ผลิตได้แต่ยังขายไม่ได้


เพิ่มเพื่อน    

 
    ความสนใจและการให้ความสำคัญสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหลายประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการรักษ์โลก โดยมองว่าพลังงานทดแทนเป็นพลังงานสะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ยังคาดการณ์ว่าราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนจะเริ่มลดลงจนสามารถเทียบเท่าหรือถูกกว่าเชื้อเพลิงหลักได้
    ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีหลายฝ่ายที่เห็นด้วย และหลายฝ่ายที่ยังมองว่าพลังงานทดแทนอาจจะไม่สามารถเข้ามาทดแทนพลังงานหลักได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพในการผลิต เพราะพลังงานทดแทนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถผลิตและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังเป็นภาระให้กับการผลิตไฟจากเชื้อเพลิงหลักอีกด้วย
    ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องบริหารกำลังการผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟให้ประเทศไม่มีความบกพร่อง จึงเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องทำหน้าที่ดูแลความเสถียรภาพเมื่อในช่วงนั้นพลังงานทดแทนไม่สามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้ จึงอาจจะดูว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับ กฟผ.
    ขณะเดียวกัน พลังงานทดแทนที่เข้าระบบมานั้น จะส่งผลให้ไฟฟ้ามีต้นทุนที่เพิ่มสูงมากขึ้น ยาวไปจนถึงราคาขายปลีกให้กับประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้นมา อาจจะยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ก็มีผลกระทบเล็กๆ สำหรับผู้ที่ใช้ไฟเยอะต่อเดือน อย่างพวกโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เป็นผลมาจากข้อจำกัดของพลังงานทดแทน ซึ่งในอนาคตหลายคนเชื่อว่ามันจะดีขึ้น เพราะจะสามารถลบข้อจำพวกเหล่านี้ไปได้ ทั้งการผลิตไฟฟ้าที่ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และต้นทุนที่ถูกลงมา
    ทั้งนี้ ถึงพลังงานทดแทนจะมีข้อจำกัดอยู่เยอะ แต่ก็ถือว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง และยังเปิดกว้างให้ผู้ผลิตรายเล็กๆ สามารถเข้าถึงได้ด้วย โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ นอกจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีกำลังการผลิตไฟหลายสิบเมกะวัตต์ จะดำเนินการได้แล้ว ผู้ใช้ไฟทั่วไปก็สามารถผลิตไฟจากพลังงานด้านนี้ได้ด้วย
    โซลาร์รูฟท็อป หรือโซลาร์ ที่ผลิตติดตั้งบนหลังคาอาคาร จึงเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มจากการติดตั้งเพื่อผลิตไฟใช้เองภายในบ้านเรือนก่อน ถึงจะใช้ได้แค่ช่วงที่มีเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น แต่ก็เป็นที่น่าสนใจหากเราจะไม่ต้องไปเสียเงินให้กับการซื้อไฟฟ้าของระบบ
    ขณะที่ต่อมาการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์รูฟท็อปแพร่หลายมากขึ้นจนลามไปสู่เอกชนขนาดใหญ่ที่เห็นช่องทางการดำเนินงาน จึงเกิดการติดตั้งบนหลังคาโรงงาน หรือห้างสรรพสินค้าที่เป็นขนาดใหญ่ ให้สามารถทดแทนการซื้อไฟเข้าระบบได้ ทั้งนี้ทุกอย่างดำเนินไปถึงจุดที่ว่า หากผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ ก็น่าจะขายให้กับระบบได้ด้วย เหมือนกับโซลาร์ที่ติดตั้งบนพื้นที่ ทั้งนี้จึงเกิดการผลักดันให้รัฐบาลออกมาตรการรับซื้อไฟจากโซลาร์รูฟท็อปขึ้นมา
    อย่างไรก็ตาม เหมือนรัฐบาลจะเห็นใจและได้ออกมาตรการนำร่องมารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟ โดยแบ่งเป็นให้เข้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 50 เมกะวัตต์ และเข้ากับการไฟฟ้านครหลวงอีก 50 เมกะวัตต์ แต่โครงการดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ เนื่องจากมีผู้ที่เข้าร่วมน้อยเกินไป จากผลตอบแทนที่ไม่โดนใจและปัจจัยต่างๆ จนต้องพับเก็บโครงการนี้ไป
    แต่ก็ยังมีเอกชนบางส่วนออกมาเรียกร้องว่าการผลิตไฟฟ้าจากรูฟท็อป ควรจะมีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าจะสามารถให้ซื้อขายกันได้อย่างไร หากไม่มีการรับซื้อเข้าระบบก็ควรจะให้ซื้อขายกันเองได้ระหว่างเอกชนโดยไม่ต้องไปกระทบต่อระบบรวม
    ทั้งนี้ ข้อสรุปดังกล่าวจากทางรัฐบาล โดยกระทรวงพลังงานผู้รับเรื่องยังไม่ออกมาอย่างชัดเจน แต่ก็มีการยืนยันแล้วว่าปลายปี 2561 นี้จะได้เห็นแน่นอนว่าโซลาร์รูฟท็อปนั้น จะมีนโยบายใดออกมาควบคุม เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจจะมีการกลับมาเปิดรับซื้อไฟเข้าระบบ และสามารถซื้อขายกันเองได้ด้วย
    แต่นี่ก็ยังเป็นเพียงนโยบายลมปากที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าจะทำอย่างไร คงต้องรอความชัดเจนช่วงปลายปีนี้ ที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานคนเก่งให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำให้เห็น และยังบอกว่าพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ คงจะเป็นแกนหลักของระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคตอีกด้วย.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"