อย. แจกแจง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่  ประเด็น"ใครจ่ายยา"ได้ 


เพิ่มเพื่อน    


1ก.ย.61-นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนในสาระและบทบัญญัติของร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับนี้ในด้านการจ่ายยาและการขายยา อย.                   ขอชี้แจงว่า ตามมาตรา 22 (5) ของร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับนี้ ที่กล่าวว่า “การจ่ายยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้ว หรือการจ่ายยาที่การแบ่งจ่ายในกรณีซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ใช้ยาสำหรับรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตน หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์  ใช้สำหรับสัตว์ที่ตนป้องกันหรือบำบัดโรค หรือการจ่ายยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้ว  สำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายของตน โดยผู้ประกอบวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง”                      นั้นหมายถึง การยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตเป็นผู้ขายยา ในกรณีที่แพทย์ ทันตแพทย์ หรือสัตวแพทย์จ่ายยาให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายของตนในคลินิก   ซึ่งได้ทำการวินิจฉัยแล้วรักษาเท่านั้น และไม่หมายความถึงการขายยาในร้านยาแต่อย่างใด และท้ายบทบัญญัติได้กำหนดว่า 


“โดยผู้ประกอบวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง” นั้น เป็นการเปิดโอกาสไว้รองรับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ที่อาจสามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายของตนในคลินิกได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีการตั้งคณะกรรมการหารืออย่างรอบด้านระหว่างวิชาชีพที่เกี่ยวข้องแล้วจึงดำเนินการเสนอออกกฎกระทรวง และต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย


 ส่วนประเด็นการขายยาในร้านขายยานั้น ผู้รับอนุญาตและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการถูกแยกออกจากกัน คือ ผู้รับอนุญาตจะเป็นผู้ใดก็ได้ อาจเป็นบุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบวิชาชีพก็ได้ ส่วนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านขายยา ต้องเป็นเภสัชกรเท่านั้น ไม่ใช่ใครก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้ อย่างไรก็ตาม  ผู้รับอนุญาตและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการสามารถเป็นคนเดียวกันได้ นั้นคือ  กรณีที่เภสัชกรเป็นผู้รับอนุญาตด้วย ทั้งนี้ ผู้รับอนุญาตถูกกำหนดให้มีหน้าที่ต่างๆตามกฎหมาย รวมถึงการจัดหาสถานที่ที่เป็นสัดส่วน เหมาะสม ตามที่กฎหมายกำหนด และการจัดหาผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (เภสัชกร)   มาประจำร้านขายยาตลอดเวลาทำการด้วย 


ดังนั้น จึงขอทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า การจัดตั้งร้านยาไม่ใช่ว่าทำที่ใดก็ได้ และการขายยาจะต้องมีเภสัชกรเป็นผู้ปฏิบัติการตามช่วงเวลาที่ระบุ ยกเว้นไว้แต่เพียง ร้านขายยาประเภทขายยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2 ตามพ.ร.บ.เดิม) ที่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการอาจเป็นวิชาชีพอื่นหรือผู้ผ่านการอบรมจาก อย. แล้วเท่านั้น

ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ ยังคงมุ่งเน้นการคุ้มครองผู้บริโภค การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา และความมั่นคงด้านยาของประเทศเป็นหลัก และขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า การจ่ายยาโดยบุคลากรวิชาชีพ จะกระทำสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายของตนซึ่งได้ผ่านการวินิจฉัยและรักษาโดยบุคลากรเหล่านั้น ส่วนการขายยาในร้านขายยา จะกระทำสำหรับผู้มารับบริการที่ร้านยา โดยมีเภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้าย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"