สกอ.รับมีต่างชาติถือหุ้นมหา'ลัยไทย ย้ำถ้ายั่งยืนก็โอเค/รองรับนศ.จีนไหลเข้ามาเรียน


เพิ่มเพื่อน    

30ส.ค.61-เลขากกอ."ยอมรับมีการเปลี่ยนมือผู้บริหารมหาวิทยาลัย จากคนไทยเป็นต่างชาติมาพักหนึ่งแล้ว  ย้ำผู้ขอรับใบอนุญาติจัดตั้ง มหา’ลัย มีหน้าที่สนับสนุนเงิน หากไม่ทำผิดกฎหมายก็สามารถทำได้ ส่วนการบริหารจัดการ การใช้เงิน เป็นอำนาจ สภามหา’ลัย  เผยนศ.ต่างชาติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  หากยกระดับมหา’ลัยไทย ให้สามารถเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาในภูมิภาค รองรับกลุ่มผู้เรียนต่างประเทศได้ก็ไม่มีปัญหา"หมอธี” เผย การตั้งมหา’ลัย ไม่ใช่เรื่องง่าย มีขั้นตอน

กรณีมีการเผยแพร่ข้อความในโชเชียลมิเดียเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งมีการขายกิจการให้กับกลุ่มทุนชาวจีน นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาฯ กกอ.) กล่าวว่า ส่วนตัวตนเองยังไม่เห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ขณะนี้ต้องยอมรับว่ามีกลุ่มนักศึกษาจีนเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของไทยจำนวนมาก และคาดว่าน่าจะมีคนที่มีแนวความคิดเข้ามาซื้อมหาวิทยาลัยเอกชนของไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็กของประเทศไทยเอง ก็ค่อนข้างหดตัว เนื่องจาก  กลุ่มผู้เรียนน้อยลง และมีการปิดตัวลงไปแล้วบ้าง อย่าง มหาวิทยาลัยอีสาน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยใน พ.ศ.2555 และใน พ.ศ.2560 ศธ. ได้มีคำสั่ง ให้เลิกกิจการ  มหาวิทยาลัยเอเชียน วิทยาลัยศรีโสภณ    


อีกทั้งในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งที่มีการเปลี่ยนชื่อผู้ขอรับใบอนุญาติจัดตั้ง  และบางแห่งเปลี่ยนจากคนไทยเป็นชาวต่างประเทศด้วย   ซึ่งส่วนตัวตนมองว่าไม่ได้มีความเสียหายอะไร ขอแค่มหาวิทยาลัยยังสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพเท่านั้น และตามพ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ระบุไว้ว่า การบริหารงานมหาวิทยาลัยจะเป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย เกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของกรรมการสภามหาวิทยาลัย  และในเรื่องของคุณภาพในการเปิดหลักสูตรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เกณฑ์มาตรฐานที่มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการตามอยุ่แล้ว

“ผู้ที่เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยมีหน้าที่อย่างเดียว คือ ถือใบอนุญาต และสนับสนุนเงินให้กับมหาวิทยาลัย เวลาที่มหาวิทยาลัยขาดทุน ซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย และ สกอ.สามารถตรวจสอบในเรื่องนี้ได้ด้วย แต่อำนาจให้การบริหารจัดการ การใช้จ่ายเงิน และอื่นๆ จะต้องผ่านการพิจารณาจากสภามหาวิทยาลัยเท่านั้น ปัจจุบันมีนักศึกษาจากต่างชาติเข้ามาเรียนในประเทศไทยจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถยกระดับมหาวิทยาลัยให้สามารถเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาและดึงผู้เรียนจากประเทศกลุ่มอาเซียนได้ ก็จะไม่จำเป็นต้องรองรับแต่กลุ่มผู้เรียนภายในประเทศ”เลขาฯ กกอ.กล่าว

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการปล่อยให้กลุ่มทุนจีนเข้ามาซื้อมหาวิทยาลัยเอกชนของไทยแล้ว จะมีการดำเนินการในลักษณะที่คล้ายกับทัวร์ศูนย์เหรียญหรือไม่ นายสุภัทร กล่าวว่า ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเอกชนของไทยที่เปิดรับนักศึกษาชาวจีนและทำการดูแลแบบครบวงจร คือมีจ้างอาจารย์ชาวจีนเข้ามาสอน ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามที่ สกอ.กำหนด และยังมีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่ดูแลนักศึกษาชาวจีน มีการจัดหอพักให้กับกลุ่มนักศึกษาชาวจีนโดยบังคับพักด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยจะได้ทั้งค่าเทอม ค่าหอพัก อีกทั้งยังดูแลนักศึกษาได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วย 

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องดูว่าการดำเนินการดังกล่าวสามารถ ทำได้ตามกฎหมายหรือไม่ เพราะการตั้งมหาวิทยาลัยมีกระบวนการและขั้นตอน ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"