'วิษณุ' ปธ.ลงนามเอ็มโอยู 4หน่วยงานร่วมมือลดปัญหาทุจริต


เพิ่มเพื่อน    

30 ส.ค. 61 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) การเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ 4 หน่วยงาน ได้แก่ นางพัชราภรณ์ อินทรียงค์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

จากนั้นนายวิษณุ กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ประชาชน ภาครัฐโปร่งใส ร่วมพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ตอนหนึ่งว่า การลงนามครั้งนี้จะช่วยให้ประเทศมีความโปร่งใส ลดการฉ้อราษฎรบังหลวง วันนี้เรามีคนในภาครัฐกว่า 3.5 ล้านคน ถือว่าเป็นจำนวนมาก หากเทียบกับจำนวนประชากร และหลักการธรรมาภิบาลถือว่าสำคัญมากในระบบของรัฐ เพราะจะลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลงได้ วันนี้รัฐบาลรณรงค์เรื่องธรรมาภิบาลอย่างมาก เพื่อสร้างความตื่นตัวให้ประชาชน หวังลดการทุจริต พร้อมกันนี้รัฐบาลยังได้ตั้งศูนย์ดำรงธรรมเพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด ไม่ต้องเสียเวลามานอนอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาล จึงจะเห็นว่าไม่มีประชาชนออกมาชุมนุม ปิดทำเนียบรัฐบาลเหมือนอดีตที่ผ่านมา

นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไปปิดกั้นการแสดงออก แต่ว่าทุกจังหวัดล้วนมีศูนย์ดำรงธรรมที่ประชาชนสามารถไปร้องเรียนได้ เมื่อร้องเรียนแล้วก็ให้การช่วยเหลือ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาตรา 44 มาจากความเดือดร้อนของประชาชน ตามที่ประชาชนร้องเรียน โดยมีเรื่องทุจริตได้รับการร้องเรียนมากที่สุดในศูนย์ดำรงธรรม จึงได้ดำเนินการจัดการและชี้แจงในส่วนที่อาจเข้าใจผิด

"เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามา มีรายงานว่ามีการทุจริตใหญ่เป็นคดีความอยู่กว่า 30 เรื่อง บางเรื่องมีมูลค่ามหาศาลเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการมันสำปะหลัง โดยเมื่อรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ก็ได้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ ย้ำว่ารัฐบาลใส่ใจกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้รวดเร็วในพริบตาเดียว หากไม่ปรับปรุงวิธีการทำงาน ดังนั้นวันนี้จึงต้องเสริมคน เงิน และอำนาจเข้าไป แต่ก็ยังไม่พอ เพราะที่สำคัญจะต้องสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเอกชน ประชาสังคม และประชาชน

ฉะนั้นทุกหน่วยงานจึงต้องแสวงหาความร่วมมือ ขออย่าท้อถอยต่อการแก้ปัญหาการทุจริต เราจะต้องทำให้เข้มแข็งขึ้น มีช่องโหว่ต้องอุด มีช่องว่างต้องเอาอะไรมาถม เหมือนกับที่ ป.ป.ช.ตั้งเป้าว่าในปี 2564 ประเทศไทยต้องได้คะแนนดัชนีการทุจริต (ซีพีไอ) 50 คะแนน เพราะมีผลอย่างมากต่อการลงทุนของต่างชาติ” รองนายกฯกล่าว

รองนายกฯ กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้พยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกัน การที่มีข่าวตรวจสอบทุจริตที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นคดีเงินทอนวัด เงินใต้โต๊ะหรือเงินคนไร้ที่พึ่ง พยายามขุดคุ้ยเรื่องเหล่านี้ซึ่งไม่ใช่ง่ายแต่ต้องทำ เชื่อว่าจะสำเร็จได้ หากทำได้ระดับหนึ่งก็จะทำให้ระบบราชการใสสะอาดและประเทศดีขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"