20ส.ค.61-NGO เตรียมฟ้องคกก.วัตถุอันครายกรณมีมติ ชี้มีพฤติกรรมขัดมาครา 12 เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรณีมีมติให้ส่เคมี 3ชนิดได้ไปต่อ พร้อมเปิดโปง 11ข้อไม่ชอบมาพากล การไม่แบนเผยคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ชี้มีมติชี้นำคณะกรรมการวัตถุอันตรายจงใจเลือกข้อมูลมาสรุปเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้สารพิษร้ายแรงต่อ ,ซ่อนข้อมูลผลกระทบแบบเนี
ที่ สวนชีววิถี ไทรม้า มีการแถลงข่าว “เปิดเผยรายการที่ถูกปกปิด เบื้องหลังมติอัปยศ ไม่แบนสารพิษร้ายแรง” โดยมี นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธีชีววิถีและ น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานThai-Pan
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า หลังจากที่เมื่อวันที่23 พฤษภาคม 2561 คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติให้มีการใช้สารเคมี 3ชนิด ขัดต่อมติของกระทรวงสาธารณสุขให้มีการแบนสารเคมี 2 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ภายใน ปี ธันวาคม ปี 2562 โดยเป็นเรื่องใหญ่ของโลก จากการที่ศาลสหรัฐอเมริกา ได้ตัดสินให้บริษัทสารเคมีจ่ายค่าเสียหายจำนวน 9600 ล้านบาท ให้แก่ผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามาจากการใช้สารเคมีของบริษัท แต่ประเทศไทยกลับไม่ให้ความสำคัญ ซึ่งจะได้มีการเปิดรายงานจากคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ ว่ามีลักษณะชี้นำคณะกรรมการวัตถุอันตราย จนนำไปสู่มติอัปยศ โดยมี 3 ส่วนสำคัญ แบ่งเป็นความเสี่ยง ทางเลือก และความเห็นชี้นำ โดยมี 11 ประเด็นที่ไม่ชอบมาพากลประชาชนควรรับทราบ คือ 1.จงใจเลือกข้อมูลมาสรุปเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้สารพิษร้ายแรงต่อ 2.ซ่อนข้อมูลผลกระทบแบบเนียนๆ 3.โยนทิ้งงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ 4.บิดเบือนเหตุผลของการเสนอแบน 5. แปรงข้อมูลปิดบังความเสี่ยง 6. ปฏิเสธงานวิจัยใหม่ๆ 7.อ้างข้อมูลย่อยลดทอนปัญหาใหญ่ 8.เลือกใช้ข้อมูลบรรษัท 9.อ้างเป็นความผิดของเกษตรกร 10. ละเลยทางเลือกที่ดีกว่า และ 11.ชี้นำความคิดเห็นของคณะกรรมการ
“ ตัวอย่างที่เห็นชัด อย่างข้อที่ 1 จงใจเลือกข้อมูลมาสรุปเพื่อสนับสนุนการใช้สารพิษ เนื่องจากมีการอ้างสถิติจากศูนย์พิษวิทยาของรพ.รามาธิบดี ว่า กลุ่มที่รับสารทางปากพบอัตราฆ่าตัวตายร้อยละ52 ปิดบังความเป็นพิษเฉียบพลันสูงกว่าคาร์โบฟูรานถึง 43 เท่า ซึ่งสารคาร์โบฟูรานไทยไม่ได้อนุญาตใช้แล้ว ซึ่งเราพบว่าไม่มีการแปรผลข้อมูลกรณีผู้ป่วยที่ได้รับสารนี้จากอุบัติเหตุมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 14.53 และอัตราผู้ป่วยที่ตายจากการได้รับสารนี้จากการประกอบอาชีพสูงร้อยละ 8.19” นายวิฑูรย์กล่าว
นายวิฑูรย์ กล่าวอีกว่า ตัวอย่างข้อที่ 2 ซ่อนข้อมูลผลกระทบแบบเนียนๆ โดยพบว่าไม่มีการนำผลการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พบตกค้างในหอย ปู ปลา และกบ เกินมาตรฐานในจ.น่าน มาใช้ และลดทอนความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่พบการตกค้างในจ.หนองบัวลำพูในระดับสูง โดยไปเก็บตัวอย่างตรวจใหม่ แต่คนละช่วงเวลา อีกทั้ง ยังไม่นำผลการตรวจพบขี้เทาทารกสูงถึงร้อยละ 50 ของเด็กแรกเกิดใน 3 จังหวัดของมหิดลมาใช้และลดทอนผลการตรวจพบในเซรั่มและสะดือแม่และเด็ก ที่สำคัญยังจงใจไม่กล่าวถึงพิษเรื้อรังของพาราควอต ที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน ซึ่งหลายประเทศนำเรื่องนี้เป็นหลักในการแบนสารเคมีส่วนคลอร์ไพรีฟอสก็เช่นกัน มีการยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสมองเด็ก แต่ซ่อนเนื้อหาสำคัญนี้ไว้ในประโยคอื่น
“ ในคณะกรรมการวัตถุอันตรายกลับมีคนคัดค้านมติเพียง 2 ท่าน คือ รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอให้แบนสารพิษดังกล่าว และนพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เสนอให้แบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต อย่างผลการลงมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายทั้งหมด 29 คนมีผู้มาประชุม 25 คน พบว่า กรณีพาราควอต เสนอให้แบนมีเพียง 4 คน คือ เลขาธิการ อย. ตัวแทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และรศ.จิราพร ที่เหลือไม่แบน และอีก 4 คนไม่ออกเสียง ฯลฯ" นายวิฑูรย์กล่าว และว่าจากข้อมูลเหล่านี้ทำให้ชัดเจนว่า มติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพิกเฉยผลต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งทางมูลนิธิชีววิถี และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รวมทั้งภาคีเครือข่าย 700 องค์กร จะเป็นแกนหลักในการฟ้องร้องต่อศาลปกครองดำเนินการกับคณะกรรมการวัตถุอันตราย กรณีขัดต่อมาตรา 12 ในส่วนของกฎหมายเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ .