หลังจากกระแสข่าวประเด็นการแก้กฎหมายเพิ่มโทษความผิดเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ หรือใบขับขี่นั้นเอง ดูเหมือนว่าตามสื่อต่างๆ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายกันออกไป แม้แต่ผู้ขับขี่ต่างก็ไม่เห็นด้วยที่จะไม่พกใบขับขี่จะมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับถึง 50,000 บาท จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม
ทำให้ในเวลาต่อมาด้านกรมขนส่งทางบก ได้ชี้แจงว่ากฎหมายด้านการขนส่งทางบกฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้บังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ซึ่งการขอแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับเนื้อหาให้มีความทันสมัย และให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีส่วนในการสร้างความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม
ทั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย พบว่ากลุ่มผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ มีโอกาสการเสียชีวิต 34% ซึ่งสูงกว่ากลุ่มผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ถึงสองเท่า และจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปี เป็นกลุ่มอายุที่มีการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนสูงสุดเฉลี่ยปีละ 1,688 คน
และจากการศึกษาจากต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พบว่ากรณีความผิดเกี่ยวกับการขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตขับรถในประเทศญี่ปุ่น มีโทษปรับไม่เกิน 300,000 เยน เท่ากับ 88,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี และถูกตัดแต้ม 12 คะแนน ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีโทษปรับไม่เกิน 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 800,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี และถูกบันทึกประวัติตลอดชีวิตด้วย
สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ เสนอให้ปรับโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท จากเดิมที่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท และ พ.ร.บ.ขนส่ง จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท, ส่วนความผิดเกี่ยวกับการขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต ปรับโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท จากเดิมตาม พ.ร.บ.รถยนต์มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท พ.ร.บ.ขนส่ง มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท และ พ.ร.บ.จราจร มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท, ส่วนความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต ปรับโทษสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท จากเดิมตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และ พ.ร.บ.ขนส่ง ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ทั้งนี้ จากการเสนอแก้ไขปรับเพิ่มโทษกรณีความผิดดังกล่าว จะทำให้การพิจารณาโทษตามฐานความผิดอยู่ในดุลพินิจของชั้นศาล ซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ส่วนสำคัญอยู่ที่ผู้ขับขี่ ซึ่งต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังอย่างทั่วถึง
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ส่วนสำคัญอยู่ที่ผู้ขับขี่ ซึ่งต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังอย่างทั่วถึง ส่วนกรณีที่มีข้อคิดเห็นคัดค้าน วิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน จะมีการรวบรวมข้อมูลและส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป ยืนยันการปรับแก้เพิ่มโทษผ่านศึกษารวบรวมข้อมูลทางวิชาการแล้ว และปรับให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลด้วย
พล.ต.ต.เอกรักษ์ กล่าวว่า ตำรวจมีความจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายการขับขี่สาธารณะเพื่อคุ้มครองชีวิตของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ที่ผ่านมาตำรวจก็เข้มงวดเรื่องการจับยึดใบอนุญาตขับขี้ แต่โทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท ถือเป็นลหุโทษ ปรับในชั้นตำรวจได้ ประชาชนไม่เกรงกลัว ยึดก็เอาคืน ปรับก็ไม่สนใจ ไม่มีก็ขับรถต่อไป เรียกว่าไม่เกรงกลัว จึงต้องมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้น
ก็ต้องยอมรับว่ากฎหมายใหม่ฉบับนี้เรียกความตื่นตัวให้แก่ผู้ขับขี่อย่างมาก ในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย หากมองในแง่ความปลอดภัยก็ถือเป็นเรื่องที่ดีทำให้คนที่ขับขี่รถยนต์มีความรับผิดชอบมากขึ้น แต่ก็อย่าลืมว่าซึ่งกฎหมายใหม่นี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการบังคับใช้แต่อย่างใด.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |