“พาณิชย์”เผยธุรกิจ SMEs แห่จดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ในพื้นที่อีอีซีเพิ่มขึ้น รองรับการขับเคลื่อนการลงทุนของรัฐบาล ระบุช่วง 7 เดือนมีจำนวน 4,238 ราย เพิ่มขึ้น 7.45%
นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในพื้นที่ระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ใน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง ในช่วง 7 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-ก.ค.) พบว่า มีการจดทะเบียนตั้งใหม่รวม 4,238 ราย เพิ่มขึ้น 7.45% โดยธุรกิจที่ตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 747 ราย เพิ่ม 17.63% ทุนจดทะเบียน 2,672.05 ล้านบาท เพิ่ม 24.40% ก่อสร้างอาคารทั่วไป 361 ราย เพิ่ม 8.52% ทุนจดทะเบียน 504.60 ล้านบาท เพิ่ม 4.61% ภัตตาคารและร้านอาหาร 169 ราย เพิ่ม 3.99% ทุนจดทะเบียน 256.81 ล้านบาท เพิ่ม 3.26%
“จะเห็นได้ว่ามีการตั้งบริษัทใหม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาก ส่วนใหญ่เป็น SMEs และเป็นการตั้งขึ้นเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมือง จากการที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้น และมีประชากรแรงงานเข้ามามากขึ้น ทำให้มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย และยังมีการลงทุนในด้านร้านอาหาร ที่ขยายตัวตามจำนวนประชากร รวมถึงการลงทุนในธุรกิจภาคบริการเพิ่มมากขึ้น เช่น โลจิสติกส์ การให้บริการด้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น”นางกุลณี
นางกุลณีกล่าวว่า กรมฯ ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีความเข้มแข็ง โดยจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มเริ่มต้นธุรกิจใหม่ (Startup) ให้มีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการต่อยอดและยกระดับสู่ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและตอบสนองความต้องการของลูกค้า
โดยธุรกิจเป้าหมายที่กรมฯ จะเข้าไปพัฒนา เช่น ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายตัวของการขนส่งในพื้นที่อีอีซี และการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่จะมีการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจให้บริการด้านที่พักและการดูแลที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับการขยายตัวการเข้ามาอยู่ในพื้นที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในพื้นที่อีอีซี และธุรกิจร้านอาหาร ที่กำลังมีการขยายตัวตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน พื้นที่ 3 จังหวัดในอีอีซี มีนิติบุคคลคงอยู่ 64,921 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1.8 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น จ.ชลบุรี 47,601 ราย คิดเป็นสัดส่วน 73.32% ของนิติบุคคลทั้งหมด จ.ระยอง 12,240 ราย สัดส่วน 18.86% และจ.ฉะเชิงเทรา 5,080 ราย สัดส่วน 7.82% โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการสัดส่วน 61.14% รองลงมา คือ การขายส่งขายปลีก สัดส่วน 23.48% และการผลิต สัดส่วน 15.38%
ทั้งนี้ มีการลงทุนของต่างชาติในนิติบุคคลไทย 38.51% ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด หรือคิดเป็น 6.95 แสนล้านบาท โดยญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากที่สุด มูลค่า 3.67 แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วน 52.77% รองลงมา คือ จีน 4.3 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 6.22% สิงคโปร์ 2.9 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.17%อเมริกัน 2.6 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 3.85% เกาหลีใต้ 1.9 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 2.78% และอื่นๆ 2.1 แสนล้านบาท สัดส่วน 30.21% โดยลงทุนในจ.ระยองสูงสุด 3.8 แสนล้านบาท รองลงมา คือ จ.ชลบุรี 2.43 แสนล้านบาท และจ.ฉะเชิงเทรา 7.1 หมื่นล้านบาท
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |