กฟผ.เตรียมงบอัปเกรดระบบควบคุมโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ แต่เทคโนโลยีเก่า ให้ยืดหยุ่นรองรับการใช้ไฟจากโซลาร์ที่เพิ่มขึ้น ตั้งเป็นแผนระยะ 3-5 ปี ชี้เริ่มเปิดประมูลผู้เข้ามาดำเนินการปี 62 คาดใ้ช้งบ มากกว่า 100 ล้านบาท ต่อ 1 ยูนิต
นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยภายหลังราวเสวนาเปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ "IEEE PES GTD ASIA 2019 : Big Shift in Power and Energy in Thailand" ว่า กฟผ.กำลังศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพแต่ยังเป็นเทคโนโลยีเก่า เพื่อให้มีการรองรับการเข้ามาของไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยเฉพาะแสงอาทิตย์(โซลาร์) ที่ปัจจุบันเริ่มมีการผลิตอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่ไม่สามารถรองรับความต้องการได้ 24 ชั่วโมง ซึ่ง กฟผ. ยังต้องเดินเครื่องเพื่อรองรับการใช้ไฟในช่วงที่พลังงานทดอทนผลิตไม่ได้อยู่ ซึ่งจากเดิมยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะลดกำลังการผลิตมาให้ต่ำสุดได้จึงต้องเดินเครื่องอย่างเต็มที่ ทำให้เสียต้นทุนการผลิตไปในช่วงที่ไม่มีการใช้ไฟ
ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อควบคุมระบบการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าให้ลดลงมาต่ำสุดได้ในช่วงที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้า ซึ่ง กฟผ. จะต้องพิจารณาจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีกำลังการผลิตมากกว่า 300 เมกะวัตต์ขึ้นไป ซึ่งมีโรงไฟฟ้าที่เข้าข่าย อาทิ โรงไฟฟ้าวังน้อย จ.อยุธยา , โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา , โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง , โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จ.กรุงเทพ โดยคาดว่าการปรับเปลี่ยนจะต้องใช้งบประมาณ 100 ล้านบาทต่อ 1 ยูนิต โดยเป็นการใช้เทคโนโลยีของต่างชาติ ซึ่งจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในปี 2562
"เราต้องใช้เทคโนโลยีของบริษัทต่างชาติ แบบโออีเอ็ม อาทิ ซีเมนส์ มิตซูบิชิ หรือจีอี ให้เข้ามาประมูลเนื่องจากโครงการนี้มีมูลค่าสูง ทั้งนี้แผนดังกล่าวเป็นแผน 3-5 ปี โดยเทคโนโลยีที่นำเข้ามายังสามารถปรับใช้กับโรงไฟฟ้าที่อื่น ๆ ได้ด้วย เพิ่มลดต้นทุนของ กฟผ. และรองรับการเข้ามาของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน"นายบุญญนิตย์ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |