ระทึกนครพนม ‘น้ำโขง’หนุนสูง เฝ้าระวัง24ชม.


เพิ่มเพื่อน    

  อิทธิพลของพายุโซนร้อน “เบบินคา” ทำให้เกิดอุทกภัยใน 8 จังหวัด ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ  สกลนคร เพชรบุรี นครนายก ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ส่วนอีก 10 จังหวัดเริ่มคลี่คลายแล้ว จับตานครพนม เตือนภัยแม่โขงวิกฤติ หลังเขื่อนในลาวปล่อยน้ำ!

    นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า  อิทธิพลของพายุโซนร้อน “เบบินคา” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม-1 กันยายน 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน หนองคาย นครพนม บึงกาฬ เพชรบุรี สกลนคร ลพบุรี นครนายก ชัยภูมิ เพชรบุรี พิจิตร กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี รวม 93 อำเภอ 408 ตำบล 2,318 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 55,353 ครัวเรือน 162,711 คน ผู้เสียชีวิต 4 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ หนองคาย เชียงราย ลพบุรี และพิจิตร 
    อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 8 จังหวัด       รวม 34 อำเภอ 164 ตำบล 1,135 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,773 ครัวเรือน 78,334 คน ได้แก่ นครพนม น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม และอำเภอเมืองนครพนม รวม 55 ตำบล 517 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,500 ครัวเรือน 22,422 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว 
    บึงกาฬ น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด อำเภอศรีวิไล อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา และอำเภอพรเจริญ รวม 46 ตำบล 371 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,038 ครัวเรือน 29,439 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าเสียหาย 41,338 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 
    สกลนคร น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอพรรณานิคม และอำเภออากาศอำนวย รวม 9 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 144 ครัวเรือน 346 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 
    เพชรบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ            แก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอบ้านแหลม รวม 7 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 497 ครัวเรือน 2,048 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 
    นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ รวม 10 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,730 ครัวเรือน 17,498  คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง     ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ และอำเภอจัตุรัส รวม 5 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 343 ครัวเรือน 1,045 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 
    กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอฆ้องซัย รวม 18 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 961 ครัวเรือน 1,873 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขื่องใน อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอโขงเจียม รวม 14 ตำบล 72 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,560 ครัวเรือน 3,663 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
     นายชยพลกล่าวว่า ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว ท้ายนี้หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
    ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครพนมรายงานว่า ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา ระดับน้ำในแม่น้ำโขงพื้นที่นครพนมเพิ่งจะลดปริมาณลงยังไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่ปรากฏข่าวที่สถานีหลวงพระบาง สปป.ลาว ระดับน้ำโขงพุ่งพรวดถึง 1.50  เมตร ทำให้สถานีตรวจวัดจังหวัดหนองคาย มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 99 ซม. เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เมตร ทางจังหวัดนครพนมจึงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ฝน และการระบายน้ำจากเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะมีผลต่อการเพิ่มระดับน้ำในลำน้ำโขง คาดว่าอีกประมาณ 3 วัน มวลน้ำจะไหลมาถึงนครพนม 
    นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้สั่งประตูระบายน้ำให้เครื่องผลักดันน้ำ เร่งพร่องน้ำออกจากอ่างเป็นการด่วน เพื่อเตรียมรอรับน้ำที่จะไหลเข้ามาสมทบอีกระลอก
    ขณะที่ นายสินสมุทร หินเธาว์ หัวหน้าฝ่ายช่างกล รักษาการ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครพนม มีหนังสือที่ กษ 0316.10/508 ลงวันที่ 1 ก.ย.61 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วย อ้างถึงการคาดการณ์น้ำของแม่น้ำโขงจากเว็บไซต์ http://www.mrcmekong.org/ โดยคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดนครพนม จะสูงถึง 12.93 เมตร ในวันที่ 4 ก.ย. ที่จะถึงนี้ จึงขอแจ้งให้ประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่ริมตลิ่ง และพื้นที่ลุ่มของแม่น้ำโขง เขต อ.บ้านแพง, ท่าอุเทน, อำเภอเมืองฯ และธาตุพนม เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ที่จะไหลบ่าเข้าท่วมในพื้นที่ ขอให้ขนย้ายสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูงด่วน หากเป็นไปตามที่ mrc.คาดการณ์จริง ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงก็จะขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี ทุบสถิติข้อมูลปี 2548 ที่ระบุว่าเดือน ส.ค. มีปริมาณน้ำขึ้นถึง 12.88 เมตร
    รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า เขื่อนน้ำงึม 1 ประเทศลาว มีการระบายน้ำเพิ่มมาอีก ตั้งแต่บ่าย 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ปริมาณน้ำดังกล่าวจะไหลมาสมทบน้ำจากเขื่อนน้ำงึม 5 และเขื่อนน้ำงึม  2 ระบายลงแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดบึงกาฬจะได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะไหลมาที่จังหวัดนครพนมเป็นลำดับต่อไป
    ต่อมาโครงการชลประทานฯ ได้รายงานระดับน้ำในแม่น้ำโขงของสถานีตรวจวัดชุมชนหนองแสง เขตเทศบาลเมืองนครพนม เวลา 12.00 น. อยู่ที่ระดับ  12.68 เมตร โดยลดลงอีก 2 ซม. จากช่วงเช้าเวลา 09.00 น.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"