สศอ.ถกแนวร่วมศึกษาตั้งโรงงานผลิตรถไฟในไทย


เพิ่มเพื่อน    

สศอ.คุยแนวร่วม ศึกษาตั้งโรงงานผลิตรถไฟในไทย คาดเห็นผล ก.ย.นี้ ออกทีโออาร์หวังพัฒนาเทคโนโลยี-บุคลากร ลดการนำเข้า สร้างเม็ดเงินในประเทศเพิ่มขึ้น

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้หารือเกี่ยวกับโครงการแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.2561 โดยเบื้องต้นผลการหารือร่วมกันต้องการกำหนดให้รัฐมีการกำหนดขอบเขตการประมูล (ทีโออาร์) การจัดซื้อแบบมีเงื่อนไข เพื่อให้มีการลงทุน การจัดซื้อในประเทศ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรระบบรางในประเทศเพิ่มขึ้น

“จากการหารือเบื้องต้นของโครงการคือ เป็นแนวคิดของ รมช.กระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้มีการพัฒนาระบบรางแบบยั่งยืน ดังนั้นจึงมองว่า หากกำหนดในทีโออาร์ว่าผู้ที่จะเข้ามาพัฒนาระบบรางในประเทศควรจะมีโรงงานประกอบรถไฟ สร้างคน สร้างงาน พัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ” นายณัฐพล กล่าว

ทั้งนี้ ศสอ.จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาพรวมของอุตสาหกรรมระบบราง โดยทำร่วมกับ รฟท. การฝึกฝนบุคลากร ทำร่วมกับ สวทช. เป็นต้น และเตรียมสรุปผลการศึกษาร่วมกันอีกครั้งในเดือน ก.ย.นี้หากผลการศึกษาผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลจะต้องมีการกำหนดรูปแบบ ความเหมาะสมของการก่อสร้างโรงงาน และต้องมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงกว่าการนำเข้าตู้รถไฟมาจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขั้นต่ำ 339 ตู้ ขณะที่ รฟท. มีความต้องการหัวรถจักร 314 ตู้ รถขนส่งสินค้า 3,460 ตู้ และรถไฟฟ้าความเร็วสูง 1 สาย 42 ตู้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมระบบรางรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางแต่อย่างใด 

ขณะที่รัฐบาลมีแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2561 วงเงินลงทุนระบบรางสูงกว่า 1.5 ล้านล้านบาท แต่ที่ผ่านมาไทยใช้วิธีการนำเข้าขบวนรถไฟแบบสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ไม่เคยมีการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผลิตรถไฟฟ้าหรือหัวรถจักรในประเทศ

อย่างไรก็ตามหากมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตและซ่อมแซมรถไฟในประเทศ โดยกำหนดให้มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศจะก่อให้เกิดการลงทุนขั้นต่ำกว่า 500 ล้านบาท สามารถซื้อรถไฟได้ในราคาที่ลดลง 1.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็นจำนวนรถไฟ 6,000 ตู้ คิดเป็นค่าจ้างแรงงานกว่า 2,000 ล้านบาทที่จะกลับเข้าสู่ประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานที่ใช้ความรู้ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"