พร้อมให้อำนาจ อปท.ในการดูแลจัดการจราจร โดยต้องจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่โรงพัก และสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ โดยเราจะกำหนดหน้าที่ของอปท. ให้สามารถจ่ายงบประมาณสำหรับดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ต้องเป็นรายการที่ มท.ได้ออกระเบียบไว้แล้ว เท่านั้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |