24 ส.ค.61 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ สมาคมฯ เรื่อง "ขอให้ใช้ ม.44 ตั้ง กก.อิสระสอบเอาผิดผู้บังคับบัญชากรณีพลทหารคชา" ระบุว่า ตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนเป็นการทั่วไปว่าพลทหารคชา อายุ 22 ปี ทหารเกณฑ์สังกัดบังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน 3 รอ.) จ.ลพบุรี ซึ่งญาติเปิดเผยว่า ถูกพลทหารรุ่นพี่ 3 คนซ่อมจนหมดสติและน็อกไป ซึ่งแพทย์ระบุว่า มีโอกาสรอดมีแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ และให้ทำใจหากฟื้นมาอาจไม่เหมือนเดิม ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยและคดีอาญา โดยทางวินัยได้สั่งลงโทษพลทหารทั้ง 3 นายไปแล้ว รวมถึงนายสิบเวรที่กำกับดูแลกำกับพลทหารอยู่ด้วย ส่วนโทษทางอาญาที่เป็นคดีทำร้ายร่างกาย ได้พาครอบครัวไปดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สภ.เมืองลพบุรีแล้วนั้น
กรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในค่ายทหาร ซึ่งมีระเบียบวินัย กฎเกณฑ์การดูแลที่เข้มงวดอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ สะท้อนให้เห็นถึงความหย่อนยานในการควบคุมดูแลทหารภายในค่ายดังกล่าว จนนำมาสู่เหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดเยี่ยงนี้ขึ้น ซึ่งผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นจะปฏิเสธความรับผิดชอบ แล้วลงโทษแต่เฉพาะพลทหารทั้ง 3 นายที่ก่อเหตุเท่านั้น อาจไม่เพียงพอต่อการรักษาภาพลักษณ์ของกองทัพได้
สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงใคร่ขอเรียกร้องไปยัง หน.คสช. และผู้บัญชาการกองทัพบก ได้โปรดใช้อำนาจ ตาม ม.44 ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476 ในการลงโทษผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 ผบ.กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 พัน 3 รอ.) ตามกฎหมายวินัยทหาร เพราะผู้บังคับบัญชามีหน้าที่จัดการระวังรักษาวินัยทหารที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่นั้นโดยต้องกวดขันอยู่อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยและคดีอาญาต่อผู้บังคับบัญชาของพลทหารดังกล่าว ถ้าจะให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบ จำเป็นที่จะต้องมีกรรมการจากบุคคลภายนอก เช่น ตัวแทนจากกรรมการสิทธิมนุษยชน ตัวแทนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน สภาทนายความ และอัยการ เข้าไปทำหน้าที่ด้วย โดยใช้อำนาจตาม ม.44 แต่งตั้งจึงจะชอบ
ทั้งนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบันภาพลักษณ์ของทหารได้ตกต่ำถึงขีดสุดตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เพราะมีเหตุการณ์หลายเรื่องที่เกิดขึ้นในค่ายทหารและในกองทัพแต่ยังไม่สามารถคลี่คลายปัญหาให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบได้ได้อย่างใส ทั้งกรณีของน้องเมย กรณีทหารละเมิดทางเพศเด็กชาย กรณีพลทหารรับใช้ กรณีการปล่อยทหารกลับบ้าน กรณีการประกอบเลี้ยงอาหารทหาร ฯลฯ ดังนั้นหากมีการ “ปฏิรูปทหาร” เปลี่ยนแนวคิดในการจัดการลงโทษทหารเสียใหม่ โดยอาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยทหาร 2476 ให้ทันต่อยุคสมัย ก็เชื่อว่าภาพลักษณ์ของทหารในสายตาประชาชนส่วนใหญ่ก็จะกลับมาดีเหมือนเดิม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |