กฟน. จับมือฐานทัพเรือกรุงเทพฯ รวมพลังปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมปักเสาไฟสร้างแนวป้องกันคลื่นทะเล ฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

วันนี้ (22 สิงหาคม 2561) นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) พร้อมด้วย พลเรือตรี ยงยุทธ พร้อมพรหมราช ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ กองทัพเรือ ร่วมลงนามความร่วมมือ โครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนและการทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง MEA’s Model พร้อมเปิดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์เพิ่มพื้นที่ป่าฟื้นฟูธรรมชาติ และเสริมเสาไฟฟ้าสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ กองทัพเรือ ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยว่า  กฟน. ได้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 โดยในครั้งนี้ กฟน. ได้สนับสนุนงบประมาณการปลูกป่าชายเลนและบำรุงรักษาป่าชายเลนเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งให้แก่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2565 จำนวนเงิน 2,000,000 บาท (ส่งมอบรายปี ปีละ 400,000 บาท) รวมถึงสนับสนุนเสาไฟฟ้าที่รื้อถอนจากโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในโครงการต่างๆ ที่ไม่ใช้แล้ว และยางรถยนต์เก่า ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อดำเนินการปักเสาเพื่อใช้เป็นแนวป้องกันคลื่นทะเลในบริเวณพื้นที่ป้อมพระจุลจอมกล้า รวมจำนวนเงินสนับสนุนทั้งสิ้น 3,000,000 บาท พร้อมดำเนินการปรับปรุงอาคารนิทรรศการเปิดโลกป่าชายเลนและภูมิทัศน์โดยรอบให้มีสภาพสวยงาม

ที่ผ่านมา กฟน. ได้ทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยนำเสาไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานและยางรถยนต์เก่า นำมาทำเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และดักตะกอน เป็นระยะทางกว่า 1,100 เมตร พร้อมได้ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วพบว่า แนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งด้วยเสาไฟฟ้าสวมด้วยยางรถยนต์ ช่วยลดความแรงของกระแสน้ำทำให้มีปริมาณการสะสมของตะกอนหลังเขื่อนเพิ่มมากขึ้น ต้นกล้าและลูกไม้ที่อยู่หลังแนวป้องกันมีปริมาณหนาแน่นขึ้น รวมถึงมีการกลับมาของสัตว์น้ำนานาพันธุ์และนกนานาชนิด มีแนวโน้มการอยู่รอดเพิ่มขึ้น ส่วนยางรถยนต์ที่สวมอยู่กับเสาไฟฟ้าจากผลการศึกษาไม่พบการสลายตัวที่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม หรือส่งผลกระทบทางลบต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตและป่าชายเลนแต่อย่างใด จากผลสำเร็จที่ กฟน. นำเสาไฟฟ้าที่รื้อถอนและไม่ใช้งานแล้วจากโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในโครงการต่างๆ นำมาปักเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนนั้น ทำให้ กฟน. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคหน่วยงานเดียวของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ Asia Responsible Entrepreneurship Awards 2018 ในสาขา Green Leadership เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ณ Manila Marriott Hotel กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ อีกด้วย นอกจากนี้ กฟน. ยังเดินหน้าดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างต่อเนื่อง โดยส่งมอบเสาไฟฟ้าในทุกโครงการเพื่อใช้กันคลื่นกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเลเพื่อให้ครอบคลุมชายฝั่งทะเลกรุงเทพฯ เขตบางขุนเทียน เป็นระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร

สำหรับกิจกรรม “ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9” นั้น จัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 12 สิงหาคม 2561 โดยการไฟฟ้านครหลวง ร่วมกับฐานทัพเรือกรุงเทพ พร้อมเหล่าจิตอาสา จำนวนกว่า 200 คน ร่วมกันปลูกกล้าไม้ เพื่อเป็นกำแพงลดความรุนแรงของคลื่น ช่วยชะลอความเร็วของลมพายุให้ลดลงก่อนที่จะขึ้นสู่ฝั่ง ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างระบบนิเวศชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์น้ำ เป็นที่อยู่อาศัย และที่อนุบาลในระยะตัวอ่อน โดยกิจกรรมครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนเกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์ป่าชายเลน และนำความรู้ที่ได้รับมาขยายผลต่อประชาชน และผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณรอบชายฝั่ง ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนได้อย่างยั่งยืน

 

กฟน. 60 ปี ก้าวสู่วิถีอนาคต

Leveraging beyond Tomorrow

……………………………………………

"Smart Metro"

| ระบบไฟฟ้ามั่นคง บริการมั่นใจห่วงใยสังคม |

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"