31ส.ค.61-“หมอธี” เผย กรณีศาลปกครองสูงสุด พิพากษา ตั้งผู้เกษีนณอายุเป็นอธิการไม่ได้ ไม่ต้องมีเกณฑ์กลาง เหตุ คำสั่งศาลตัดสินชัด ส่วนกรณี สมาพันธ์สภาวิชาชีพ หารือ “หมออุดม” แล้ว มอบ สกอ. ทำหนังสือถึง คกก.กฤษฎีการ ถอนมาตรา เจ้าปัญหา ด้าน “บวรศักดิ์” เผย เดือนหน้า พิจารณาร่างพ.ร.บ.การอุดมฯ เตรียม เชิญ สมาพันธ์สภาวิชาชีพ เข้ามารับฟังความคิดเห็น แย้มสมาพันธ์สภาวิชาชีพเองก็ต้องอ่าน รธน. ใหม่อีกครั้งด้วย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) ได้เดินทางยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดำเนินการออกหนังสือเวียน รวมถึงออกประกาศ ศธ. เรื่อง การแต่งตั้งผู้เกษียณอายุราชการเป็นอธิการบดี เนื่องจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินแล้วว่าการแต่งตั้งผู้เกษียณอายุราชการเป็นอธิการบดีไม่สามารถทำได้ ว่า ตนได้มอบหมายให้ นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา (เลขาฯ กกอ.) เรียกประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยรัฐแล้ว เพื่อให้มีทางออกในเรื่องนี้ เพราะการแต่งตั้งอธิการบดีเป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ดังนั้นตนคิดว่าเรื่องดังกล่าวมีทางออกอย่างแน่นอน ทั้งนี้กรณีศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้เพิกถอนมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) กาญจนบุรี ที่แต่งตั้งนายปัญญา การพานิช เป็นรักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.กาญจนบุรี ก็ถือเป็นคำตัดสินที่ผูกพันเฉพาะ มรภ.กาญจนบุรีเท่านั้น ซึ่งการที่เรียกร้องให้มีเกณฑ์กลางออกมา เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยรัฐนั้น ขณะนี้ตนเห็นว่าไม่ต้องมีเกณฑ์กลางอะไรทั้งสิ้น เพราะคำสั่งศาลได้ตัดสินแล้วว่าห้ามแต่งตั้งอธิการบดีเกิน 60 ปี ซึ่งที่ผ่านมาอาจมีการตีความกันได้ว่าการสรรหาอธิการบดีให้เป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัยจึงตีความว่าได้ และเมื่อศาลตัดสินแล้วก็ต้องแต่งตั้งอธิการบดีห้ามเกิน 60 ปี
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือกับนพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เกี่ยวกับการกรณีที่สมาพันธ์สภาวิชาชีพ ยืนยันที่จะให้ถอดมาตราที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสภาวิชาชีพในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การอุดมศึกษา พ.ศ....แล้ว โดยได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทำเรื่องเพิกถอนมาตราดังกล่าว ซึ่งเท่าที่ทราบเป็นประเด็นที่ทางสภาวิชาชีพมีความห่วงใยบางมาตราที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน และตัวนักศึกษา คือ การให้สภาวิชาชีพมีส่วนในการเสนอความคิดเห็นประกอบการจัดทำมาตรฐานหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เพื่อกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของวิชาชีพนั้นได้ แต่มิให้มีอำนาจในการรับรองหรือกำหนดการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสภาวิชาชีพนั้น หรือสร้างภาระอื่นใดให้สถาบันอุดมศึกษา สภาวิชาชีพสามารถจัดการประเมินความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในการประกอบวิชาชีพนั้นแก่ผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพที่สภาวิชาชีพนั้นควบคุมอยู่ได้ ดังนั้นในประเด็นต่างๆ ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ทาง สกอ. จะเป็นผู้ดำเนินการเสนอเพิกถอน ส่วนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาจะเห็นด้วยที่ให้เพิกถอนหรือไม่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อตรวจพิจารณา เรื่อง การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ในส่วนของการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.... คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ และขั้นตอนต่อไปจะมีการนำร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.... เข้าสู่การพิจารณา และยังต้องมีการพิจารณากฎหมายอีก 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.... ด้วย สำหรับกรณีเรื่องการคัดค้านของสมาพันธ์สภาวิชาชีพ ทั้ง 11 แห่งนั้น คงจะต้องมีการเชิญเข้ามารับฟังความคิดเห็น ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษพร้อมที่จะรับฟัง แต่สมาพันธ์สภาวิชาชีพเองก็ต้องอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ใหม่อีกครั้งด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |