"อาคม" ย้ำเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ด้านนายกฯสั่งสร้างรถไฟฟ้าต้องปลอดภัยหลังเกิดอุบัติเหตุหลายเส้นทาง ส่วนรฟม.เตรียมเสนอบอร์ดพิจารรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก 31 ส.ค.นี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังพิธีเริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ว่าสำหรับค่าเวนคืนที่ดินที่จะก่อสร้างโครงการนั้น ทั้งส่วนของภาคเอกชนและภาคราชการอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยส่วนของราชการดำเนินการได้เสร็จสิ้นแล้วทั้งกรมทางหลวงและกรุงเทพมหานครได้ส่งมอบพื้นที่เกือบ100% เป็นไปตามกฎหมายกรอบงบประมาณส่วนเอกชนก็ดำเนินการตามขั้นตอนของข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตามส่วนกรณีข้อเรียกร้องการเวนคืนที่ดินของประชาชนที่ต้องการเพิ่มค่าเวนคืน นั้นมีขั้นตอนทางกฎหมายรองรับ ขณะเดียวกันราคาการเวนคืนที่ดินจะต้องเป็นไปตามราคาประเมินและมีหลักฐานการซื้อ-ขายที่มาจากกรมที่ดิน ไม่ใช่การเรียกร้องราคาที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าของ
" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในส่วนการก่อสร้างโครงการให้เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายได้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงให้เร่งคืนพื้นที่ผิวจราจรให้เร็วที่สุดหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมถึงการเชื่อมต่อการเดินทาง โดยกระทรวงคมนาคมจะใช้ระบบตั๋วร่วมเข้ามาดำเนินการเชื่อมต่อเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียวต่อไปคิดระยะทางทางตามสถานี "นายอาคม กล่าว
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีกลุ่ม BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ (BTS), บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) และบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) เป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานมีระยะเวลาการลงทุนรวม 33 ปี 3 เดือนแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1งานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาพร้อมติดตั้งระบบและขบวนรถไฟฟ้า ระยะเวลา 3 ปี 3 เดือน และระยะที่ 2 งานให้บริการและบำรุงรักษาระยะเวลา 30 ปีโดยให้เอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสาร
อย่างไรก็ตามปัจจุบันการดำเนินงานระยะที่ 1 ของรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 3.10% (สิ้น ก.ค.61) ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 5.07% (สิ้น ก.ค.61) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มั่นใจว่าสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จและทดลองระบบพร้อมเปิดให้บริการได้ช่วงปลายปี 64 ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าแบบ Heavy Rail หรือระบบขนส่งมวลชนหลักที่ต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างไม่น้อยกว่า 6 ปี โดยการเดินรถไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดก็จะมีกรอบราคาค่าโดยสาร 14-42 บาท โดยจะมีค่าแรกเข้า 14 บาท แม้จะมีระยะทางเพิ่มขึ้นแต่จะไม่เพิ่มค่าโดยสาร
ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่ารฟม.เตรียมเสนอรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการร่วมทุน PPP Net Cost เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) ในวันที่ 31 ส.ค.นี้หากได้รับอนุมัติจะเปิดประมูลเป็นสัญญาเดียวประกอบด้วยงานก่อสร้างโยธาวงเงิน 1.2 แสนล้านบาทและงานวางระบบรวมถึงบริหารจัดเก็บรายได้ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้จะเสนอโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี จากสถานีศรีรัชเข้าเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม.ในวันที่ 31 ส.ค.นี้ เช่นกัน หลังจากที่โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ต่อขยายเส้นทางไปตามถนนรัชดาภิเษกสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม.ได้รับอนุมัติไปครั้งที่แล้ว ทั้งหมดโดยจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)เพื่อบรรจุในแผนแม่บทการจราจร หลังจากนำเสนอเข้ากระทรวงคมนาคมเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะจะมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งภาครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการ และเอกชนจะจ่ายชดเชยภายหลัง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |