ติดแผงโซลาร์เซลล์บนห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา
ในอดีต แนวคิดเรื่องการช่วยเหลือสังคมมักจะเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมมอบเงิน มอบสิ่งของให้กับชุมชน เมื่อได้รับความเดือดร้อนเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้การช่วยเหลือสังคมแบบเดิมๆ ไม่ได้ทำให้เกิดความยั่งยืนเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ต้องเติบโต ดังนั้น การช่วยเหลือสังคมจึงมีแนวคิดที่เปลี่ยนไป โดยเป็นการนำเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญมาสอนอาชีพและสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับคนในสังคมแทน เช่นเดียวกับ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้เปิดตัวโครงการเพื่อสังคม “เซ็นทรัล ทำ” ในรูปแบบ CENTRAL Tham Luncheon (เซ็นทรัล ทำ ลันเชียน) ขึ้น เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงานให้เติบโตไปด้วยกัน
โดยนายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า ในอดีตเซ็นทรัลเคยมอบเงินบริจาคสังคมไปเป็นพันล้านบาท แต่ไม่ได้เกิดความยั่งยืนเลย เพราะให้ไปแล้วก็หมด วันต่อไปไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเอาเงินไปลงทุน ไปช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนน่าจะดีกว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมากลุ่มเซ็นทรัลได้เปลี่ยนแนวคิดและหลักการใหม่ในการให้ความช่วยเหลือสังคมจากนโยบายเดิมคือ CSR (Corporate Social Responsibility) การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม มาสู่แนวคิดใหม่ที่เรียกว่า CSV (Creating Shared Values) หรือ "การสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม "โดยพยายามหาพื้นที่แห่งความสำเร็จร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคม ซึ่งจะคำนึงถึงด้านผลกระทบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากทุกคนในองค์กรเพื่อขยายผลไปสู่สังคม ผ่านกิจกรรม 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีของคน (PEOPLE) 2.ด้านการพัฒนาสินค้าชุมชน (COMMUNITY) 3.ด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENT) 4.ด้านความสงบสุขและการอนุรักษ์ศิลปวัฒธรรม (PEACE & CULTURES)
ปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบศูนย์การค้าให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
ในส่วนของรายละเอียดกิจกรรม 4 ด้านหลักใน "โครงการเซ็นทรัล ทำ" นายพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เผยว่า ในด้านที่ 1.ด้านการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีของคน ในประเทศยังมีเด็กด้อยโอกาสอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการสนับสนุนการศึกษาให้กับเด็กๆ เหล่านั้น ธุรกิจเซ็นทรัลมีครอบคลุม 45 จังหวัด จะให้ทีมงานส่วนหนึ่งในแต่ละแห่งมาอบรม และเอาความรู้ความเชี่ยวชาญไปฝึกสอนกับครู เพื่อที่ครูจะได้นำเอาความรู้ด้านวิชาการใหม่ๆ ที่ทันสมัยไปส่งต่อให้กับนักเรียน พร้อมเพิ่มการเรียนรู้เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กๆ ได้เลี้ยงไก่ ไข่ไก่ ปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา ปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นอาหารกลางวัน และจัดตลาดนัดขายผลผลิตในโรงเรียน และยังช่วยต่อยอดอนาคตของเด็กๆ หากเขาไม่ได้ศึกษาต่อก็ยังสามารถนำความรู้เศรษฐกิจพอเพียงไปสร้างอาชีพให้กับตนเองได้ ซึ่งตอนนี้ทำไปแล้ว 9 แห่ง แต่ละแห่งต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะไม่ใช่เรื่องทำง่ายๆ ต้องเรียนรู้ควบคู่กับเด็กๆ ศึกษาพื้นที่แต่ละแห่งว่าเหมาะสมอย่างไร
2.การพัฒนาสินค้าชุมชน ด้วยการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชวนชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ และจัดให้มีตลาดนัดสินค้าชุมชนในศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัลที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ เพื่อให้สินค้ามีความสดใหม่ เน้นผักปลอดภัย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการขนส่ง ทำให้ต้นทุนของสินค้าถูกลง สร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร ตลอดจนยกระดับมาตรฐานสินค้าชุมชนให้มีดีไซน์ทันสมัยและตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูงผ่านสินค้าแบรนด์ ที่ชื่อว่า Good Goods (กู้ด กู้ดส์) ถือเป็นการทำเพิ่อตนเอง ไปพร้อมๆ กับการทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
ปลูกฝังเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กๆ
3.ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการเป็นองค์กรสีเขียวทั้ง 45 จังหวัดที่มีศูนย์การค้า ที่ผ่านมามีการทำเซ็นทรัลกรีนโปรเจ็กต์ ดูแลพื้นที่บริเวณรอบศูนย์การค้าให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในรัศมี 4 ตารางกิโลเมตร โดยบูรณาการพื้นที่ในการบำบัดน้ำเสียคูคลอง ร่วมมือกับพันธมิตรและภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน โดยการน้อมนำพระราชดำริ ในหลวง ร.9 ด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนมาปฏิบัติ โดยเฉพาะในบริเวณรอบเซ็นทรัลลาดพร้าว มีการทิ้งของเสีย น้ำมันจากร้านค้าต่างๆ ลงท่อเป็นจำนวนมาก ทั้งยังเกิดน้ำท่วมบ่อย ปีที่ผ่านมาได้มีการสำรวจและมีแนวคิดที่จะหาทางแก้ว่าจะนำเอาน้ำมันที่ไม่ใช้แล้วตามร้านค้ามาทำอย่างไรต่อได้บ้าง ก็ต้องปรึกษากับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ และยังได้คำนึงถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทน จึงได้นำหลังคาโซลาร์เซลล์มาเริ่มใช้ที่ห้างเซ็นทรัลพลาซาแจ้งวัฒนะ เมื่อปี 2553 และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 ติดตั้งที่เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลอุบลราชธานี และในปี 2561 ที่เซ็นทรัลพลาซาลำปาง, เชียงราย, นครราชสีมา, พิษณุโลก, มหาชัย, ระยอง และคาดว่าในปี 2562 จะมีการใช้หลังคาโซลาร์เซลล์ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาอีก 15 ศูนย์ และได้ติดตั้งจุดชาร์จไฟฟ้า EV Charger เพื่อรองรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ลานจอดรถของทางศูนย์การค้ากว่า 20 สาขาแล้ว
นอกจากนี้ก็ยังเน้นการลดใช้ถุงพลาสติกด้วย เนื่องจากเป็นธุรกิจค้าปลีก จึงมีแคมเปญการรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก แล้วก็โครงการรีไซเคิลขวดพลาสติก โดยจัดตั้งตู้รีไซเคิลขวดพลาสติกนำร่อง ณ ศูนย์การค้าภายในธุรกิจของเซ็นทรัล เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ ทั้งผู้เข้าใช้บริการในศูนย์การค้าฯ คู่ค้า แล้วก็พนักงานในองค์กร และเตรียมทำโครงการเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน นำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อจัดทำในเรื่องสิ่งแวดล้อมยั่งยืนอย่างจริงจัง ซึ่งจะเห็นโครงการออกมาเร็วๆ นี้ และ 4.ด้านความสงบสุขและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมก็จะมีการอนุรักษ์ความเป็นดั้งเดิม เป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงามของแต่ละท้องถิ่น เช่น สืบสานลายผ้าเก่าๆ จัดตั้งเป็นหอศิลป์ของจังหวัดที่มีจุดเด่น เป็นต้น
ผู้บริหารเซ็นทรัล
ด้าน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้กล่าวว่า การทำธุรกิจที่ยั่งยืน กับการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ ประเทศอย่างยั่งยืน มีความคล้ายกันอย่างมาก เพราะเมื่อจะดำเนินการสิ่งใด ต้องคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และผลกำไรก็ต้องเติบโตในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ เช่นเดียวกับธุรกิจของเซ็นทรัล ควรนึกถึงความยั่งยืน ไม่เช่นนั้นธุรกิจจะไม่ยืด ในแต่ละยุคแต่ละสมัยจะมีการจัดการที่ต่างกัน อย่างอดีตอาจจะนึกถึงแต่ความผาสุกของลูกค้า ตอบสนองผู้เกี่ยวข้อง แต่มาปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงชุมชน แล้วก็คุณภาพชีวิตคนมากขึ้น สะท้อนวิวัฒนาการในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วก็เรื่องประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนที่ต้องนำมารวมกัน เช่น บรรยากาศของโลกที่แย่ขึ้นในทุกๆ วัน เนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อม จนเกิดภัยพิบัติ ทำให้เกิดความเสียหายก็จะกระทบธุรกิจเอกชนไปด้วย ตัวอย่างเช่น สื่อโซเชียล ที่นำเสนอภาพเต่าทะเลมีหลอดพลาสติกที่ใช้ดูดน้ำไปติดที่จมูกเต่า หรือพลาสติกที่อยู่ในท้องปลาวาฬ เป็นเหตุให้เสียชีวิต เกิดความน่าเป็นห่วงในท้องทะเล ภาพที่ปรากฏออกมาเหล่านี้ทำให้สังคมแอนตี้พลาสติก ก็จะทำให้ธุรกิจปิโตรเคมีเดือดร้อน หรือ ธุรกิจท่องเที่ยว ถ้าทะเลไม่สะอาด ชายหาดไม่น่ามอง ก็จะทำให้การท่องเที่ยวทะเลลดลง ร้านอาหารทะเลก็ซบเซาตามไปด้วย เป็นต้น
“หากเราคิดจะพัฒนาแต่ในเมือง ไม่คิดถึงชนบท หรือที่อื่นๆ เลย วันข้างหน้าฐานการพัฒนาเศรษฐกิจก็ไม่กว้าง ไม่แข็ง กำลังซื้อของคนก็ลดลง หรือถ้าเราไม่คิดถึงเรื่องการศึกษาของคน ต่อไปพนักงานของเราก็จะไร้ค่า หาคนเก่งๆ ยาก ก็เป็นอีกประการ สองอันนี้มันพันกันหมด ก็เลยเป็นที่มาว่า การทำธุรกิจเพื่อให้ได้กำไรธุรกิจกับการคิดสิ่งดีๆ เพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมให้ไปด้วยกันได้ ตรงกับความต้องการสังคม สมมติผู้บริโภคต้องการผักปลอดสารเคมี ถ้าชาวไร่เขาปลูกตามสังคมต้องการอาจจะได้ราคาสูง ก็เป็นกำไร ส่วนสังคมในฐานะผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์ด้วย” ดร.ประสารกล่าว
อย่างไรก็ตาม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการช่วยเหลือสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ติดตามรายละเอียดโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” (Central Tham) ได้ที่ เฟซบุ๊กและไอจี @centraltham
ผลผลิตปลอดสารพิษของชุมชนที่ร่วมโครงการ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |