ร้องบิ๊กฉัตรแก้ปัญหา รุนแรงในครอบครัว


เพิ่มเพื่อน    

    เครือข่ายรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัว ร้อง “บิ๊กฉัตร” แก้ปัญหาเร่งด่วน หลังพบสถิติข่าวฆ่ากันตายพุ่งสุดรอบ 3 ปี โดยปัจจัยกระตุ้นสำคัญมาจากสุราและยาเสพติด 
    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 สิงหาคมนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล น.ส.อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วยนายเตชาติ์ มีชัย ผู้ประสานงานเครือข่ายนักกฎหมายเด็กและเยาวชน และภาคีที่ทำงานด้านรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัว จำนวนประมาณ 30 คน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานด้านสังคม เพื่อเรียกร้องให้มีมาตรการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำงานเชิงรุก
    น.ส.อังคณากล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและคู่รักมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สะท้อนได้จากข้อมูลที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเก็บสถิติข่าวจากหนังสือพิมพ์ 11 ฉบับ ในปี 2561 พบว่าเพียง 7 เดือน คือตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม มีข่าวความรุนแรงในครอบครัวสูงถึง 367 ข่าว เป็นข่าวฆ่ากันตาย 242 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 65.9 เฉลี่ยเดือนละ 20 ข่าว รองลงมาเป็นข่าวทำร้ายร่างกาย 84 ข่าว และข่าวฆ่าตัวตาย 41 ข่าว ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบข่าวฆ่ากันตายย้อนหลัง 3 ปี จะเห็นว่า ปี 2561 สถิติสูงสุดกว่าทุกปี ส่วนปัจจัยกระตุ้นสำคัญของการฆ่ากันตาย มาจากการดื่มสุราและยาเสพติด ซึ่งผู้ก่อเหตุร้อยละ 39.2 มีความสัมพันธ์เป็นสามีภรรยา อาวุธที่ใช้ก่อเหตุมากที่สุด ได้แก่ ปืน และมูลเหตุในการกระทำ เพราะบันดาลโทสะ หึงหวง และมีเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว นอกจากนี้ ร้อยละ 94.9 ของผู้ที่พบเห็นเหตุความรุนแรง เลือกที่จะนิ่งเฉย ไม่เข้าไปช่วยเหลือ
    น.ส.อังคณาระบุว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีข้อเสนอต่อ พล.อ.ฉัตรชัย รวมถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดังนี้ 1.ขอให้รัฐบาลยกปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยบูรณาการทำงานเชิงรุก ร่วมกับกระทรวง พม. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้สังคมเข้าใจว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ผู้พบเห็นเหตุการณ์ต้องเข้าให้การช่วยเหลือหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดปัญหาการสูญเสียชีวิต 2.ดำเนินการให้ระบบการเรียนการสอนสร้างความเข้าใจเคารพในสิทธิเนื้อตัวร่างกายผู้อื่น ไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นทักษะชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก 3.กระทรวง พม.ซึ่งมีกลไกอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำหมู่บ้าน (อพม.) เฝ้าระวังปัญหาสังคมทุกหมู่บ้าน และ 4.ขอให้ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 เน้นทำงานเชิงรุก และบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากการให้คำปรึกษาและประสานส่งต่อปัญหาสังคมทั่วไป
    ด้านนายเตชาติ์กล่าวว่า แม้เราจะออกกฎหมายมาหลายฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว รวมถึง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ แต่สถิติความรุนแรงกลับไม่ได้ลดลง เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่พร้อมเข้าช่วยเหลือ หรือพยายามไกล่เกลี่ยมาโดยตลอด ทั้งที่สถานการณ์ไปไกลกว่าที่จะไกล่เกลี่ย อีกทั้งสังคมไทยก็ละเลยในการเข้าช่วยเหลือ กระทรวง พม.ต้องทบทวนการทำงานของตนเองด้วย เพราะเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ มีกลไกเครื่องมือครบ แต่ยังทำงานแบบตั้งรับ กลายเป็นปัญหาซุกไว้ใต้พรมจนเลยเถิด "กฎหมายก็ให้อำนาจไว้ แต่ยังทำงานแบบเดิมๆ ทั่วโลกหันมาสนับสนุนให้ประชาชนของเขาเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ ช่วยเหลือทำงานแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐ แต่บ้านเรายังให้ความสำคัญน้อยมาก” นายเตชาติ์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"