ตร.โชว์ผลงาน2ปีจับเรือประมงเถื่อน-ค้ามนุษย์กว่า4พันคดี


เพิ่มเพื่อน    

24 ม.ค.61 -  ที่สำนักงานตำรวแห่งชาติ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)และโฆษก ตร. พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บัญชาการกฎหมายและคดี (ผบช.กมค.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานปราบปรามประมงและการค้ามนุษย์ประมงผิดกฎหมาย ร่วมกันแถลงสรุปผลการจับกุมประมงผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ระหว่างวันที่ 5 พ.ค.58 - 18 ม.ค.61   

พล.ต.ท.จารุวัฒน์  กล่าวว่าตั้งแต่ประไทยได้ใบเหลืองเมื่อปี 58 เจ้าหน้าที่ได้ออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการประมงที่ไม่มีการจัดระเบียบมานานนำมาสู่การจับกุม ตั้งแต่วันที่  5 พ.ค.58 - 18 ม.ค.61 สามารถจับกุมเรือประมงที่ผิดกฎหมายทั้งหมด 4,243 ราย แยกออกเป็นความผิดเรือประทงนอกน่านน้ำ79 ราย เรือประมงไทยในน่านน้ำและเรือต่างชาติ 1,052 ราย เรือที่ไม่ติดตั้งระบบ VMS 2,020 ราย  เรือไม่แจ้งจุดจอดภายในกำหนด 171 ราย สถานแปรรูปสัตว์น้ำทำผิดกฎหมาย 68 ราย ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/60 จำนวน 719 ราย

พล.ต.ท.จารุวัฒน์  กล่าวว่าการดำเนินคดีทั้งหมดอยู่ในชั้น พนักงานสอบสวน 46 คดี ชั้นอัยการ 224 คดี ออกหมายจับและรอส่งตัว 144 คดี ระหว่างรอพิจารณาของศาล 148 คดี พิพากษาชั้นต้นแล้ว 124 คดี อุทธรณ์/ฏีกา 28 คดี คดีถึงที่สุดแล้ว 3,529 คดี ความสำเร็จของคดีทั้งหมดคิดเป็น 83 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกันนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้บูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ประมง พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ จัดฝึกอบรมเพราะกฎหมายประมงเป็นเรื่องใหม่ มีเว็บไซค์รายงานผลการจับกุม รายงานความคืบหน้าของคดีให้เป็นรูปธรรม ทำให้ผลการจับกุมเพิ่มขึ้น

"เรื่องนี้เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เราไม่ได้ตั้งใจจะเอาใบเหลืองใบแดง แต่เป็นการตั้งใจเพื่อให้เกิดคามถูกต้อง ทำงานร่วมกับอียูพัฒนาระบบประมง ผลการจับกุมของไทยมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน ยึดเรือได้ 9,000 กว่าลำเพื่อจะเอาออกจากระบบ"

ส่วนคดีค้ามนุษย์ในภาคประมงที่จับได้ 85 ราย เจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือเหยื่อได้ 160 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า กัมพูชาและอินโดนีเซีย เรือประมงที่อ้างสัญชาติอื่น 10  ราย ไม่เฉพาะการค้ามนุษย์ในเรือ ลักษณะของเหยื่อที่ถูกกระทำคือ ถูกหลอกมาทำโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ทะเลบนฝั่ง กลางคืนบอกให้ไปนอนบนเรือรู้ตัวอีกทีพบว่าเรืออกฝั่งไปแล้ว เป็นสภาพจำยอมถูกใช้แรงงาน บางครั้งหลอกมาทำงานลงเรือวันละ 8 ชม.แต่ถูกบังคับให้ทำงานกว่า 20 ชม.ถือเป็นการมนุษย์บนเรือประมง นอกจากนี้เมื่อขึ้นบกมาจะมีเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพไปสอบถามเมื่อพบว่าเข้าค่ายค้ามนุษย์เจ้าหน้าที่ก็จะเข้าดำเนินการทันที

“อียูจัดลำดับการประมง 3 ระดับ คือ เขียว เหลือง แดง ปัจจุบันไทยอยู่สีเหลืองคือปฏิบัติให้ถูกต้อง ส่วนการประมงบ้านเราจะเลื่อนขึ้นเป็นใบเขียวหรือไม่เราไม่เน้น แต่ประเทศไทยมุ่งมั่นทำประมงแบบยั่งยืน ถ้าเขาเห็นว่าเราตั้งใจแก้ปัญหาจริงอาจจะเลื่อนเป็นไปเขียวก็ได้” ผบช.กมค.กล่าว   

พล.ต.อ.วิระชัย กล่าวเสริมว่าการทำเรือประมงผิดกฎหมายและค้ามนุษย์ในเรือประมง ผลเป็นที่ประจักษ์ผลชี้วัดคือ ปัจจุบันผู้ทำการค้ามนุษย์ในเรือประมงลดลงมาก การจับกุมแทบหาได้ยาก ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ประกอบการเรือประมงอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจถูกดำเนินคดีฐานความผิดค้ามนุษย์ได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จะจ้างคนลงไปทำงานเรือประมงไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างชาติให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ต้องแจ้งลักษณะงานเป็นอย่างไร เขียนบันทึกรับรู้ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เงื่อนไขข้อตอบแทนให้ชัดเจน คิดแบบบ้านๆง่ายๆเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้ อาจเข้าค่ายการค้ามนุษย์. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"