29ส.ค.61-11 สมาพันธ์สภาวิชาชีพ สู้ไม่ถอย แสดง ความห่วงใย ร่าง พ.ร.บ.อุดมศึกษา พ.ศ.... มาตรา 64,65,66 อาจส่งผลกระทบการจัดการเรียนการสอน และตัวนักศึกษาโดยตรง ควรตัดออก เผยน้อยใจเคยเสียงเรียกร้อง ไม่ได้รับความสนใจ
ที่กรมประชาสัมพันธ์ - สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย โดยมีสภาวิชาชีพ 11 แห่งร่วมกัน แถลงข่าว (ร่าง) พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การอุดมศึกษา พ.ศ....ผลกระทบต่อชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชนไทย โดยนายทัศไนย ไชยแขวง อุปนายกภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า สภาวิชาชีพ เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ... แต่มีความห่วงใยในบางมาตราที่อาจส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน และตัวนักศึกษาโดยตรง โดยเฉพาะมาตรา 64 ที่ให้สภาวิชาชีพมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นประกอบการจัดทำหลักสูตร แต่มิได้ให้อำนาจในการรับรองหรือกำหนดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน หรือสร้างภาระอื่นใดให้กับสถาบันอุดมศึกษา มาตรา 65 สภาวิชาชีพจะออกข้อบังคับหรือหลักเกณฑ์เพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพ โดยมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษามิได้ มาตรา 66 ในกรณีที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาเห็นว่าสภาวิชาชีพใดฝ่าฝืนมาตรา 64 ให้แจ้งให้สภาวิชาชีพทราบ และให้สภาวิชาชีพปฏิบัติตามนั้น และมาตรา 48 สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ และให้คำปรึกษาทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคมภายนอกสถาบันอุดมศึกษา
"ซึ่งสมาพันธ์สภาวิชาชีพฯ เรียกร้องมาหลายครั้งแล้วว่า โดยขอให้ตัดมาตรา 64,65,66 ของร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ออกทั้งหมด โดยที่ผ่านมา ได้เสนอความเห็นไปยังผู้เกี่ยวข้องหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ จนกระทั่ง ครม.มีมติร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ก็ยังมีทั้ง 3 มาตราดังกล่าวอยู่ จึงต้องออกมาเรียกร้องผ่าน สื่อเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบ "นายทัศไนยกล่าว
ทั้งนี้สมาพันธ์วิชาชีพทั้ง 11 แห่ง คงไม่ยกระดับการเคลื่อนไหว ออกมาชุมนุม สร้างความวุ่นวายให้กับสังคม แต่จะเดินหน้าให้ช้อมูลกับประชาชนถึงผลกระทบ ที่สภาวิชาชีพ ไม่สามารถไปรับรองสถาบันหรือหลักสูตร และร่วมจัดการสอนได้ เพราะหากให้สภาวิชาชีพทำหน้าที่จัดสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังจากจบการศึกษาเท่านั้น หากนักศึกษาสอบไม่ได้ ก็จะเสียทั้งเงินและเวลา รวมทั้งอาจพบปัญหาบุคลากรเถื่อนที่ประกอบอาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตฯ โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน
ด้าน ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า การรับรองหลักสูตรเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่มารับการศึกษา โดยเฉพาะขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาจำนวนมาก จะต้องเข้าดูแลทั้งจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา เครื่องมือแพทย์ต้องได้มาตรฐาน จำนวนนักศึกษา ถ้าเราไม่ดูแลหลักสูตร จะมีความมั่นใจได้อย่างไร ว่าเด็กเรียนจบแล้วจะสามารถสอบใบอนุญาตฯ ผ่านได้ ถือเป็นความสูญเสีย โดยการเรียนทันตแพทย์ ผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายปีละ 1 ล้านบาท เรียน 6 ปี เป็นเงิน 6 ล้านบาท ที่น่าห่วงคือ หากสอบใบอนุญาตฯไม่ผ่าน คนเหล่านี้ก็คงไม่อยู่เฉย ต้องหาทางประกอบอาชีพโดยไม่มีใบอนุญาต อาจจะพบปัญหาหมอเถื่อนก็ได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |