2ก.ย.61- หลังเกิดปมดราม่าระดับชาติในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อชาวกัมพูชาไม่พอใจจากกรณีข่าว กระทรวงวัฒนธรรมขอไทย เสนอการแสดงโขน ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ ในปี 2561
โดยสังคมออนไลน์ของในพูชา ยืนกรานว่าการแสดงโขนเป็นการแสดงและวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา ไม่ใช่ของไทย ทั้งยังระบุว่า ประเทศไทยได้นำการแสดงโขนมาจากกัมพูชา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของกัมพูชาช่วงศตวรรษที่ 15-16 ซึ่ง โดยอ้างภาพถ่ายที่ถ่ายโดยชาวฝรั่งเศสประมาณ 300 ปีที่ผ่านมาเป็นหลักฐาน
จากกรณีนี้สื่อสังคมออนไลน์ในไทยแย้งว่า หลักฐานดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ ช่วง 300 ปีที่แล้วซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูป
ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Kittipong Apichatmaetee โพสต์ภาพและข้อความลงในกลุ่มสาธารณะ " ภาพเก่าในอดีต"
ว่าภาพถ่ายเจ้าปัญหาในวิวาทะเรื่องโขน โดยมีการอ้างถึงปีที่ถ่ายภาพเหล่านี้ คือ 1659 ซึ่งผู้อ้างเข้าใจผิดว่าเป็นปี ค.ศ. ที่ถ่ายภาพ หากลองบวกลบแปลงเป็น พ.ศ.จะเท่ากับ พ.ศ.2202 ซึ่งเป็นยุคสมัยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
ในตอนนั้นเทคโนโลยีการถ่ายภาพยังไม่เกิดขึ้น กว่าจะมีภาพถ่ายใบแรกเกิดขึ้นในโลก ก็เป็นปี พ.ศ.2369 (ค.ศ.1826) โดย Joseph Nicephore Niepce และอีก 13 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2382 (ค.ศ.1839) Jacques Daguerre จึงได้ประดิษฐ์วิธีการถ่ายภาพแบบ Dagurreotype (ดาแกโรไทป์) อันลือลั่นขึ้นมาได้สำเร็จ ทั้ง 2 เหตุการณ์นี้เกิดในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์
มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นไว้น่าสนใจว่า เลข 1659 น่าจะเป็นลำดับภาพ ไม่ใช่จะใช่ปีที่ถ่ายแต่อย่างใด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |