เครือข่ายผู้หญิงร้องทบทวนการซื้อวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเด็กหญิง ชั้นป.5ใหม่


เพิ่มเพื่อน    

29ส.ค.61-เครือข่ายผู้หญิงฯ กว่า 10 องค์กร เข้ายื่นหนังสือ แสดงความกังวลข้อเสนอคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในการจัดซื้อวัคซีน HPV ในเด็ก ป.5 รอบใหม่ ยื่น 3 ข้อเสนอ การขยายอายุเด็กเป็น 18 ปี การให้หน่วยงานท้องถิ่นจัดหาวัคซีนเองได้ และ เลือกวัคซีนที่ครอบคลุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกถึง 4 สายพันธุ์   ด้าน ผอ.สถาบันวัคซีนฯ รับปากจะเสนอเรื่องให้อนุกรรมการทบทวนฯ  ด้านที่ปรึกษาสถาบันฯ เผย ให้หน่วยงานท้องถิ่น จัดซื้อได้ ไม่ใช่ของใหม่ เคยมีมาแล้ว

ที่สำนักงานสถาบันวัคซีนแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เครือข่ายผู้หญิงในระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว พร้อมองค์กรภาคีเครือข่ายที่ทำงานในประเด็นผู้หญิงกว่า 10 เครือข่าย นำโดย น.ส.สุภัทรา นาคะผิว  นางอรกัลยา พุ่มพึ่ง แกนนำเครือข่ายผู้หญิงในระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว เข้ายื่นหนังสือแสดงความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาและการให้บริการด้านวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) โดยมี ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้รับหนังสือ


น.ส.สุภัทรา กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ ขอแสดงความชื่อชม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ที่สนับสนุนการจัดหาวัคซีนให้แก่ เด็กอายุ 10-12 ปี ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีความต้องการทั้งหมด 4.3 แสนโดส แม้ว่าจะเคยมีประเด็นซื้อที่แพงกว่าประเทศอื่น แต่ทั้งนี้ที่มาในวันนี้ เนื่องจากมีความกังวล จากการที่คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้มีมติสำคัญต่อการวางแผนจัดหาวัคซีนให้กับเยาวชนรอบใหม่  ใน 3 ประเด็น คือ 1มติขยายช่วงอายุการเข้าถึงวัคซีนเป็น 18 ปี ซึ่งมีความกังวลว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีในเด็กที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ แล้วจะมีการคัดกรองอย่างไรว่าเด็กยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ เด็กที่ไหนจะบอกซึ่งเป็นสิทธิ์ของเด็กว่าจะบอกหรือไม่ และอันเก่าก็ยังให้ไม่ครบโดส จะขยายได้อย่างไร ซึ่งจะเป็นการเอื้อบริษัทวัคซีนหรือไม่  ยังไม่ขยายได้หรือไม่


  2 .ให้หน่วยงานท้องถิ่นที่มีศักยภาพจัดหาวัคซีนเองได้ สามารถจัดหาวัคซีนมาให้บริการเยาวชนได้เอง แต่หากท้องถิ่นมีข้อจำกัดด้านงบประมาณหรือด้านอื่นๆ ก็ให้ผู้ปกครองร่วมจ่ายเงินซื้อวัคซีนได้ ซึ่งเราไม่เห็นด้วยกับประเด็นร่วมจ่าย เพราะนี่คือสิทธิประโยชน์พื้นฐาน เพราะงบประมาณของท้องถิ่นก็มาจากภาษีประชาชนอยู่แล้ว อีกทั้งการจัดซื้อเองจะมีราคาแพง มากกว่าการจัดหาซื้อรวมกันทั้งประเทศ  และ 3. วัคซีนที่ใช้สามารถลดความเสี่ยงการเกิดวัคซีนปากมดลูกได้เพียง 2สายพันธุ์เท่านั้น ทั้งที่วัคซีนป้องกันปากมดลูกมีถึง 4 สายพันธุ์แต่กลับไม่เลือกใช้  ซึ่งยังไม่มีการลงไปให้ความรู้ในชุมชนทำให้ชุมชนเข้าใจว่าครอบคลุมทุกสายพันธ์ดังนั้นต้องมาการสื่อสารกับชุมชนว่าหลังจกฉีด 2 เข็มแล้ว ต้องตรวจมะเร็งซ้ำอีกใน 10 ปี อย่างไรก็ตามขณะนี้ตัวเลขการคัดกรองต่ำมาก โดยเฉพาะในเขตเมือง  ควรให้ความสำคัญในเรื่องการรณรงค์ให้ผู้หญิงเข้าสู่ระบบการคัดกรองมากกว่าในอดีต โดยการทำงานร่วมกับเป็นภาคีเครือข่าย โดยการดึงเอาภาคประชาสังคม ชุมชุม เครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นผู้หญิงเข้าร่วม ซึ่งทางเครือข่ายจะติดตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเพราะมีความเกี่ยวพันกับงบประมาณและการเสียชีวิตของผู้หญิง ดังนั้นการป้องกันต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ขาดข้อมูลจนทำให้มีผลกับงบประมา

ดร.นพ.จรุง กล่าวว่า การให้วัคซีนขั้นพื้นฐานนั้นจะเป็นความรับผิดชอบของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทางสถาบันมีหน้าที่สนับสนุนประสานงานในการวิจัย การผลิต และการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดการพัฒนา ซึ่งขณะนี้วัคซีนมีราคาแพง ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยคาดว่าอีก 3 ปี ข้างหน้าไทยจะสามารถผลิตวัคซีนเองได้และสถาบันฯทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติดีใจที่ประชาชนในพื้นที่ได้ติดตามการทำงานของเรา ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะทำให้ประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ดี ซึ่งคณะกรรมการวัคซีนฯ มีการรับฟังเสียงของประชาชนมาโดยตลอด ตามที่WHO ส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมของประชาชน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นยังไม่ถึงคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งสินค้าทางการแพทย์นั้นค่อนข้างซับซ้อนที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเลือกให้เหมาะสม แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนไม่ชำนาญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันดู โดยมาในวันนี้ตนก็รับฟังและในฐานะเลขาฯ จะได้มีการรวบรวมข้อเสนอทั้งหมดส่งไปยัง  คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้พิจารณา แต่ขอดูให้ละเอียดเพื่อความชัดเจนของข้อมูลก่อน

นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิ์วัฒน์ ที่ปรึกษาสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า วัคซีน HPV นั้นมีการขยายกันทุกประเทศ ประเทศไทยไม่ควรล้าหลัง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีการตั้งงบประมาณให้กับเด็ก ป.5 ทั่วประเทศ และให้ฉีดให้ครบ 2 โดส เป็นการตั้งต้นสิทธิประโยชน์ก่อนขยายเป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งความเห็นที่จะให้ขยายอายุของเด็กนั้นเป็นการต่อยอดสิทธิประโยชน์ ซึ่งข้อเสนอส่วนใหญ่ส่วนใหญ่มาจากคณาจารย์ที่ทำงานเรื่องเด็ก จากคำถามว่าแล้วเด็กที่จบ ป.5 ไปก่อนที่จะเริ่มจะปล่อยไว้เฉยๆหรือไม่ ซึ่งหากจะดูแลวัคซีนไม่เพียงพอจะทำอย่างไร จึงได้มีการเสนอว่าจะมีวิใดบ้างในการดูแลเด็ก เพื่อให้อนุกรรมการฯ พิจารณา ซึ่งข้อเสนอให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้จัดซื้อเองได้นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเคยมีการทำมาแล้ว เช่น ในการตั้งงบประมาณจัดซื้อวัคซีนคางทูม หัดเยอรมัน (MMR) กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามเป็น 10 ปีกว่าจะได้เข้าเป็นวัคซีนพื้นฐาน เพราะวัคซีนราคาแพงตั้งงบประมาณไม่ได้ ระหว่างนั้นอนุสร้างเสริมฯ ก็เสนอให้ท้องถิ่นที่มีกำลังซื้อก็ทำการจัดซื้อไปก่อน เช่น กทม.มีการจัดซื้อเองนำไปก่อนกระทรวงสาธารณสุขนานมาก อย่างไรก็ตามในการให้วัคซีนนั้นต้องให้ทั้งหมด โดยไม่ต้องถามว่าเด็กมีเพศสัมพันธ์หรือไม่มี ส่วนในประสิทธิภาพของวัคซีนนั้น ในเด็กที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถป้องกันได้ดีกว่าไม่ได้


 นางอรกัลยา กล่าวว่า ยิ่งฟังคำชี้แจงยิ่งมีความกังวล เข้าใจว่าการที่ให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นจัดซื้อเองได้มีมานาน ซึ่งในอนาคตจะมีการยุบหน่วยงานท้องถิ่นที่มีบุคลากรรวมกันไม่ถึง 7 พันคน รวมกันนั้นจะกลายเป็นการหาเสียงในชุมชนหรือไม่ ซึ่งในการเปิดเวทีให้ประชาชนเข้าร่วมทุกครั้งนั้นเป็นเหมือนการให้ไปรับฟังว่าจะทำอะไรบ้าง แต่เมื่อเกิดการแย้งก็ไม่เคยทำ ซึ่งการทำงานในชุมชนเหมือนภาครัฐทิ้งงานให้ประชาชนที่ทำงานในชุมชน พอฉีดไปเข็มที่ 1 ผู้ปกครองก็จะมาถามว่าเมื่อไหร่จะได้เข็มที่ 2 ซึ่งการมาวันนี้ก็หวังจะได้เจอกับตัวแทนของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งก็ไม่พบ คำถามคือหาก สถาบัน บอกว่าในฐานะเลขาฯ จะมีการเสนอข้อเสนอไป แล้วหากคณะกรรมการไม่เอาเราจะทราบได้อย่างไร ใครจะเป็นผู้แจ้งกลับมา

ดร.นพ.จรุงไทย กล่าวย้ำว่า จะได้มีการรวบรวมข้อเสนอทั้งหมดส่งไปยัง  คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งแน่นอน แต่ขอความชัดเจนของข้อมูลก่อน ซึ่งรับปากว่าทางเครือข่ายจะไม่มาอย่างสุญเปล่าโดยไม่ได้อะไรอย่างแน่นอน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"