เก็บ'ดินมายา'ย้อมผ้าใส่ลาย ฟื้นความสุขชุมชนหน้าถ้ำ


เพิ่มเพื่อน    

 ชุมชนหน้าถ้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรม

 

      ชุมชนเล็กๆ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา รอยเท้าคนเดินขึ้นเขาขนดินมายายังคงมีอยู่สม่ำเสมอ หลังจากที่ช่วงหนึ่งอาชีพขนดินมายาเกือบจะสูญหายไป เพราะคนส่วนใหญ่เข้าไปหางานในเมือง แต่การรวมกลุ่มเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง นำดินมายาที่มีอยู่ในภูเขาถ้ำและภูเขากำปั่นมาเป็นวัตถุดิบหลักทำสีย้อมบนผืนผ้า ทำให้ชุมชนไทยพุทธและไทยมุสลิมเข้มแข็งขึ้นจากความสามัคคีปรองดอง รวมถึงมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้ามายาขึ้นชื่อ
    ตอนนี้ชุมชนหน้าถ้ำกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ มีองค์กรต่างๆ มาเยี่ยมชมไม่เว้นวัน นอกจากกลุ่มสีมายาแล้ว ยังมีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้ต่อยอดสร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชน

 


สีดินมายา วัตถุดิบย้อมสีหาได้ในท้องถิ่น

   

      การขยายชุมชนต้นแบบในแดนใต้สำคัญ เหตุนี้ นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ลงพื้นที่ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบชุมชนหน้าถ้ำ หมู่ที่ 1 ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา พร้อมด้วยศาสนิกชนทุกศาสนาจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ตามโครงการเสริมสร้างชุมชนคุณธรรมตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ในโครงการ 244 หมู่บ้าน กิจกรรม : ศาสนิกสัมพันธ์ชายแดนใต้ ประจำปี 2561 เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์ และนำไปปรับใช้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมที่มีความหลากหลายวัฒนธรรม

 

นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัด วธ. ชมการสาธิตย้อมผ้ามายาเอกลักษณ์ยะลา 


    นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัด วธ. กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ วธ.ส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น สนับสนุนการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การศึกษาดูงานที่ชุมชนหน้าถ้ำได้เปิดโลกทัศน์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานศาสนาและวัฒนธรรม จุดเด่นชุมชนนี้ได้สืบทอดภูมิปัญญาในอดีต มีการรวมกลุ่มกันแก้ปัญหา พัฒนาศักยภาพจนพึ่งพาตนเองได้ หนึ่งในนั้นคือ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย ผ้าสีมายา อีกทั้งมีส่วนร่วมเปิดพื้นที่บริเวณวัดถ้ำยะลาจัดตลาดวัฒนธรรม สืบสานวิถีถิ่น มีผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารท้องถิ่นชาวไทยพุทธและมุสลิมจำหน่าย เช่น ข้าวยำ ละแซ ขนมเจาะหู อีกทั้งมีคนรุ่นใหม่สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านรำมโนราห์ กลายเป็นแหล่งเที่ยวทางวัฒนธรรมมีทั้งชาวใต้และชาวต่างชาติมาเยี่ยมชม กระตุ้นเศรษฐกิจเข้าพื้นที่ สร้างการรับรู้ใหม่ๆ 
    "ชุมชนหน้าถ้ำมีความสวยงามหลายอย่าง ทั้งถ้ำ ธรรมชาติ และความงดงามของพหุวัฒนธรรม ที่สำคัญนำหลักศาสนามาเป็นแนวทางพัฒนาชุมชนและสอดแทรกในกิจกรรมต่างๆ หนุนให้ชาวบ้านมีคุณธรรมมากขึ้น ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายในชุมชน เมื่อทำบ้านจนสะอาดแล้ว ก็เปิดให้คนมาเรียนรู้และเป็นเจ้าบ้านที่ดี" ปลัด วธ.เน้นย้ำอยากให้ผู้นำศาสนา 4 จังหวัดศึกษาดูงานแล้วนำไปปรับใช้

 

ผ้ามายา ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม
  

      เนาวรัตน์ น้อยพงษ์ ประธานกลุ่มสีมายา กล่าวว่า ผ้าสีมายาได้แรงบันดาลใจมาจากอาชีพขนดินมายา หรือชาวบ้านเรียกว่า 'ขนขี้มายา' พบว่าเสื้อผ้าที่คนขนดินมายาสวมใส่จะติดสีดินมายา ซึ่งมีลักษณะจำเพาะในเทือกเขาถ้ำและเขากำปั่น มีความเป็นธรรมชาติและสีติดทนนาน จึงทดลองนำมาทำสีย้อมผ้า แล้วใส่ไอเดียลายจิตรกรรมจากฝาผนังถ้ำศิลป์โบราณอายุกว่าพันปีมาไว้บนผืนผ้า เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีสีและลวดลายไม่เหมือนใคร 
    "การเข้ามาเรียนรู้ในพื้นที่จะสัมผัสถึงความสุขของคนในท้องถิ่น เรานำประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพัฒนาให้กลุ่มสีมายาเติบโต โดยนำวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นอย่างดินมายา สร้างเครือข่ายกับคนขนดินมายา จนได้ของที่ระลึก ของฝากเฉพาะถิ่นของยะลา ทุกพื้นที่มีทรัพยากรในพื้นถิ่น ต้องค้นหาให้เจอ กลุ่มสีมายามีรายได้เดือนละกว่า 30,000 บาท มีสวัสดิการและการปันผลให้สมาชิก บ้านไหนขยันก็มีรายได้มากหน่อย แต่เรื่องเงินไม่สำคัญเท่าความสัมพันธ์คนในท้องถิ่นฟื้นกลับมา ที่นี่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนส่งเสริมท่องเที่ยว" ประธานกลุ่มสีมายากล่าวด้วยรอยยิ้ม และหวังจะมีโอกาสต้อนรับทุกคนมาเรียนรู้วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"