เมื่อปรากฏการณ์การช่วยหมูป่าออกจากถ้ำจะเป็นภาพยนตร์


เพิ่มเพื่อน    

จากเหตุการณ์ที่นักฟุตบอลทีมหมูป่า 12 คนพร้อมโค้ชติดอยู่ในถ้ำและไม่สามารถออกมาได้เป็นเวลาหลายวัน เหตุการณ์ครั้งนั้นได้พัฒนาขึ้นมาเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นต้องนำเอาทีมมาช่วยเหลือเอาเด็กๆ ทั้ง 13 คนออกมาจากถ้ำ แต่องค์ประกอบที่ยากลำบากทำให้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สถานการณ์แห่งวิกฤติได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ดึงดูดความสนใจของคนทั่วโลก ทั้งผู้นำในประเทศต่างๆ ดาราคนดัง นักกีฬาคนดังระดับโลก ต่างก็สนใจและส่งข้อความให้กำลังใจคณะทำงานที่พยายามจะช่วยเด็กๆ ออกมา ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาจากหลายประเทศมาเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยให้เด็กๆ ออกมาจากถ้ำ สื่อมวลชนทั่วโลกตามติดรายงานความพยายามของทีมงานอย่างละเอียดปานประหนึ่งเป็น reality show ทำให้เหตุการณ์ในครั้งนั้นพัฒนามาเป็นปรากฏการณ์แห่งความสมัครสมานสามัคคี รวมพลังทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการกอบกู้เด็กๆ ให้พ้นจากถ้ำ และฝ่ายสนับสนุนอื่นๆ ทั้งด้านอาหารการกินและการซักผ้า ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นข่าวไปทั่วโลกจนมีคนสนใจที่จะนำเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ครั้งนี้ไปทำเป็นภาพยนตร์

การจะทำภาพยนตร์ที่พัฒนามาจากเรื่องจริง มีบุคคลที่มีตัวตนอยู่ในปัจจุบันเกือบทั้งหมด นอกจาก “จ่าแซม” ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น เมื่อเขียนบทเสร็จแล้วควรจะต้องติดต่อขออนุญาตทุกคนที่มีตัวตนอยู่จริง และญาติของจ่าแซมผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยว่า พวกเขาเห็นด้วยและยินยอมให้เสนอเรื่องราวของพวกเขาตามที่ปรากฏในบทภาพยนตร์หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดมีการขัดแย้งกันจนถึงขั้นฟ้องร้องเอาผิดกันฐานละเมิด เรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะตัวละครที่อยู่ในภาพยนตร์เป็นคนที่ยังมีตัวตนอยู่ และคนที่เสียชีวิตไปแล้ว ครอบครัวเขาก็ยังอยู่ และพวกเขาก็มีข้อจำกัดว่าอะไรที่อยากเล่า อะไรที่ไม่อยากเล่า ไม่ใช่ว่าถ้าหากเป็นเรื่องจริงก็น่าจะใส่ไปได้ทั้งหมด

เมื่อได้บทที่ได้รับการยินยอมจากบุคคลที่มีตัวตนที่แท้จริงและญาติแล้ว ภาพยนตร์จะสนุกได้ต้องมีผู้กำกับที่ใช่ คือคนที่เข้าใจทั้งข้อเท็จจริงและอารมณ์ของตัวละครทุกตัวในทุกเหตุการณ์ที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นโครงเรื่อง ต้องได้นักแสดงที่ใช่ เป็นนักแสดงที่มีความรู้สึกลึกๆ ข้างในของตัวละครแต่ละตัวในแต่ละสถานการณ์ อย่างที่เขาเรียกกันว่าแสดงแบบมี inner การวางโครงเนื่องต้องมีเนื้อเรื่องน่าสนใจ ต้องมีทั้งข้อเท็จจริงตามที่เกิดขึ้นจริง และจะต้องมีความจริงทางวรรณศิลป์ (literary truth) ที่หมายถึงการเพิ่มรายละเอียดบางอย่างที่ไม่มีอยู่จริงเพื่อให้โครงเรื่องดำเนินไปอย่างสนุกสนาน และปลุกเร้าอารมณ์คนดูได้ตามหลักของการผลิตละครหรือภาพยนตร์ที่จะต้องมีการกระชากอารมณ์ (dramatization) คนดู มากกว่าที่จะเป็นเพียงสารคดีรายงานความจริง การยอมรับให้ผู้เขียนบทเติมรายละเอียดที่เรียกว่า literacy truth และการเดินเรื่องให้ปลุกเร้าอารมณ์บางอย่างของคนดูตามหลัก dramatization ที่จะทำให้ภาพยนตร์มีความสนุก คนที่ตรวจบทภาพยนตร์ครั้งนี้ต้องมองว่าการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการแสดงออกทางศิลป์ ต้องนำเสนอให้สนุก หากใครต้องการข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์สามารถค้นคว้าเพิ่มภายหลังจากได้ชม คนเขียนบทและคนตรวจบทต่างก็ต้องทำการบ้านให้ละเอียดจากเอกสารและจากคลิปของข่าวต่างๆ บทที่เขียนนั้นถือได้ว่าเป็นการเขียนประวัติศาสตร์เพื่อนำเสนอเป็นผลงานด้านบันเทิง ที่ยังคงต้องรักษาแก่นของเรื่องจริง เช่น ความตั้งใจไปถ้ำของเด็ก ความมุ่งมั่นของทีมกู้ภัย ความมีน้ำใจของผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา ความมีน้ำใจของฝ่ายอื่นๆ ที่มาดูแลบริการให้ความสะดวกกับทีมกู้ภัย ความเป็นปรากฏการณ์ของเหตุการณ์ครั้งนี้ที่ดึงดูดความสนใจของคนทั่วโลกในหลายภาคส่วน เพื่อนำเสนอ The power of unity หรือพลังแห่งความสมัครสมานสามัคคีที่ทำให้นิยามของ Amazing Thailand ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้นำเสนอมานาน หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ออกไป คนทั้งโลกจะได้มุมมองใหม่ที่เกี่ยวกับ Amazing Thailand ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของวัฒนธรรมและความงามของธรรมชาติ แต่จะเป็นเรื่องราวที่กลายเป็นตำนานและความยิ่งใหญ่ที่น่าทึ่ง (legends and legacies) ที่พวกเขาอยากจะมาเยือนสถานที่ของการเกิดปรากฏการณ์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องถ่ายทำ ณ สถานที่จริง ยกเว้นสถานที่ที่เป็นเขตหวงห้าม ในขณะเดียวกัน คนเขียนบทและคนตรวจบทจะต้องตระหนักว่าเรื่องนี้คนดูรู้ตอนจบอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือต้องให้ความรู้แก่คนดูเพิ่มเติมด้วยการลงรายละเอียดบางอย่างที่ไม่ปรากฏในข่าว และจะต้องเดินเรื่องตรงกลางให้สนุกเพื่อไม่ให้คนดูเบื่อและตามการเดินเรื่องไปจนถึงตอนจบที่พวกเขารู้อยู่แล้วว่าในที่สุดคณะทำงานสามารถนำเด็กๆ ออกจากถ้าได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย จนถึงวันที่พวกเขาบวชให้ “จ่าแซม” สึกออกมาแล้วกลับไปใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม ถ้าหากผู้เขียนบทจะได้คุยกับคนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็น unseen และ unknown มาแทรกตรงส่วนกลางของการเดินเรื่องก็จะทำให้เรื่องสนุกขึ้น และคนตรวจบทที่ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นรายละเอียดตรงนี้มาก่อน ก็อย่าเพิ่งไปตัดเอารายละเอียดดังกล่าวออกเพราะตัวเองไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น ต้องเข้าใจว่าคนเขียนบทเขาอาจจะทำการบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลมากกว่าที่เป็นข่าว

สามภาคีที่สำคัญคือ ผู้กำกับ นักแสดง และผู้รู้เรื่องจริง ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด จะต้องทำการสำรวจข้อเท็จจริงให้ลึกซึ้งก่อนเขียนบท กล้าที่จะเสนอเหตุการณ์รุนแรงและความยากลำบากทั้งหลายอย่างชัดเจน เพื่อเพิ่มพลังความบันเทิงให้ภาพยนตร์ เช่น เรามักจะถามว่าตลอดระยะเวลาที่อยู่ในถ้ำพวกเขากินอยู่กันอย่างไร มีอะไรกิน มีอะไรดื่ม แต่ในข่าวไม่เคยมีว่าเขานอนกันอย่างไร เขาขับถ่ายหนักและเบากันอย่างไร เขาอาบน้ำบ้างไหม เสื้อผ้าเขาเหม็นไหม สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเป็นข่าว แต่ในภาพยนตร์ควรจะมีเพื่อให้รายละเอียดที่คนดูไม่เคยรู้จากข่าว

แก่นที่สำคัญคือ การเล่ารายละเอียดของการกระทำที่เป็นวีรบุรุษทุกคณะ แต่อย่าเล่าแบบความจริงในสารคดี จะต้องเล่าให้มีลักษณะของการเข้าถึงอารมณ์ตื่นเต้น วิตกกังวล ซาบซึ้ง ที่อาจจะทำให้คนดูมีน้ำตาด้วยความปลาบปลื้ม หรือด้วยความรู้สึกเศร้าใจที่วีรบุรุษบางคนต้องสละชีวิต เป็นแบบที่วงการบันเทิงเขาเรียกว่าเป็น.Melodrama เป็นเรื่องของวีรกรรมที่คนดูทึ่งและอยากที่จะได้รับรู้ว่าพวกเขาทำสำเร็จได้อย่างไร ทั้งจิตใจที่มุ่งมั่นและวิธีการดำเนินงาน ความสนุกอยู่ที่การใส่เรื่องราวของสิ่งที่เป็นปริศนาที่ยังไม่คลี่คลาย ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำหน้าที่คลี่คลายปริศนาทั้งหมดที่อยู่ในใจของคนที่ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด

ที่สำคัญคือ ต้องตระหนักว่านี่คือการผลิตภาพยนตร์ที่ทำหน้าที่ให้ความบันเทิง ไม่ใช่สารคดีที่รายงานความจริง ถ้าหากต้องการทำสารคดีก็ให้ National Geographic ทำไปเลย ไม่ต้องพิจารณารายอื่นๆ ให้เสียเวลา.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"