กนอ.ร่วมซีพีตั้งนิคม"ซีพีจีซี" รับนักลงทุนจีน เตรียมพื้นที่กว่า 3 พันไร่ ใช้งบหมื่นล้านบาท พัฒนาภายใน 3 ปี คาดเกิดการลงทุน 6 หมื่นล.
นางสุวัฒนา กมลวัทนนิศา รองผู้ว่าการการนิคมอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยภายหลังร่วมลงนามจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมซีพีจีซี บนพื้นที่ประมาณ 3,068 พันไร่ ร่วมกับบริษัท ซี จี คอร์เปอเรชั่นจำกัด ที่เป็นบริษัทลูกของบริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด(มหาชน) ว่าการจัดตั้งนิคมดังกล่าวเพื่อรองรับการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดในพื้นที่อีอีซีได้อย่างสะดวกจากเครือข่ายเส้นทางคมนาคมที่มีศักยภาพ โดยจะมุ่งเน้นรองรับนักลงทุนที่สื่อสารด้วยภาษาจีนอาทิ ฮ่องกงไต้หวัน จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมถึงกลุ่มนักลงทุนเกาหลีและญี่ปุ่นด้วย
นายสุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการบริษัท ซี จี กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว จะเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2,205 ได้ ในพื้นที่ อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอบ้านค่ายจังหวัดระยอง ซึ่งคาดว่ามูลค่าการลงทุนของโครงการจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยจะมีการพัฒนาพื้นที่ภายในระยะเวลา 3 ปี แบ่งเป็นระยะแรกพื้นที่ 900 กว่าไร่ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)เสนอให้กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว และคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนหลังจากนี้ และจะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการเฟส 1 ภายใน ต้นปี 2562 ขณะที่ระยะที่ 2 จะแบ่งพื้นที่ประมาณ 700 ไร่เพื่อพัฒนาภายในปีต่อไป และระยะสุดท้ายพื้นที่ 500 ไร่จะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2564
ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้า ให้เกิดการลงทุน ไม่น้อยกว่า 60,000 บาท และการจ้างงานไม่น้อยกว่า 20,000 บาท โดยจะเน้นที่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่ประเทศจีนมีความชำนาญ อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัจฉริยะ อุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรม อาหารแปรรูป โดยคาดว่าทั้ง 3 เฟสแล้วเสร็จจะสามารถรองรับได้ประมาณ 80 โรงงาน ซึ่งจะนำต้นแบบการพัฒนานิคมจากกว่างซีประเทศจีนเข้ามาใช้
"ต้นปีหน้าเราจะเริ่มการพัฒนาเฟส 1 ทำพื้นที่ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบน้ำและไฟฟ้า โดยจะพัฒนาขึ้นให้เป็นนิคมที่ทันสมัย และจะทำการตลาดเพื่อเปิดขายพื้นที่ด้วย โดยเบื้องต้นมีผู้ให้ความสนใจแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราจักใช้กลยุทธ์ความได้เปรียบของพื้นที่ และการรองรับอุตสาหกรรมใหม่ เป็นการดึงดูดนักลงทุน โดยยืนยันว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้ และส่งออกผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตได้ไปทั่วอาเซียน"นายสุนทร กล่าว
อย่างไรก็ตามการลงทุนนิคมดังกล่าวมีสัดส่วนการถือหุ้นคือซี.พี.แลนด์ 50% , บริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป ,ไชน่า ที่ถือ 48% และบริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป ยีอาน (ประเทศไทย) จำกัด ที่ถือหุ้น 2% ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวไม่มีความกังวลถึงประเทศไทยจะมีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจีนหลายแห่งแล้วก็ตามเนื่องจากประเทศจีนมีการพัฒนาไปเยอะและ มีกลุ่มอุตสาหกรรมหลายรูปแบบ โดยเชื่อว่าไทยมีความเหมาะสมที่สุดในการลงทุน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |