17 ส.ค.61 - นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ไลฟ์สดผ่านเพจเฟซบุ๊ก เปิดหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง “โรงพักตำรวจ” ว่า ถ้าคณะอนุกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ไม่มีอคติ ได้พิจารณาหลักฐานเอกสารข้อเท็จจริงต่างๆ ไม่เป็นเรื่องยากเลย ที่จะพิจารณาวินิจฉัยกรณีนี้ ไม่ต้องใช้เวลาหลายปี แต่ว่าเมื่อล่วงเลยมาถึงวันนี้ จึงจำเป็นที่ต้องนำหลักฐานเอกสารเหล่านั้น มาแสดงให้ประชาชนเห็นว่าตนได้ใช้ดุลพินิจพิจารณา ด้วยเหตุและผล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง ชอบธรรมอย่างไร
นายสุเทพ กล่าวว่า การสั่งการในเรื่องการจัดซื้อ จัดจ้างงานก่อสร้างโครงการสถานีตำรวจทดแทนทั้ง 396 แห่ง ตนได้ตัดสินใจให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติไปตามหลักฐานและข้อเสนอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) โดยได้ลงนามเอกสารหนังสือสำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 หนังสือลงวันที่ 29 พ.ค.2552 ในสมัยพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นผบ.ตร. ซึ่งในหนังสือดังกล่าวทำบันทึกเสนอถึงตนว่า สำนักงบประมาณ มีความเห็นให้ สตช.ดำเนินการในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วน คือ สร้างสถานีตำรวจที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ที่มีอายุใช้งานตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 396 หลัง และได้บอกถึงวิธีการใช้งบประมาณ โดยให้ตั้งงบประมาณปี 2552 จากงบของสตช.มาใช้ก่อนในปีแรก 333 ล้าน ส่วนงบประมาณที่เหลือจะเป็นแบบผูกพันงบประมารายจ่ายของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2553- 2554 จากนั้นให้ สตช.ไปตกลงรายละเอียดรายจ่ายกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งจะต้องเสนอครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า เมื่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการ พล.ต.อ.พัชรวาท ทำหนังสือรายงานสรุปแนวทางการจัดจ้างเป็น 4 วิธี คือ 1.จัดจ้างโดยส่วนกลางแบบรวมการในครั้งเดียว สัญญาเดียวทั้ง 396 หลัง 2.จ้างโดยส่วนกลางแบบรวมการในครั้งเดียว แต่แยกการเสนอราคาเป็นรายภาค ภาค 1-9 ทำสัญญา 9 สัญญา 3.จัดจ้างโดยตำรวจภูธรภาค และ4.จัดจ้างโดยตำรวจภูธรจังหวัด ทั้งนี้ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดจ้าง ที่มี พล.ต.ท.พงศพัศ พงศ์เจริญ เป็นประธาน ได้ประชุมกันพิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะจัดจ้างในวิธีที่ 2 เพราะสามารถที่จะดำเนินการได้รวดเร็ว สตช.จะได้รับอาคารไว้ใช้ราชการในระยะเวลาใกล้เคียงกันทุกจังหวัด ในการประกวดราคาเพียงครั้งเดียว แล้วจะให้แต่ละภาคประกาศเชิญชวนผู้รับจ้างในพื้นที่ ให้เข้าร่วมประกวดราคา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าชอบด้วยเหตุผล เพราะมีการดำเนินการเป็นขั้นตอน กระทั่งได้ลงนามให้ความเห็นชอบครั้งแรกในการจัดจ้าง เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2552
