30ส.ค.61-ทปสท. วอน ศธ. ออกประกาศ และหลักเกณฑ์กลาง เรื่อง การแต่งตั้งอธิการบดีของมหา’ลัย ที่เป็นส่วนราชการ ปิดทางไม่ให้ผู้เกษียณอายุราชการมาเป็นอธิการบดีได้ หลังศาลปกครองสูงสุดตัดสินผิดกม. ด้าน สกอ. ชี้ มีหน้าที่เพียงตรวจสอบคุณสมบัติ เตรียม หารือ คณะอนุฯ ด้านกฎหมาย พิจารณา
ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) - กลุ่มที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) นำโดยนายวิริยะ ศิริชานนท์ ประธาน ทปสท. นายจิตเจริญ ศรขวัญ ประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทป.มรภ.) และนาย เชษฐา ทรัพย์เย็น ประธานกลุ่มส่งเสริมธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (สธม.) ได้เดินทางยื่นหนังสือถึงนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เพื่อเรียกร้องให้ ศธ. ดำเนินการออกหนังสือเวียน รวมถึงออกประกาศ ศธ.ถึงมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการทุกแห่งเกี่ยวกับ เรื่อง การแต่งตั้งผู้เกษียณอายุราชการเป็นอธิการบดี เนื่องจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินแล้วว่าการแต่งตั้งผู้เกษียณอายุราชการเป็นอธิการบดีไม่สามารถทำได้ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติ ทั้งนี้มี นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาฯ กกอ.) เป็นผู้รับเรื่อง
ด้านนายวิริยะ กล่าวว่า กลุ่ม ทปสท.ไม่ได้มีปัญหากับผู้เกษียณอายุราชการ แต่ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดจะแต่งตั้งผู้เกษียณอายุราชการเป็นอธิการบดีไม่ได้ ผู้ที่จะเป็นอธิการบดีต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น ผู้เกษียณอายุราชการแม้จะเป็นบุคคลที่มีความสามารถ แต่ในฐานะทปสท. ซึ่งต้องปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย รักษาระบอบนิติรัฐ และความเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสถาบัน อยากเรียกร้องให้ศธ. ออกกรอบหรือกำหนดแนวทางแจ้งไปยังมหาวิทยาลัยของรัฐ ในส่วนราชการทุกแห่งให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี และผู้บริหารระดับสูง จะต้องเป็นผู้ที่ยังไม่เกษียณอายุราชการ เพื่อให้เป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว และไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 157
“ข้อเรียกร้องดังกล่าว ดำเนินการเฉพาะในส่วนของมหาวิทยาลัยของรัฐ คือกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เท่านั้น เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยในส่วนราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเกณฑ์กลางที่อยากให้เน้นย้ำคือ ให้ปฎิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ถือเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ส่วนกรณีของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดี และอายุเกิน 60 ปี กำลังรอโปรดเกล้าฯ นั้น ถือเป็นหน้าที่ของรมว.ศธ.ที่ต้องวางกรอบและบอกแนวทางผู้อายุเกิน 60 ปีจะทำอย่างไร”ประธาน ทปสท. กล่าว
ด้านนายจิตเจริญ กล่าวว่าหลังจากมีคำสั่งศาลดังกล่าว พบว่ามีกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ ซึ่งถือเป็นคนกลุ่มน้อยได้ออกมาเรียกร้อง และเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่ง ม.44 ลบล้างอำนาจศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว จึงอยากวินวอนให้คสช. ดำเนินการตามหลักนิติรัฐ และกฎหมาย อีกทั้ง คำสั่งศาลปกครองดังกล่าว ไม่อยากให้อ้างว่าเป็นคำสั่งเฉพาะมหาวิทยาลัยบางแห่ง เพราะมหาวิทยาลัยของรัฐ ทุกแห่งล้วนใช้พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการเหมือนกัน คำสั่งศาลดังกล่าวมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งต้องปฎิบัติเช่นเดียวกัน
“ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยของรัฐ อย่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) 38 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)9 แห่ง โดยเฉพาะในส่วนของมรภ. มีผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมากกว่าครึ่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยทั้งหมด แต่เมื่อมีคำสั่งศาลปกครองออกมาเช่นนี้ ต่อให้เข้ามาสู่ตำแหน่งก่อนอายุ 60 ปี แต่ตอนนี้เมื่ออายุ 60 ปีแล้ว ก็ควรจะออกจากตำแหน่ง ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการ ตามกฎหมาย”นายจิตเจริญ กล่าว
ด้านนายสุภัทร กล่าวว่า ปัจจุบันมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวนหนึ่งที่มีอายุเกิน 60 ปี กำลังรอการตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อยื่นโปรดเกล้าฯ ซึ่งการพิจารณาแต่งตั้งอธิการบดีไม่ใช่หน้าที่ของสกอ. แต่เป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย สกอ.ทำหน้าที่เพียงตรวจสอบคุณสมบัติเท่านั้น โดยหลังจากนี้ จะต้องไปหารือกับนายกสภามหาวิทยาลัยถึงการแก้ปัญหากรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งอธิการบดีอายุไม่เกิน 60 ปี เรื่องนี้มีหลายกรณีที่ต้องแก้ไข และทำความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งอธิการบดีก่อนอายุ 60 ปี แล้วตอนนี้อายุ 60 ปี จะดำเนินการอย่างไร หรือ อธิการบดีหลายคนที่มีอยู่ในขั้นตอนของการฟ้องร้องศาลต่างๆ ก็คงต้องรอการพิจารณาจากศาลก่อน นอกจากนี้ สกอ.จะนำเรื่องทั้งหมดนำเข้าคณะอนุกรรมการกฎหมาย เพื่อพิจารณาก่อนแล้วค่อยดำเนินการต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |