เภสัชฯจุฬาฯเสนอ5ข้อชะลอพรบ.ยาใหม่ แนะควรหารือทุกฝ่าย


เพิ่มเพื่อน    

 

 

4ก.ย.61-เภสัชฯจุฬาฯแถลงการณ์แสดงจุดยืน 5 ประเด็น ขอให้ชะลอการเสนอร่างต่อ รมว.สธ. ครม.และ สนช. จัดประชุมหารือประเด็นปัญหากับฝ่ายที่ค้าน ฟังควมเห็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชฯ  และร่างพ.ร.บ.ยาใหม่ ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นสากล ด้านอย.ระบุกม.ยาใหม่ แก้ไขให้ ร้านขายยาต้องมีเภสัชตลอดเวลา 

เมื่อวันนี้ 3 ก.ย.ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานเสวนา เรื่อง"ถาม-ตอบไขประเด็นดราม่าร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ เพื่อสนับสนุนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ปกป้องคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้ยา" โดยผศ.ดร.ภญ.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์  คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวแถลงการณ์เครือข่ายคณาจารย์นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์ ว่า ขณะนี้มีความเห็นไม่ตรงกันใน พ.ร.บ.ฉบับร่าง เครือข่ายฯมีมติแสดงจุดยืนต่อร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ....ฉบับใหม่ แทนพ.ร.ย.ยา พ.ศ.2510 ใน 5 ประเด็นเพื่อให้เป็นประโยชน์ที่สุด คือ 1.ขอให้ชะลอการนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เสนอต่อศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข ที่ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)2.ขอให้รมว.สธ.จัดให้มีการประชุมหารือกับผู้ที่คัดค้านเพื่อปรับแก้ไขในประเด็นที่เป็นปัญหา3.ขอให้มีการปรึกษาหารือระหว่างสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ เครือข่ายวิชาชีพ ประชาชน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข 4.สธ.ต้องเร่งดำเนินการก่อนการคัดค้านจะขยายตัวไปเป็นการประท้วง และ5.การร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ต้องอยู่บนหลักวิชาการความสอดคล้องระหว่างสากลและสถานการณ์สังคมโดยต้องไม่ปิดกันการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าประเด็นที่ทางคณะเภสัชฯ กังวลคือประเด็นใด ผศ.ดร.ภญ.รุ่งเพ็ชร กล่าวว่า หลักๆมี2ประเด็นได้แก่ 1.การแบ่งกลุ่มยา เพราะว่ากลุ่มยาบางอย่างยังไม่มีความชัดเจนแต่ยังไม่อยากลงลึกในรายละเอียดเพราะมีเรื่องปรุงยาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยและเพื่อไม่ให้เกิดความคัดแย้ง และ2.การอนุญาตให้วิชาชีพอื่นมีบทบาทในการจ่ายยา เพราะจริงๆแล้วเรื่องการจ่ายยาควรเป็นหน้าที่ของเภสัชกร ซึ่งขณะนี้ทางเครือข่ายฯ ซึ่งร่วมกับเครือข่ายคณะเภสัชศาสตร์ 19 สถาบันเตรียมจัดทำเวทีเพื่อทำความเข้าใจทุกประเด็นให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งบทบาทของเภสัชเพื่อต้องการเสนอให้ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่มีทางออกกับทุกฝ่ายเพื่อความปลอดภัยของประชาชน เพราะรายละเอียดที่ยังไม่ตรงกัน อยู่ที่การตีความ นักวิชาการจึงต้องช่วยกันดูว่าจะแก้อย่างไร แต่ยังไม่กำหนดวันที่ชัดเจน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าต้องตัดออกทั้งร่างพ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่เลยหรือไม่ ผศ.ดร.ภญ.รุ่งเพ็ชร กล่าวว่า ไม่ขอลงรายละเอียด เพราะเป็นประเด็นทางกฎหมาย.  

ด้านสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา( อย.)มีความเคลื่อนไหวเช่นกัน  นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการอย.  กล่าวว่า ขณะนี้ อย.  ได้สรุป ข้อดีของร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ.. ที่มุ่งเน้นคุ้มครองประชาชน จำนวน 10 ข้อ คือ 1.กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายแห่งชาติด้านยา และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ทำให้เกิดความมั่นด้านยาของประเทศ 2.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายาอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดนวัตกรรมด้านยา 3.สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศ  สามารถลดการนำเข้ายา ทำให้ยามีราคาถูกลง  4.ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้อย่างทั่วถึง  5. กำหนดให้ร้านยาต้องมีเภสัชกรตลอดเวลาทำการ 6.สามารถตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข อย่างเข้มงวดและมีบทกำหนดโทษที่ชัดเจน 7.มีการกำหนดโทษทางปกครอง  8.เพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดให้มีการต่อทะเบียนยาทุก 7 ปี  9.เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพิจารณาอนุญาตด้านยาให้คล่องตัวและรวดเร็ว และ10. มีการกำหนดประเภทวัตถุดิบที่ใช้ผลิตยาที่ทันสมัย  เช่นเภสัชชีววัตถุ และเภสัชสมุนไพร เพิ่มเติมจากเดิม 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อที่กำหนดให้เภสัชกรอยู่ประจำร้านตลอดเวลาทำการ แตกต่างจากเดิมอย่างไร นพ.สุรโชค กล่าวว่า มีความแตกต่างแตกต่าง จากของเดิมที่กำหนดว่า 1 ร้าน 1 ชื่อเภสัชกร ทำให้ความเป็นจริงเภสัชกรไม่สามารถอยู่ได้ตลอดเวลาทำการทุกวัน และหลายร้านก็ใช้วิธีจ้างคนมาอยู่ที่ไม่ใช่เภสัชกร  แต่ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้จะระบุไว้ว่า ไม่ว่าจะวันไหนต้องมีเภสัชกร และให้สามารถจ้างเภสัชกรมาประจำร้านได้ ซึ่งก็จะมีในกฎกระทรวงด้วย โดยขอย้ำว่าการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ยา นี้มุ่งเน้นเพื่อประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"