โลจิสติกส์ แข่งเดือด


เพิ่มเพื่อน    

    อานิสงส์การเติบโตของอี-คอมเมิร์ส ซึ่งส่งผลทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลประโยชน์ตามไปด้วย โดยเฉพาะธุรกิจขนส่ง หรือเรียกรวมๆ ว่าโลจิสติกส์ ที่ตอนนี้นับว่าร้อนแรงที่สุด
    จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า แนวโน้มธุรกิจอี-คอมเมิร์ซมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากแบบก้าวกระโดด และแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.86% จากปีก่อนหน้า แยกเป็นอี-คอมเมิร์ซประเภท B2B (ธุรกิจสู่ธุรกิจ) มูลค่า 1.675 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.63% ประเภท B2C (ธุรกิจสู่ผู้บริโภค)  มูลค่า 8.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.54% และอี-คอมเมิร์ซ ประเภทอื่นๆ 3.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.24% และการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ ส่งผลให้ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ขยายตัวตามไปด้วย และมีมูลค่ากว่า 2.8 หมื่นล้านบาท เติบโต 10-20% ต่อปี ดังนั้น ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันที่มากขึ้นจากทั้งผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ
    จะเห็นได้ว่าเม็ดเงินในธุรกิจโลจิสติกส์นั้นพุ่งอย่างก้าวกระโดด มีการเติบโตเฉลี่ยถึง 20% นับมาร้องแรงมาก ก็ไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่ เพราะในเวลานี้พฤติกรรมนักช็อปมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ตอนนี้ทุกคนชอบในความสะดวกสบายในการสั่งซื้อสินค้าจากที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ จึงส่งผลให้ปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จึงไม่แปลกใจที่ในปัจจุบัน ในธุรกิจขนส่งจะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดค่อนข้างมาก 
    ตอนนี้เราจึงเห็นการแข่งขันของธุรกิจโลจิกติกส์ดุเดือดมาก โดยเฉพาะการการันตีเรื่องความเร็ว และการเสริมทัพบริการอื่น โดยบริษัทที่มาแรงมากอย่างเคอรี่ โดยอเล็กซ์ อึ้ง ผู้อำนวยการบริหารสายงานธุรกิจรับ-ส่งพัสดุ เคอรี่ โลจิสติกส์กรุ๊ป ก็มองว่าการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์คาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องได้อีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งผู้ที่ชนะในเกม จะต้องปรับตัวให้สามารถดึงดูดลูกค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วน Kerry คาดว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเห็นจุดให้บริการรับส่งพัสดุบนสถานี BTS มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มลูกค้าที่พักอาศัยในเมือง และคอนโดมิเนียม รวมถึงบริษัทมีแผนจะขยายการให้บริการเก็บเงินแบบ e-Payment ซึ่งจะต่อยอดกับธุรกิจได้
    ด้าน รัสเซล รี้ด กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทย ยักษ์ใหญ่ของธุรกิจขนส่ง ก็ปรับตัวรับการแข่งขัน ด้วยการแผนขยายเวลาเข้ารับพัสดุเพิ่มสูงสุดถึง 7 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีเวลามากขึ้นในการจัดเตรียมสินค้าตามคำสั่งซื้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องแข่งกับเวลา
    ขณะที่เจ้าตลาดอย่างไปรษณีย์ไทยก็ไม่อยู่เฉย ล่าสุด นางสมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ก็เตรียมทุ่มเงินกว่า 7,000 ล้านบาท อย่างระบบเก็บเงินปลายทาง หรือ พัฒนาแอปพลิเคชัน Promptpost ที่ให้กับลูกค้ารายใหญ่หรือแม่ค้าพ่อค้าสามารถสั่งส่งของออนไลน์ล่วงหน้า เพื่อไม่ต้องรอคิว หรือบริการกล่องเหมาจ่าย รวมถึงจะรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนธนาคารในการทำธุรกรรมการเงิน ฝากถอน ล่าสุดก็เพิ่งตกลงเซ็นสัญญากับธนาคารกสิกรไทยในการเป็นแบงกิ้งเอเยนต์ได้
    และล่าสุดทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ซึ่งก่อนหน้านี้ เน้นธุรกิจเดินทางขนส่งคน แต่ตอนนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจใหม่ หลังคนใช้บริการลดลง ก็หันมาทำธุรกิจขนส่งสินค้าด้วยเช่นกัน จึงได้เปิดศูนย์รับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ส่งของทั่วไทยรับได้ในวันเดียว (One Day One Night) สาขาที่ 5 จังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้น จากเดิมที่สาขาในภูมิภาค 4 จังหวัด สาขาที่ 1 จ.เชียงราย สาขาที่ 2 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สาขาที่ 3 จ.เชียงใหม่ และสาขาที่ 4 จ.นครพนม และเร็วๆ นี้จะเพิ่มสาขาศูนย์รับ-ส่งพัสดุภัณฑ์สถานีเดินรถจังหวัดอุบลราชธานี เป็นสาขาที่ 6 ด้วย ส่วนสาขาในกรุงเทพฯ มีจำนวน 3 แห่ง คือ  สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2, ถนนบรมราชชนนี (สายใต้), สถานีเดินรถรังสิต 
    เรียกได้ว่าการแข่งขันรุนแรงมาก รายใหญ่อย่างไปรษณีย์ก็ถูกเอกชนเก่งๆ เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปค่อนข้างมาก  จากนี้คงต้องมาดูแต่ละบริษัทแล้วว่า จะปรับตัวรับการแข่งขันอย่างไรถึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนี้.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"