พม่าตอบโต้ยูเอ็น ปฏิเสธคำกล่าวหาล้างเผ่าพันธุ์


เพิ่มเพื่อน    

พม่าปฏิเสธรายงานของคณะสอบสวนของยูเอ็นที่กล่าวหากองทัพพม่าว่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจา ขณะที่ชาติสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงประสานเสียงเรียกร้องให้นำตัว ผบ.สส.และพวกนายพลพม่าที่รับผิดชอบต่อการสั่งการ มาดำเนินคดี

แฟ้มภาพ เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2561 พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย (กลาง) มาถึงสนามซ้อมรบที่สามเหลี่ยมอิระวดี พร้อมกับพวกนายทหาร / AFP

    คณะกรรมการค้นหาความจริงของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติเผยแพร่รายงานผลการสอบสวนสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ของพม่า ระบุว่ามีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการล้างเผ่าพันธุ์และการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในระดับมโหฬารต่อชาวโรฮีนจา อันรวมถึงการกระทำทารุณโหดร้าย ข่มขืน, ความรุนแรงทางเพศ และสังหารหมู่

    รายงานผลการสอบสวนที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 ยังกล่าวโทษนายทหารที่อยู่ในสายบังคับบัญชา ซึ่งรวมถึงพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า และว่าพวกนายทหารเหล่านี้ต้องถูกสอบสวนและดำเนินคดีจากการล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่

    รัฐบาลพม่ามีท่าทีตอบโต้รายงานของยูเอ็นฉบับนี้แล้วเมื่อวันพุธที่ 29 สิงหาคม โดยปฏิเสธอย่างแข็งขันต่อคำกล่าวหานี้ รายงานของโกลบอลนิวไลต์ออฟเมียนมาอ้างคำกล่าวของจ่อ เทย์ โฆษกรัฐบาลพม่า ว่าพม่าไม่อนุญาตให้คณะทำงานค้นหาข้อเท็จจริงของยูเอ็น (เอฟเอฟเอ็ม) เข้าพม่า และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพม่าจึงไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับทางออกใดๆ ที่ออกมาจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น

    วิกฤติในรัฐยะไข่รอบล่าสุดที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เมื่อกองทัพเปิดปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังติดอาวุธชาวโรฮีนจาอย่างรุนแรงภายหลังนักรบหลายร้อยคนบุกโจมตีที่ตั้งของฝ่ายความมั่นคงหลายสิบจุดพร้อมกันและสังหารตำรวจมากกว่า 10 นาย ส่งผลให้ชาวโรฮีนจากว่า 700,000 คนอพยพหนีภัยข้ามไปยังบังกลาเทศ พร้อมคำกล่าวหาพฤติกรรมทารุณโหดร้ายของทหารและม็อบชาวพุทธยะไข่

    เมื่อวันอังคาร ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งยูเอ็นที่นิวยอร์ก ผู้แทนของสหรัฐ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, คูเวต, เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ต่างประสานเสียงเรียกร้องให้นำตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ "ล้างเผ่าพันธุ์" มาดำเนินคดี และขอให้ตั้งกลไกเพื่อรวบรวมและรักษาหลักฐานของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะที่จีนและรัสเซีย ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติ กล่าวว่าพวกเขาสนับสนุนการหาทางออกผ่านการ "สานเสวนา" กับพวกผู้นำพม่ามากกว่า

เคต บลังเชตต์ นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลียและทูตสันถวไมตรีของยูเอ็นเอชซีอาร์ ฟังการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งยูเอ็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2561 / AFP

    ที่ประชุมครั้งนี้ เคต บลังเชตต์ ทูตสันถวไมตรีของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ได้กล่าวต่อที่ประชุมด้วย โดยเธอบรรยายถึงภาพที่พบเห็นจากการไปเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า เธอไม่มีวันลืมเรื่อวราวประสบการณ์ที่ชาวโรฮีนจาประสบมา ในฐานะที่เป็นแม่คน เธอเห็นลูกๆ ของเธอผ่านนัยน์ตาของเด็กโรฮีนจาทุกคนที่ได้พบเจอ และเธอเห็นตัวเธอเองผ่านสายตาของแม่ชาวโรฮีนจาทุกคนเช่นกัน

    "คนเป็นแม่จะทนทานกับการเห็นลูกของตนถูกโยนเข้ากองไฟได้อย่างไร? ประสบการณ์ของพวกเธอจะไม่มีวันเลือนหายไปจากใจฉัน" นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลียกล่าว

    ด้านฮอ โด ซวน เอกอัครราชทูตพม่าประจำยูเอ็น ปฏิเสธรายงานของยูเอ็น พร้อมกับย้ำว่า พม่าไม่ยอมรับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ เนื่องจากพม่ากังวลเกี่ยวกับความเป็นกลางของคณะกรรมการ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"