“หลังจากนั้นไม่นาน พล.ต.อ.พัชรวาท ก็ต้องออกจากตำแหน่ง แล้วก็มี พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ มาทำหน้าที่เป็น รักษาการ ผบ.ตร. พล.ต.อ.ปทีป ก็ได้ทำหนังสือลงวันที่ 18 พ.ย. 2552 เสนอขอยกเลิกวิธีการจัดจ้างที่ผมเคยอนุมัติไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 และขออนุมัติหลักการในการดำเนินการประกวดราคาจัดจ้างโครงการนี้ และโครงการที่พักอาศัยด้วย พล.ต.อ.ปทีป ได้ให้เหตุผลในหนังสือฉบับนี้ ว่า การที่จะจัดจ้างโครงการนี้ต้องพิจารณาว่าโครงการนี้ครม.อนุมัติ ในลักษณะเป็นโครงการเดียวแล้วก็ต้องผูกพันงบประมาณแผ่นดิน 3 ปี ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องประกวดราคาจ้าง โดยทำสัญญาจ้างเพียงสัญญาเดียว จึงจะถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุและได้แสดงเอกสารหลักฐานประกอบว่า การตั้งงบประมาณแต่ละปี แต่ละปี เป็นอย่างไร ปีแรกเอางบของสตช.เองปรับแผนเอามาใช้ก่อน 311 ล้าน ในปี 2552 ปี 2553 ผูกพันงบประมาณ 1,774 ล้าน และผูกพันงบประมาณปี 2554 อีก 4,812 ล้าน” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า เมื่อพล.ต.อ.ปทีป เสนอว่าโครงการที่ครม.อนุมัติในลักษณะเป็นโครงการเดียว ไม่สามารถแตกเป็นโครงการย่อย 9 โครงการ หรือทำสัญญาจ้าง 9 สัญญาได้ เพราะจะขัดกับวิธีการงบประมาณ ประกอบกับเคยรู้ว่าถ้าสำนักงบประมาณได้บรรจุไว้ในพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี จะไม่มีการนำโครงการแตกเป็นโครงการย่อยๆ หลายสัญญาได้ ดังนั้น ข้อเสนอของพล.ต.อ.ปทีปชอบด้วยเหตุผลจึงอนุมัติตามสตช.เสนอ
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า การลงนามตามข้อเสนอของทั้งพล.ต.อ.พัชรวาท หรือพ.ต.อ.ปทีป เพราะคิดว่านี่คืออำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน คือ ผบ.ตร. ประกอบทุกอย่างมีขั้นตอน และบุคคลเหล่านี้รู้ระเบียบและกฎหมายวิธีการจัดซื้อจัดจ้างเป็นอย่างดี จึงได้อนุมัติไป แต่เมื่อมาขอแก้ไข เพราะไม่สามารถแตกเป็นโครงการย่อยได้ เพราะขัดกับวิธีการงบประมาณ ตนก็ไม่ได้ดื้อดึงดัน และอนุมัติยกเลิกจัดจ้างแบบเดิมมาใช้วิธีการจัดจ้างแบใหม่ ไม่มีอะไรซับซ้อน จะมาบอกว่าการตัดสินใจ 2 ครั้งของตน เพราะมีเจตนาพิเศษหวังจะช่วยผู้รับเหมาคนใดคนหนึ่ง รายใด รายหนึ่ง ให้ได้รับงานไป แล้วเป็นเหตุให้ก่อสร้างไม่สำเร็จ แบบนี้ คิดว่าเป็นการตั้งข้อหาที่มีอคติ เพราะในวันที่อนุมัติตนไม่มีโอกาสที่จะทำนายได้ล่วงหน้าว่าผู้ประกอบการรายใดจะเป็นผู้ชนะการประกวดราคา
นายสุเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อจัดจ้างตามระเบียบของสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ ว่าด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ครบถ้วนสมบูรณ์ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ พ้นจากตำแหน่ง และพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กลายเป็นผบ.ตร.คนใหม่ ก็ได้ทำหนังสือถึงตน เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2553 ว่าขอรับความเห็นชอบราคาและขออนุมัติจ้างก่อสร้าง โดยระบุชัดว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 เคาะราคาแข่งกัน 73 ครั้ง ผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคา 5,848 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 540 ล้านบาท นอกจากนี้ ในหนังสือของพล.ต.อ.วิเชียร ยังอ้างถึงหนังสือกรมบัญชีกลางและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติม บอกว่าเป็นอำนาจที่ตนจะต้องให้ความเห็นชอบตามนี้ ตนจึงได้ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553 จากนั้นก็เริ่มก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าทำไม่แล้วเสร็จตามสัญญาในสมัยรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการอนุมัติให้ขยายเวลาตามสัญญาออกไปอีก 3 ครั้ง ที่สุดเขาก็บอกเลิกสัญญา ทำให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) นำประเด็นนี้มากล่าวหาตนว่าที่ก่อสร้างไม่เสร็จ เพราะตนไปเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |