วงเสวนาผลกระทบและการต้ังรับ”Fake News”ข่าวลวงหรือข่าวปลอม “สื่ออาเซียน”ประนามเป็นหายนะ ที่ต้องร่วมกันป้องกันและให้ความรู้แก่สื่อมวลชน รวมทั้งผู้บริโภค เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อนำไปเผยแพร่ข่าว
เมื่อวันที่ 20 ส.ค.เวลา 09.00 น. สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ ไทย และสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน ได้ร่วมจัดงานเสวนาระดับภูมิภาคในหัวข้อ “The Rise of Fake News and How to Handle It” ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยเชิญวิทยากรจากประเทศในอาเซียนรวมทั้งจีนและอินเดียมาร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบและการตั้งรับข่าวปลอมหรือข่าวลวง(Fake News) ที่สร้างความป่ันป่วนและความเสียหายทั่วโลก รวมทั้งในภูมิอาเซียนและเอเชีย มีตัวแทนองค์กรสื่อมวลชนในอาเซียน และในประเทศไทย รวมทั้งสื่อมวลชนไทย เข้าร่วมฟังการเสวนา
โดยตัวแทนองค์กรสื่อประเทศต่างๆ ได้กล่าวถึงผลกระทบของข่าวลวงที่สร้างผลกระทบแตกต่างกันทางการเมืองการปกครอง และความเจริญของเทคโนโลยี ดังนั้นสื่อกระแสหลักต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง จะทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาจากผู้บริโภคสื่อ ขณะที่บางประเทศป้องกันโดยลงไปให้ความรู้แก่นักเรียน และสื่อมวลชนโดยตรง เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข่าวลวง
นายก้าวโรจน์ สุดาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การจัดเสวนาระดับภูมิภาคครั้งนี้ เพื่อระดมความรู้และวิธีการตั้งลับข่าวลวง ไม่ให้สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคสื่อ สำหรับประเทศไทยทางสมาคมฯได้พยายามสร้างเครือข่ายในการตรวจสอบข่าวลวงก่อนเผยแพร่ ถือเป็นการป้องกันในระดับหนึ่งสำหรับสื่อกระแสหลัก ส่วนสื่อโซเชี่ยลคงต้องให้ความรู้กันต่อไป
ด้านนายเทพชัย หย่อง ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน กล่าวว่า องค์กรสื่อในอาเซียนและในประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเรื่องข่าวลวง และร่วมกันให้ความรู้และป้องกัน ไม่เผยแพร่ให้เกิดความเสียหายหรือแตกตื่นเข้าใจผิด ฟังตัวแทนสื่อมาเลเซียเล่าว่าช่วงการเลือกตั้งในมาเลเซียที่ผ่านมา มีการปลอมเว็บไซต์และเพจข่าวเพื่อเสนอข่าวลวง จึงเป็นเรื่องที่สื่อในประเทศไทยต้องให้ความสำคัญและระมัดระวัง เตรียมตัวรับมือในช่วงการเลือกตั้งที่จะมาถึงด้วย
ส่วนนายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวสรุปในช่วงประชุมโต๊ะกลมหัวข้อ “ความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ และการให้การศึกษาแก่สังคม” ว่า ปัญหาข่าวลวง ข่าวหลอกนั้นถือเป็นหนึ่งในหายนะของมวลมนุษยชาติ ซึ่งการแพร่กระจายของข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ตนมองว่าไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยทำให้หายไปทั้งหมดได้ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนคือ เป็นเรื่องของอำนาจ เรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเรื่องความสนุก สนานส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถบรรเทาความรุนแรงลงได้ การเสวนาในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้มีการแสวงหาความร่วมมือระดับภูมิภาค เพราะปัญหานี้ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้เองลำพังได้ ขอเรียกร้องให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีความรู้เท่าทันสื่อด้วยกันเอง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ “สื่อมวลชนจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน องค์กรสื่อต้องมีการให้การศึกษา พัฒนาศักยภาพของตัวเอง ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะใช้เป็นข้ออ้างในการควบคุมสื่อได้” นายปราเมศกล่าว
สำหรับการเสวนาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) และบริษัทบีซีพีจี จำกัด (มหาชน).
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |