'หมออุดม'ขู่ถ้ามหา'ลัย ยังผลิตแต่สาขาตกงาน จะต้องถูกตัดงบฯ


เพิ่มเพื่อน    


24ส.ค.61- จัด เสวนา กระทรวงใหม่ : โอกาสและความท้าทาย สำหรับมหาวิทยาลัย "สุวิทย์" ชี้การจัดตั้งกระทรวงอุดมฯนับเป็นต้นแบบการปฎิรูป เริ่มตั้งแต่บุคคลากร ระบบราชการ และการใช้งบฯ คาดพ.ร.บ.2ฉบับที่เป็นของกระทรวงวิทย์ฯเดิมและอุดมศึกษาฯ เข้าครม.เดือนก.ย.นี้ หมออุดมฯเผยมหา'ลัย ถ้ายังผลิตบัณฑิตสาขาตกงาน จะต้องถูกตัดงบประมาณ ประเทศต้องการคนด้านวิทย์ฯอีกมาก 

ที่ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) - เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) จัดงานเสวนา ภายใต้เรื่อง “กระทรวงใหม่ : โอกาสและความท้าทาย สำหรับมหาวิทยาลัย” โดย นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รมว.วท.) กล่าวว่า การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและ นวัตกรรม ให้ทราบถึงแนวคิดความก้าวหน้าในการดำเนินการ ซึ่งหัวใจของการจัดตั้งก.การอุดมฯ ต้องยึดหลัก 2 ภารกิจ 8 หลักการ 3 ปฏิรูป โจทย์สำคัญคือ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและการเตรียมพร้อมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และประเทศไทย 4.0 ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องมีบทบาท ขณะเดียวกัน การจัดตั้งก.การอุดมฯ ยังถือเป็นต้นแบบการปฏิรูปอย่างแท้จริง เพราะมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีคุณภาพ การปฏิรูปเป็นราชการน้อยลง ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติมากขึ้น มีการปรับกฎระเบียบเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถทำงานวิจัยและใช้ประโยชนร์ได้เต็มที่ ตลอดจนจะเกิดการปฏิรูปงบประมาณ เพราะจะให้งบวิจัยมากกว่า 1 ปีเป็นก้อนใหญ่ เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาต่อยอดงานวิจัยไปสู่นวัตกรรม และสร้างงานวิจัยชี้นำอนาคตประเทศ เพราะฉะนั้น ต่อไปการสร้างงานวิจัยจะต้องมีเป้าหมายชัดเจน 


“ครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ได้มาพูดคุยถึงความก้าวหน้าการจัดตั้งก.การอุดมฯ ซึ่งในส่วนของ วท. กำลังเร่งดำเนินการกฎหมายต่างๆ ทั้งร่างพ.ร.บ.วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.... อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง พ.ศ....ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะเป็นผู้ผลักดัน คาดว่าทั้ง 2 ฉบับจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งการจัดตั้งก.การอุดมฯ เกิดขึ้นทันในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน”รมว.วท. กล่าว 


ด้าน นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า ต่อไปมหาวิทยาลัยต้องทบทวนการเปิดหลักสูตรต่างๆ ที่ต้องสนองกับยุทธศาสตร์ประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยใดจัดหลักสูตรได้ตรงก็จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ แต่ถ้าหลักสูตรใดเปิดแล้วผลิตบัณฑิตไม่ตรงความต้องการ ตกงานมาก เช่น สาขาด้านสาธารณสุขตกงานนับหมื่นคน ก็เป็นเรื่องที่สภามหาวิทยาซึ่งมีอำนาจอนุมัติหลักสูตรต้องทบทวน เพราะเราไม่มีอำนาจตรงนี้แต่ที่ทำได้คือ การแนะนำและตัดลดงบประมาณลง  อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวย้ำเสมอว่าสาขาด้านสังคมยังต้องมีการผลิต แต่ช่วงนี้ประเทศต้องการคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนประเทศ จึงต้องเร่งผลิตบุคลากรด้านนี้ก่อน อย่างไรก็ตาม ก.การอุดมฯ ที่จะเกิดขึ้นจะต้องมีขนาดเล็ก คล่องตัว เน้นตอบโจทย์ประเทศและผลักดันประเทศ โดยตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดโครงสร้างใหม่ ซึ่งก็ต้องทำให้คนทำงานเข้าใจ เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนความคิดที่มองไปข้างหน้า มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดด้วยว่าหากคนทำงานไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็อาจจะเปิดให้มีการเออรี่รีไทม์ในอนาคต
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"
Thailand Web Stat