21 ส.ค)-ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยมี ศ.คลินิกพิเศษ นพ.เสรี ตู้จินดา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการปฏิรูปด้านสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมร่วมกัน ระหว่าง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข กับคณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคม เรื่องการแบนสารพิษ 3 ตัว คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ซึ่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ที่นายกฯแต่งตั้งขึ้น โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ซึ่งจะมีการประชุมพิจารณากันที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 22 ส.ค. นี้ ซึ่งเดิมทีได้เชิญคณะกรรมการปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมหารือด้วย แต่ไม่สามารถมาเข้าร่วมได้
ศ.คลินิกพิเศษ นพ.เสรี กล่าวว่า จากการหารือของคณะกรรมการ 2 คณะ มีแนวทางเดียวกัน แต่ยังไม่ 100 % ต้องนำเรื่องไปปรึกษากับคณะตัวเองก่อน ซึ่งการดำเนินการของคณะกรรมการปฏิรูปแต่ละคณะทำในลักษณะคู่ขนานกัน โดยมีบทบาทในการส่งข้อมูลไปยัง ท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้นำเรื่องเข้าไปพูดคุยในการประชุม ครม. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่มีนายกฯ เป็นประธาน และ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะมีการประชุมในวันพรุงนี้ (21 ส.ค.) ซึ่งประธานเป็นระดับรัฐมนตรีประจำสำนักนายก ฯ ไม่ใช่แค่ระดับปลัดกระทรวง คิดว่าการพิจารณาน่าจะจบ
นายอโนทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคม กล่าวว่า เรื่องนี้เรามีความเห็นตรงกัน จากการหารือเห็นว่าข้อเสียมีมากกว่าข้อดีไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความห่วงใยประชาชนทางด้านสุขภาพ แต่ทั้งนี้การตัดสินเชิงนโยบายค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งจะได้มีการนำเรื่องเข้าในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคม โดยจะมีการพูดถึงผลกระทบใน ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตจากข้อมูลที่มีเพื่อให้มีน้ำหนักในการเสนอข้อมูลไปที่ นายกฯ ส่วนในผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจคงให้ข้อมูลได้ไม่ตรงนัก
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา กรรมการปฏิรูปด้านสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประชุมเห็นพ้องว่า สารเคมีทั้ง 3 ชนิดโดยมีทั้งฤทธิ์เฉียบพลัน และระยะยาว จนต้องนอนติดเตียง ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่ามีการปนเปื้อนในอาหาร พืชผักที่เรารับประทานหากมองในแง่สังคมอาจเกิดวิกฤต คนป่วยหน้าใหม่อาจจะเพิ่มมากขึ้น โดยในเรื่องของเพศสภาพนั้น อธิบายได้ว่า 1-2 ชนิดมีผลทำให้การทำงานของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในเรื่องนี้บอกได้ในสัตว์ทดลองที่ได้มีการสำรวจสัตว์ที่อยู่ตามไร่นา ดังนั้นผลกระทบจะส่งผลต่อประชากรไทยที่มีคุณภาพเปลี่ยนแปลงไป มีผลทั้งประเทศทั้งเศรษฐกิจ สังคม ไม่ใช่แค่ป่วย ไม่ใช่แค่ตายในตอนนี้
นายวินัย ดะห์ลัน กรรมการปฏิรูปด้านสังคม กล่าวว่า ประชากรด้านแรงงานของประเทศมีแนวโน้มลดลง ซึ่งที่เหลืออยู่ก็มีปัญหาด้านสุขภาพจากสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ซึ่งหากได้รับผลกระทบแล้วเสียชีวิตเลยก็อาจจะมีปัญหาไม่มาก แต่พบว่าคนกลุ่มนี้มักอายุยาว แต่อยู่ในลักษณ์ป่วยติดเตียง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ทางสังคมแรงงานบางส่วนต้องมาดูแลคนบางส่วนที่ได้ผลกระทบเป็นระยะเวลายาวนาน ในเชิงนโยบายค่อนข้างเป็นปัญหาสำคัญ ขณะเดียวกันพบว่าพฤติกรรมทางเพศสภาพของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในอาเซี่ยนมองว่าคนไทย โดยเฉพาะเลดี้บอยมีจำนวนมาก คำถามคือจากข้อมูลพบว่าสารเคมี 1-2 ชนิด มีผลต่อพฤติกรรมด้านเพศในสัตว์ทดลอง คำถามคือเป็นไปได้หรือไม่ว่ามีผลกระทบต่อเพศสภาพในคน .
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |