จัดระเบียบสื่อใหม่


เพิ่มเพื่อน    


    สังเกตไหมว่า 2 มหกรรมกีฬาที่สุดจะคึกคักในอดีต อย่างเอเชียนเกมส์ และฟุตบอลโลก แต่พอมาถึง พ.ศ.นี้ กลับสุดเงียบเหงา
    กระแสที่เคยโหม หรือสกู๊ปที่สมัยก่อนจะต้องมีการปูพื้นเป็นเดือนๆ สมัยนี้แทบไม่เคยเห็น ที่สำคัญคนจำนวนมากในประเทศยังแทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ช่องไหนเป็นผู้ถ่ายทอดสด
    ปัญหานี้น่าขบคิดเป็นอย่างมากว่า สาเหตุมาจากอะไร 1.เพราะทีวีดิจิตอล? ปัจจุบันทีวีมีหลายช่องมากเกินไป ทำให้ความสนใจในช่องใดช่องหนึ่งมีน้อยเกินไป? 2.กฎ Must Have ของ กสทช. ทำให้เกิดปัญหา เพราะทำให้ทีวีไม่กล้าลงทุน เนื่องจากการซื้อลิขสิทธิ์ในมูลค่าที่สูง แต่ไม่สามารถหาประโยชน์ได้เท่าที่ควร 3.พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง และทีวีกลายเป็นสื่อที่ถูกให้ความสำคัญน้อยลง หรือจะมีสาเหตุอื่นๆ อีกก็แล้วแต่
    แต่ผลที่ชัดเจนคือ เมื่อกระแสไม่ฮิต บรรดาผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการทำกิจกรรมล้อไปกัยทัวร์นาเมนต์ ก็ไม่กล้าลงทุน เพราะกลัวจ่ายไปแล้วไม่คุ้ม สุดท้ายยิ่งทำให้มหกรรมกีฬาเหล่านี้ได้รับความสนใจลดลงไปอีก
    คำถามก็คือ อนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่จะไม่มีนักลงทุนรายไหนกล้าลงทุนซื้อลิขสิทธิ์มาถ่ายทอดให้รับชมอีก ซึ่งปัญหานี้จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่  และเลวร้ายไปกว่านั้น คนไทยอาจจะต้องไปรับชมการถ่ายทอดกีฬาจากแพลตฟอร์มข้ามชาติแทน 
    ข้อสังเกตนี้ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เพราะในเร็วๆ นี้ แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ก็เพิ่งตกลงสัญญากับพรีเมียร์ลีก ซื้อลิขสิทธิ์มูลค่ากว่า 200 ล้านปอนด์ (หรือกว่า 8.78 พันล้านบาท) คว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 2019-2020 ใน 4 ประเทศของเอเชีย ประกอบไปด้วย ไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาว แม้ว่าแผนธุรกิจของเฟซบุ๊กจะยังไม่ระบุว่า จะเป็นแบบใด รายได้ก็ต้องไหลออกนอกประเทศแน่นอน 
    และเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์ม OTT ระดับโลก การควบคุมในเรื่องของคุณภาพและการใช้บริการ รวมถึงการให้เยียวยา ก็เป็นเรื่องยาก เพราะไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในไทย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
    ซึ่งถามว่า แพลตฟอร์มเหล่านี้จะมายอมให้ถูกควบคุมภายใต้กฎหมายไทยหรือไม่ ซึ่งก็คิดว่ายาก เพราะหมายความว่า เขาจะต้องมาจดทะเบียน ทำธุรกิจทีวีในประเทศไทย ซึ่งมีความยุ่งยากมาก คิดว่าในทางปฏิบัติเขาไม่ทำแน่นอน
    คำถามคือ กสทช.จะกำกับดูแล และคุ้มครองคนในประเทศไทยอย่างไร เรื่องนี้ข้อกฎหมายเดิมคงจะทำไม่ได้ และแนวโน้มของ OTT ต่างชาติก็เข้ามาให้บริการอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่ กสทช.อาจจะต้องคิดอย่างจริงจังในการยกระดับการกำกับดูแลแพลตฟอร์ม OTT แบบใหม่ อย่าให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยมาแก้ เหมือนอย่างในอดีตที่ผ่านมา
    ขณะเดียวกัน เรื่องของกฎ Must Have กีฬาสำคัญๆ ของ กสทช.มีดังนี้ 1.ซีเกมส์ 2.อาเซียนพาราเกมส์ 3.เอเชียนเกมส์ 4.เอเชียนพาราเกมส์ 5.โอลิมปิกเกมส์ 6.พาราลิมปิกเกมส์ และ 7.ฟุตบอลโลก ซึ่งเริ่มเห็นแล้วว่ามีปัญหา เพราะมันส่งผลให้ไม่มีสถานีทีวีช่องไหนกล้าจะลงทุนกับคอนเทนต์ ที่เหมือนซื้อมาแจกฟรี เดือดร้อนรัฐบาลต้องออกหน้าไปบีบคอสปอนเซอร์พันธมิตรมาช่วย
    ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลปกติคงไม่สามารถจะดำเนินการในลักษณะนี้ได้ ฉะนั้น กสทช.จะต้องทบทวนกฎนี้หรือไม่ เพราะปัจจุบันมันไม่ใช่ Must Have บนทีวีปกติแล้ว แอปพลิเคชัน OTT ก็มีการใช้ช่องโหว่ในการถ่ายทอดการแข่งขันฟรี โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ซึ่งก็เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ลงทุนเช่นกัน
    มองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องรออีก เพราะตอนนี้แม้มีเอเชียนเกมส์ แต่มหกรรมโอลิมปิกเกมส์ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ดังนั้นก็ควรหยิบยกประเด็นเหล่านี้มาคุยกัน เพื่อสร้างกติกาใหม่ที่ชัดเจน และก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และที่สำคัญคนดูจะต้องได้รับประโยชน์สูงสุดเช่นเดิม. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"