3 ก.ย.61- ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกรโฟเซต ในพืชผักสวนครัว-สมุนไพร แต่ยังอนุญาตให้ใช้ได้ในพืชเศรษฐกิจ และห้ามใช้ในพื้นที่ใกล้ต้นน้ำ ว่า จริงๆทางกฎหมายคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีสิทธิ์ในการพิจารณาแต่การที่ออกมติออกมาเช่นนั้นไม่เพียงพอในการคุ้มครองสุขภาพ สะท้อนให้เห็นความหละหลวมของไทยในการแต่งตั้งคณะการวัตถุอันตรายให้พิจารณาเรื่องดังกล่าว และบอกว่ากระทรวงสาธารณสุขไม่มีสิทธิ์ตัดสิน เพราะการห้ามใช้ในพืชผักสวนครัว-สมุนไพร ที่ปลูกกันในบ้านเรือน แต่อนุญาตให้ใช้ในพืชเศรษฐกิจที่มีไร่อยู่รอบๆชุมชน เช่นไร่อ้อย ทำให้สารเคมียังสามารถไหลผ่านดินเข้าไปในพื้นที่เล็กๆได้ ส่งผลให้รอบๆบ้านรายล้อมไปด้วยสารเคมีเช่นเดิม และการห้ามใช้ในพื้นที่ใกล้ต้นน้ำก็เช่นเดียวกัน สารเคมีที่ใช้ในไร่ ก็สามารถซึมเข้าไปในแหล่งน้ำได้ ซึ่งก็จะส่งผลให้น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำที่ใช้ในการเกษตรเต็มไปด้วยสารเคมี อีกทั้งการอนุญาตให้ใช้ในในพืชเศรษฐกิจ ซึ่งมีการส่งออกทั่วประเทศก็จะทำให้สินค้าส่งออกมีการปนเปื้อนด้วยสารเคมี จึงไม่ทราบว่ามติดังกล่าวออกมาทำไม มีความหมกเม็ดเพื่อทำให้คนเข้าใจว่าได้พยายามแก้ไขปัญหาแล้วซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา
“อีกเรื่องที่น่ากังวลคือการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด โดยสัตว์เหล่านั้นส่วนหนึ่งเพื่อนำมาเป็นอาหารมนุษย์ ก็ไม่แน่ใจว่ามีการปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด สิ่งต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนในความพยายามยืดเยื้อการพิจารณา จากคนที่มีการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงอยากให้มีการตรวจสอบคณะกรรมการวัตถุอันตรายและนักวิชาการที่หนุนให้มีการใช้ต่อทั้งหมด ซึ่งจริงๆคนไทยต้องเป็นผู้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อล้มคณะกรรมการชุดนี้ เพราะหากไม่ทำอะไรคณะกรรมการชุดนี้ก็ยังจะลอยหน้าลอยตาเช่นนี้ ทั้งนี้ สื่อมวลชนมีส่วนสำคัญมากในการเปิดเผยความจริงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ประชาชนทราบความจริงและเห็นถึงความเชื่อมโยงต่างๆ”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว.
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีภาคประชาชนเตรียมเอกสารรวบรวมรายชื่อเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมี เพื่อฟ้องร้องคณะกรรมการวัตถุอันราย ว่า หลังจากนักวิชาการมีการยื่นหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่เป็นกลาง ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ภาคประชาชนก็มีการติดตามผล และมีการหารือกันว่าจะรอผลการแต่งตั้งดังกล่าวก่อนจะมีการฟ้องร้องหรือไม่ ซึ่งหากมีการแต่งตั้งอนุกรรมการก็อาจจะมีการเดินหน้าฟ้องร้องต่อไปทันที แต่หากผลออกมาว่าไม่มีการแต่งตั้ง ก็อาจจะมีการชะลอการฟ้องร้องไปก่อน เพราะเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มแก้ไขได้จากการที่มีคณะกรรมการดังกล่าว ซึ่งมีนักวิชาการอิสระอยู่ในคณะกรรมการด้วย
“การที่เชื่อมั่นว่าปัญหามีแนวโน้มแก้ไขได้ ไม่ใช่เพียงแค่มีคณะกรรมการฯ แต่มาจากการกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายทาง ทั้งนายกฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ต่างก็รับทราบและเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหา และทาง นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ประกาศชัดว่าต้องยกเลิกสารเคมี 3 ชนิดให้ได้ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาศึกษาเรื่องสารพิษ โดยการหาข้อมูลอย่างรอบด้านครบถ้วน ภายใน 30 วัน อีกทั้งมีกระแสต่อต้านจากภาคประชาชนที่มีการตื่นตัวกันมากขึ้น ซึ่งต่างๆเหล่านี้เชื่อว่าจะทำให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีฯ หาทางออกแทนที่จะยื้อเวลาออกไป” นายวิฑูรย์ กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |