ศูนย์เฉพาะกิจฯ เล็งปรับลดการระบายน้ำเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ป้องผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ หลังอัตราการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาสูงกว่า 820 ลบ.ม./วินาที พร้อมเตือนพื้นที่จังหวัดชายขอบประเทศฝนซ้ำสัปดาห์หน้า คาดเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้น ล่าสุดวันนี้ 16 จว.ยังเสี่ยงภัยฝนตกหนัก
เมื่อวันที่ 2 ก.ย. นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ประจำวันที่ 2 ก.ย. 61 ว่า วันนี้ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 16 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ จ.เชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด โดย 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ จ.แพร่ 46.2 มม. ภาคกลาง จ.กรุงเทพมหานคร 50.5 มม. และภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี 44.5 มม. ยะลา 41.4 มม. นครศรีธรรมราช 35.5 มม. ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 3–7 ก.ย. 61 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
นายสำเริง กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันอัตราการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 820 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาด้านท้ายเขื่อนจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 30-50 ซม. ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้ประสานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณาปรับแผนลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ เพื่อป้องกันผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำให้เกิดน้อยที่สุด รวมไปถึงแจ้งจังหวัดและราษฎรให้ทราบแผนการระบายน้ำล่วงหน้า โดยขณะนี้พบว่ามีน้ำสูงกว่าตลิ่ง ที่ อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์ อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้มีหนังสือแจ้งจังหวัดเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่พื้นที่ 22 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อขอความร่วมมือชาวนาไม่ทำการเพาะปลูกข้าวต่อเนื่องหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว เนื่องจากเป็นช่วงฤดูน้ำหลากขณะที่สถานการณ์แม่น้ำโขงแนวโน้มน้ำสูงขึ้น โดยมีน้ำสูงกว่าตลิ่งที่ จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และต้องเฝ้าระวังบริเวณ จ.บึงกาฬ ต่อเนื่อง
นายสำเริง กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ศูนย์เฉพาะกิจฯ ยังเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 53,545 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 75 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,143 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 61 รับน้ำได้อีก 19,420 ล้าน ลบ. ม. อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนน้ำอูน 108% ลดลง 1% เขื่อนแก่งกระจาน 107% ลดลง 1% และขนาดกลาง 22 แห่ง ลดลง 11 แห่ง ซึ่งอยู่ใน ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออก 3 แห่ง ขณะที่อ่างเฝ้าระวังที่ความจุ 80-100% เป็นอ่างฯขนาดใหญ่ 5 แห่ง เขื่อนวชิราลงกรณ 94% เขื่อนศรีนครินทร์ 91% เขื่อนรัชชประภา 86% เขื่อนขุนด่านปราการชล 86% เขื่อนปราณบุรี 79% ขนาดกลาง 64 แห่ง เพิ่มขึ้น 9 แห่ง แยกเป็น ภาคเหนือ 8 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 36 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคกลาง 4 แห่ง และภาคใต้ 4 แห่ง สำหรับอ่างเฝ้าติดตามที่ความจุน้อยกว่า 30% เป็นขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนทับเสลา ขนาดกลาง 38 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 แห่ง ภาคตะวันออก 4 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคใต้ 5 แห่ง ต้องวางแผนเก็บกักน้ำและเติมน้ำโดยประสานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติการฝนหลวงต่อเนื่อง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |