ผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา ออกโรงค้านเพิ่มโทษลืมพกพาใบขับขี่


เพิ่มเพื่อน    

23 ส.ค.61 - นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา กล่าวถึงกรณีทีมีการเสนอแก้กฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 เข้าด้วยกันให้เป็นกฎหมายฉบับเดียว อีกทั้งมีการเพิ่มอัตราโทษค่าปรับให้สูงขึ้น เกี่ยวกับการขับขี่รถที่ไม่พกพาใบอนุญาตขับขี่ และใบอนุญาตขับขี่หมดอายุ ว่า ในความเห็นส่วนตัวของตนซึ่งจะเป็นความเห็นทางวิชาการไม่เกี่ยวกับคดีความ มองว่าเรื่องนี้ต้องแบ่งปัญหาออกเป็น 2 อย่าง คือ 1.มีใบขับขี่หรือไม่ก่อน อาจจะมีใบขับขี่แต่ไม่ได้พกหรือ 2.คือกรณีที่ไม่มีใบขับขี่หรือก็คือไม่ได้ผ่านการทดสอบทางทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติ

ในกรณีแรกคือได้รับอนุญาตให้มีใบขับขี่แต่ลืมพกพา อันนี้ตนมองว่าไม่ใช่คดีที่ร้ายแรง เพราะว่าเขาได้รับอนุญาตแล้ว เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้พก เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความไม่สะดวกของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ว่าจะไม่สามารถไปยึดใบขับขี่ได้ ในกรณีที่มีการกระทำผิดกฎจราจร ความผิดตรงนี้ถือว่าไม่ได้มีความร้ายแรงเพราะเขามีความสามารถที่จะขับรถผ่านการอบรม มีใบขับขี่เป็นเครื่องการันตี ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ถนนร่วมทาง อันนี้จึงไม่ควรจะไปเพิ่มโทษ หรือถ้าเพิ่มก็ควรเป็นโทษปรับ แต่ต้องไม่ควรมากจนเกินไป

ส่วนประการที่สองนั้นน่าสนใจ คือกรณีบุคคลผู้ไม่มีใบขับขี่ซึ่งต้องสันนิษฐานไว้ว่า เป็นผู้ไม่มีความชำนาญและไม่ได้รับการอบรมทดสอบในการขับขี่จากกรมขนส่งทางบก ทำให้การควบคุมรถซึ่งคือเครื่องจักร ในต่างประเทศจะถือเป็นโทษที่ร้ายแรง เพราะบุคคลคนนั้นที่ไม่มีความชำนาญในการขับรถ เขาพร้อมที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้รถร่วมทางหรือก่อให้เกิดทำให้ผู้ที่เดินถนนเป็นอันตราย ที่ผ่านมามีคดีเยอะมากที่เกิดจากผู้ที่ไม่มีใบขับขี่ ในต่างประเทศจะถือความผิดลักษณะนี้ร้ายแรง รองลงมาจากความผิดฐานเจตนาฆ่ากันเลยทีเดียว 

“หรือเมาแล้วขับที่เมืองไทยยังให้มีการจับแล้วสั่งคุมประพฤติ แต่ต่างประเทศถือว่าเป็นโทษที่ร้ายแรงก็สั่งจำคุกเลย ทั้ไม่มีใบขับขี่หรือเมาแล้วขับในสหรัฐอเมริกาเขาถือว่าเป็นอาชญากรรม ตรงนี้ผมเห็นด้วยในเรื่องเพิ่มโทษ”

นายศรีอัมพร กล่าวอีกว่า แต่ตนก็ขอตั้งข้อสังเกตว่า การที่มีการตั้งโทษจำคุกหรือปรับไว้สูงมากจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องปรามต่ออุบัติเหตุจากการจราจรหรือไม่ เพราะถ้าหากโทษสูงมากอาจจะมีกระบวนการหนีไม่ให้มีการดำเนินการทางกฎหมาย ตรงนี้อาจจะเกิดกระบวนการตัดตอนโดยการให้ทรัพย์สิน หรือเรียกทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการของกฎหมายขึ้นมา 

มีคนมองโทษสูงเกินไปมันจะไม่เหมาะสม เพราะว่าคนที่พอจะแก้ไขได้ในทางวิชาการก็จะมีความเห็นว่าศาลนำคนเข้าคุกมากเกินไป และศาลไม่ควรจะนำคนเข้าคุกเลยควรให้โอกาสเขาให้รอการลงโทษและกำหนดโทษ ฝ่ายที่ที่ออกกฎหมายก็มองอีกมุม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผล แต่ตนมองว่าถ้าจะเอากลางๆ การกำหนดโทษสูงเกินไปบางทีก็ไม่ได้เป็นการป้องปรามอาชญากรรมแต่จะเป็นการชนแล้วหนีสูงขึ้น เรื่องนี้เป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าเราฟันไปก็จะเกิดเอฟเฟคกลับมา การกำหนดโทษปรับสูงและจำคุกมากจะต้องดูบริบทของสังคมไทย จริงอยู่ผู้ที่ร่างกฎหมายก็คือรัฐบาลและสภาบางทีก็มองในด้านเดียว จริงๆ เราต้องดูผลกระทบด้วย จะหนักไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้

“การลงโทษอย่างค่าปรับยังไงก็เป็นภาระประชาชนอยู่แล้ว ทฤษฎีบอกไว้ว่าถ้าโทษต่ำเกินไปเขาก็ไม่กลัว เราก็ต้องดูตามค่าของเงินตรงนี้ก็สามารถปรับให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าสูงจนเกินไปก็ไม่เหมาะสม ต้องให้ความยืดหยุ่นในการใช้ดุลพินิจในการลงโทษ อย่างคดียาเสพติดสมัยก่อนมียาบ้า นำเข้ามาในราชอาณาจักรเม็ดเดียวก็ลงโทษได้ 2 อย่าง คือจำคุกตลอดชีวิตกับประหารชีวิต ซึ่งคนออกกฎหมายมุ่งแค่จะลงโทษไม่ให้มีคนกระทำผิดแต่ความจริงก็พบว่ายังมีคนทำมาเรื่อยๆ ผลสุดท้ายจึงได้แก้กฎหมายให้ลงโทษได้น้อยลง เราต้องดูกรณีศึกษาว่าเกิดผลกระทบอะไร ก็ถือว่าเป็นปัญหาโลกแตกที่ทำอย่างหนึ่งกระทบอีกอย่างหนึ่ง จึงต้องคิดว่าทำแค่ไหนอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบตามมามีทฤษฎีทางอาชญวิทยาที่ระหว่างประเทศที่เขายอมรับกันเขาระบุว่า การเพิ่มโทษที่สูงเกินไปไม่ได้ทำให้การกระทำผิดในเรื่องนั้นลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เรื่องนี้ถกเถียงกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 แต่ยังใช้ได้อยู่” ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"