ตะลึงข้าราชการ พนักงานบริษัท ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่มากกว่ากลุ่มชาวบ้าน


เพิ่มเพื่อน    

แชร์ลูกโซ่ยังระบาดหนัก หลังพบร้องเรียนผ่าน สพช. ทะลุ 200 ราย ตะลึง! กลุ่มมีการศึกษาดี ข้าราชการ พนักงานบริษัทสถิติถูกหลอกมากขึ้น เหตุถูกจูงใจจากผลตอบแทนที่สูงขึ้น คลังโร่ออกเตือนประชาชนเพิ่มความระมัดระวังลงทุนเป็นพิเศษ

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขอเตือนให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ เนื่องจากขณะนี้พบมีผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกไปลงทุนในลักษณะแชร์ลูกโซ่อยู่จำนวนมาก ดังนั้นจึงขอเตือนให้มีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัท และผู้ที่ชักชวนเข้ามาลงทุนกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจไปลงทุน

“แม้ที่ผ่านมากระทรวงการคลัง จะมีการเตือนและร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามแชร์ลูกโซ่อย่างเข้มข้น แต่ก็ยังพบว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพยังออกหลอกลวงประชาชนอยู่เยอะ ทั้งการชักชวนให้ไปลงทุนในหุ้น น้ำมัน ค่าเงิน สกุลเงินดิจิตอล หรือการลงทุนรูปแบบใหม่ ๆ อยู่ ซึ่งประชาชนหากพบว่า การลงทุนใดให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติขอให้มีการตรวจสอบให้ดีเสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวงได้” นายพรชัย กล่าว

รายงานข่าวจากสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า สถิติประชาชนเข้ามาร้องเรียนปัญหาแชร์ลูกโซ่ และอาชญากรทางการเงินกับ สพช.ในช่วง 7 เดือนปี 2561 (ม.ค .-ก.ค.) ยังคงมีจำนวนสูงมากกว่า 200 ครั้ง สร้างความเสียหายแก่ประชาชนหลายร้อยล้านบาท ทั้งนี้เมื่อมีการร้องเรียนแล้ว หากพบเป็นเรื่องที่มีกลุ่มผู้เสียหายหลายรายและมีความเสียหายจำนวนมาก สพช.จะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ทำการสอบสวนหาผู้กระทำผิดต่อไป แต่ถ้าเป็นการร้องเรียนผู้เสียหายไม่เยอะก็แนะนำให้แจ้งสถานีตำรวจในพื้นที่

ส่วนใหญ่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอก พบว่า เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาในระดับดี ข้าราชการ เป็นพนักงานบริษัทมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ส่วนใหญ่จะผู้ถูกหลอกจะเป็นกลุ่มชาวบ้านที่มีการแนะนำปากต่อปาก  เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพมีการจูงใจในการให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงจากการลงทุนในตลาดหุ้น สกุลเงินดิจิตอล มากกว่า 30-40% ทำให้ผู้ลงทุนเกิดความโลภจนหลงเชื่อลงทุน ที่สำคัญพบว่าวงเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกลวง ความเสียหายรุนแรงมากขึ้นจากเดิมมีการถูกหลอกกันหลักหมื่นถึงแสนบาท แต่ปัจจุบันความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นตั้งแต่รายละ 1 ล้านบาท หรือหลักสิบล้านบาทก็มี

สำหรับรูปแบบขอแชร์ลูกโซ่ จะเน้นการหาสมาชิกเพิ่ม เพื่อระดมทุนและการันตีผลตอบแทนสูงเกินจริง เช่น หากมีใครเสนอผลตอบแทน 20-30% ขอให้ระวังก่อนเลยว่าจะเป็นแชร์ลูกโซ่ ขณะที่ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน จะได้จากการหาสมาชิกรายใหม่เข้ามาลงทุน นอกจากนี้ การเข้ามาเป็นสมาชิกจะมีการจ่ายค่าแรกเข้าสูงซึ่งในช่วงแรกจะได้รับผลตอบแทนจริง เพราะจะนำเงินลงทุนจากสมาชิกรายใหม่ที่ได้มาหมุนเวียนและจ่ายให้แก่สมาชิกรายก่อน ๆ ซึ่งท้ายที่สุดจะเริ่มเลื่อนการจ่ายผลตอบแทน และหนีไปในที่สุด

อย่างไรก็ดี สพช.ยังร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการร่วมตรวจสอบคดีอาชญากรรมเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ที่ได้รับเรื่องจากตำรวจมากกว่า 60 คดี ซึ่งสพช.เข้าไปทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย รวมการตรวจสอบคำนวณผลประโยชน์ความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อใช้ประกอบสำนวนเป็นข้อยืนยันในการยื่นฟ้องดำเนินคดีแก่กลุ่มมิจฉาชีพในชั้นศาล เนื่องจากปกติศาลจะไม่อนุญาตให้ตำรวจเป็นคนตรวจสอบข้อกฎหมายเอง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"